เว็บบอร์ด
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

บทนี้เรามาคุยเกี่ยวกับการเฝ้ากุโบร์

Go down

บทนี้เรามาคุยเกี่ยวกับการเฝ้ากุโบร์ Empty บทนี้เรามาคุยเกี่ยวกับการเฝ้ากุโบร์

ตั้งหัวข้อ by Profile Wed Aug 26, 2015 1:07 am

บทนี้เรามาคุยเกี่ยวกับการเฝ้ากุโบร์
กุโบร์ การเฝ้ากุโบร์เป็นภาษาที่คนบ้านเราเรียกกัน แต่ความจริงแล้วมันคือการอ่านอัลกุรอานเพื่อขอดุอา , อิสติฆฟาร ,และฮาดียะฮ์ผลบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั่นเอง ซึ่งจะอ่านที่บ้านก็ได้ จะอ่านที่กุบูรก็ได้ ฟัตวาแห่งประเทศอียิปต์ ได้ฟัตวาไว้ความว่า جَاءَ الأَمْرُ الشََّرْعِيُّ بِقِرَاءَةِ القُرْآنِ الْكَرِيْمِ عَلىَ جِهَةِ الإِطْلاَقِ ، وَمِنَ الْمُقَرَّرِ أَنَّ الأَمْرَ الْمُطْلَقَ يَقْتَضِيْ عُمُوْمَ الأَمْكِنَةِ وَالأَزْمِنَةِ وَالأَشْخَاصِ وَالأَحْوَالِ ؛ فَلاَ يَجُوْزُ تَقْيِيْدُ هَذَا الإِطْلاِقِ إِلاَّ بِدَلِيْلٍ ، وَإِلاَّ كَانَ ذَلِكَ اِبْتِدَاعًا فِي الدِّيْنِ بِتَضْيِيْقِ مَا وَسَّعَهُ اللهُ وَرَسُوْلُهُ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ وَسَلَّمَ . وَعَلىَ ذَلِكَ فَقِرَاءَةُ القُرْآنِ الْكَرِيْمِ عِنَدِ القَبْرِ حَالَةَ الدَّفْنِ وَبَعَْدَهُ مَشْرُوْعِةٌ اِبْتِدَاءً بِعُمُوْمِ النُّصُوْصِ الدَّالَّةِ عَلىَ مَشْرُوْعِيَّةِ قِرَاءَةِ الْقُرْآنِ الْكَرِيْمِ "คำสั่งใช้ตามบทบัญญัติศาสนานั้นได้มีระบุให้อ่านอัลกุ รอานได้ตามนัยยะแบบเปิดกว้าง (มุฏลัก) และตามหลักการที่ถูกกำหนดไว้นั้นก็คือ คำสั่งแบบเปิดกว้างที่ให้ความหมายนัยยะแบบครอบคลุมถึงสถานที่ , เวลา , บุคคล , และสภาพการนั้น ถือว่าไม่อนุญาตให้จำกัด(ฮะรอม)หลักการกว้าง ๆ นี้(ว่าที่นั่นที่นี่ฮะรอมอ่านอัลกุรอาน) นอกจากต้องมีหลักฐานมายืน ยัน ซึ่งถ้าหากมิเป็นเช่นนั้น(คือไม่มีหลักฐานมาจำกัดยืนยัน)สิ่งดังกล่าวย่อม เป็นการอุตริกรรม(บิดอะฮ์)ใน(การอุปโลกน์ฮุกุ่มใน)เรื่องของศาสนา ด้วยการทำให้คับแคบกับสิ่งที่อัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์ได้มอบความกว้าง ขวางไว้ให้ และเมื่อเราได้ดำเนินตามหลักการดังกล่าวนี้ การอ่านอัลกุรอานที่กุบูร ไม่ว่าจะในขณะที่ฝังหรือหลังจากฝังแล้วก็ตาม ถือว่าให้กระทำได้ตามนัยยะของบทญัติศาสนา โดยเริ่มต้นด้วยบรรดาตัวบทหลักฐานที่บ่งชี้ถึงบทบัญญัติในการให้อ่านอัลกุ รอานตามนัยยะความหมายแบบครอบคลุม(กว้างๆ)" สถาบันฟัตวาแห่งประเทศอียิปต์ : ฟัตวาหมายเลขที่ 4228 - 3/6/2005 ท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ได้กล่าวว่า وَأُحِبُّ لَوْ قُرِئَ عِنْدَ الْقَبْرِ، وَدُعِيَ لِلْمَيِّتِ وَلَيْسَ فِي ذَلِكَ دُعَاءٌ مُؤَقَّتٌ "ฉันรัก หากมีการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร และมีการขอดุอาอ์ให้แก่มัยยิด(ผู้ตาย) และในสิ่งดังกล่าวนั้น ไม่มีการขอดุอาอ์(แก่มัยยิด)ได้ถูกกำหนดเวลาเอาไว้ตายตัว(คือขอดุอาให้ผู้ ตายได้ทุกเวลา)" หนังสืออัลอุมมฺ 1/282 ท่านอิมาม อันนะวาวีย์ ได้กล่าวอธิบายไว้ในหนังสือ อัล-มัจญฺมั๊วะ ของท่านว่า يُسْتَحَبُّ لِزَائِرِ القُبُوْرِ أَنْ يَقْرَأَ مَا تَيَسَّرَ مِنَ القُرْآنِ وَيَدْعُوْ لَهُمْ عَقِبَهَا نَصَّ عَلَيْهِ الشَّافِعِيُّ وَاتَّفَقَ عَلَيْهِ الأَصْحَابُ وَزَادَ فِيْ مَوْضِعٍ آخَرَ: وَإِنْ خَتَمُوْا القُرْآنَ عَلَى القَبْرِ كَانَ أَفْضَلَ "และสุนัตให้ผู้ไปเยี่ยมกุ บูร ทำการอ่านสิ่งที่ง่าย ๆ จากอัลกุรอานและทำการขอดุอาอ์ให้แก่เขาหลังจากเสร็จสิ้นการอ่าน ซึ่งอิมามอัช-ชาฟิอีย์ได้ระบุมันไว้(ในหนังสืออุมมฺ) และบรรดาสานุศิษย์ก็มีความเห็นพร้องกันต้องกันและอิมามอัชชาฟิอีย์ได้กล่าว เพิ่มในตำราเล่มอื่นอีกว่า หากพวกเขาได้อ่านจบหนึ่งจบที่กุบูร ก็จะเป็นการดียิ่ง" ดู เล่ม 5 หน้า 276 ท่าน อัซฺซะฮะบีย์ ได้กล่าวประวัติของท่าน อบูญะฟัร อัลฮาชิมีย์ อัลหัมบาลีย์ ชัยค์(ปรมาจารย์)มัซฮับอัลหะนาบิละฮ์ (เสียชีวิตปี 470) ว่า وَدُفِنَ إِلَي جَانِبِ قَبْرِ الإِمَامِ أَحْمَدَ ، وَلَزِمَ النّاسُ قَبْرَهُ مُدَّةً حَتَّي قِيْلَ خُتِمَ عَلَي قَبْرِهِ عَشَرةُ آلاَفِ خَتْمَةٍ " และเขาได้ถูกฝังเคียงข้างกุบูรของท่านอิมามอะหฺมัด , และบรรดาผู้คนได้ประจำอยู่ที่กุบูรของเขาเป็นระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งกล่าวกันว่า อัลกุรอานได้ถูกอ่านจบ ที่กุบูรของเขา ถึง 10000 (หนึ่งหมื่น) จบด้วยกัน" ดู หนังสือ ซิยัร อะลาม อัลนะบะลาอ์ เล่ม 18 หน้า 547 ท่านอัซฺซะฮะบีย์กล่าวถึงประวัติของ ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ อัลคอซิบะฮ์ ว่า " เขาคือ ชัยค์ อิมาม นักหะดิษ นักจำหะดิษ เป็นผู้ที่พูดจริง เป็นแบบอย่าง และเป็นความศิริมงคลแก่บรรดานักหะดิษ...เขาได้เสียชีวิตในวันที่ 2 เดือนรอบิอุลเอาวัล ปี 489 ฮ.ศ. ญะนาซะฮ์ของเขานั้นเป็นที่โดดเด่น (และท่านอัซซะฮะบีย์กล่าวต่อไปว่า) وَخُتِمَ عَلَي قِبْرِهِ عَدَّةُ خَتَمَاتٍ และ อัลกุรอานได้ถูกอ่านจบที่กุบูรของเขา(คือท่านอัลฮาฟิซฺอัลคอซิละฮ์)นั้น หลายจบด้วยกัน" ดู หนังสือ ซิยัร อะลาม อัลนะบะลาอ์ เล่ม 14 หน้า 176 ท่าน อัซฺซะฮะบีย์ ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ ตารีค อัลอิสลาม ว่า "ท่านอัศศิละฟีย์กล่าวว่า ท่านอัลมุตะมิน อัศศาญีย์ได้บอกเล่าแก่ฉันว่า ในวันศุกร์ที่ 2 หลังจากการเสียชีวิตของ ท่านอบูมันซูร - คือ ท่านมุฮัมมัด บิน อะหฺมัด บิน อะลี อัลคอยยาฏ (เสียชีวิตปีที่ 499) - ว่า : اَلْيَوْمَ خَتَمُوْا عَليَ رَأْسِ قَبْرِهِ مِائَتَيْنِ وَإِحْدَي وَعِشْرِيْنَ خَتْمَةً ، يَعْنِي أَنَّهُمْ كَانُوْا قَرَأُوْا الْخَتْمَ قَبْلَ ذَلِكَ إِلَي سُوْرَةِ الإِخْلاَصِ فَاجْتَمَعُوْا هَنَاكَ وَدَعُوْا عُقَيْبَ كُلِّ خَتْمَةٍ "ในวันนั้น บรรดาผู้คนได้ทำการอ่านอัลกุรอานจบ ที่กุบูรของเขาถึง 221 จบ กล่าวคือ พวกเขาได้ทำการอ่านอัลกุรอานจนจบซูเราะฮ์ อัลอิลาศ (กุลฮุวัลลอฮ์) เพราะพวกเขาก็จะทำการรวมตัวกัน แล้วทำการขอดุอาอ์ถัดจากทุก ๆ การอ่านจบเล็กน้อย" ถ่ายทอดจากหนังสือกัชฟุสซุตูร หน้า 234 ของชัยค์มะห์มูด สะอีด มัมดั๊วะหฺ ท่าน อัซฺซะฮะบีย์ ได้กล่าวถึงท่าน อัลค่อฏีบ อัลบุฆดาดีย์ ว่า "ท่านอัลคอฏีบ เป็นอิมามที่โดดเด่น เป็นอัลลามะฮ์ เป็นมุฟตี เป็นนักจำหะดิษผู้เชี่ยวชาญ เป็นนักหะดิษแห่งยุคสมัยนั้น.....ท่านอิบนุ ค๊อยรูน กล่าวว่า ท่านอัลคอฏีบได้เสียชีวิตในช่วงสาย....ได้มีบรรดานักปราชญ์ฟิกห์และบรรดาผู้ คนมากมาย ได้ทำการติดตามส่งญะนาซะฮ์ท่านอัลค่อฏีบ และแบกไปยัง ญาเมี๊ยะอ์ อัลมันซูร โดยที่มีผู้คนกล่าวประกาศก้องว่า นี้คือผู้ที่ปกป้องการโกหกต่อท่านนบี(ซ.ล.) และนี้คือผู้ที่จำหะดิษของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม (ท่านอัซซะฮะบีย์กล่าวต่อไปว่า) وَخُتِمَ عِنْدَ قَبْرِهِ عِدَّةُ خَتَمَاتٍ "และได้ถูกอ่านอัลกุรอานหลายจบด้วยกันที่กุบูรของท่านอัลค่อฏีบ" ดู หนังสือ ซิยัร อะลาม อัลนะบะลาอ์ เล่ม 13 หน้า 584 ท่านชัยค์ อัลอุษมานีย์ อัช-ชาฟิอีย์กล่าวว่า وَأَجْمَعُوْا عَلىَ أَنَّ الاِسْتِغْفَارَ وَالدُّعَاءَ وَالصَّدَقَةَ وَالحَجَّ وَالْعِتْقَ تَنْفَعُ الْمَيِّتَ وَيَصِلُ إِلِيْهِ ثَوَابَهُ ، وَقِرَاءَةُ القُرْآن ِعِنْدَ الْقَبْرِ مُسْتَحَبَّةٌ "บรรดาอุลา มาอ์ได้ลงมติเห็นพร้องว่า การอิสติฆฟาร การขอดุอาอ์ การทำทาน การทำฮัจญฺ การปล่อยทาสนั้น เป็นผลประโยชน์แก่มัยยิด และผลบุญจะไปถึงเขา , และการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรนั้นเป็นสุนัต" หนังสือเราะหฺมะตุลอุมมะฮ์ ฟี อิคติลาฟ อัลอุมมะฮ์ หน้า 92 ท่านอิบนุกุดามะฮ์กล่าอีกว่า وَأَنَّهُ إِجْمَاعُ الْمُسْلِمِيْنَ ; فَإِنَّهُمْ فِيْ كُلِّ عَصْرٍ وَمِصْرٍ يَجْتَمِعُوْنَ وَيَقْرَءُوْنَ القُرْآنَ , وَيَهْدُوْنَ ثَوَابَهُ إِلىَ مَوْتَاهُمْ مِنْ غَيْرِ نَكَيْرٍ "แท้จริง มันเป็นมติของบรรดามุสลิมีน เนื่องจากแท้จริง พวกเขาเหล่านั้น ในทุกสมัยและทุกเมือง ได้รวมตัวกัน และทำการอ่านอัลกุรอานกัน และทำการฮาดิยะฮ์ผลบุญการอ่านอัลกุรอาน ให้แก่บรรดาผู้ตายของพวกเขา โดยที่ไม่มีผู้ใดมาตำหนิ" หนังสือ อัลมุฆนีย์ เล่ม 3 หน้า373 ท่าน อีหม่าม เชาวฺกานียฺ(ฮ.ศ.1173-1250 )ได้กล่าวว่า الْعَادَةُ الْجَارِيَةُ فِي بَعْضِ الْبُلْدَانِ مِنَ اْلاِجْتِمَاعِ فِي الْمَسْجِدِ لِتِلاَوَةِ الْقُرْآنِ عَلَى اْلأَمْوَاتِ وَكَذَلِكَ فِي الْبُيُوْتِ وَسَائِرِ اْلاِجْتِمَاعَاتِ الَّتِي لَمْ تَرِدْ فِي الشَّرِيْعَةِ لاَ شَكَّ إِنْ كَانَتْ خَالِيَةُ عَنْ مَعْصِيَةٍ سَالِمَةً مِنَ الْمُنْكَرَاتِ فَهِيَ جَائِزَةٌ ِلأَنَّ اْلاِجْتِمَاعَ لَيْسَ بِمُحَرَّمٍ بِنَفْسِهِ لاَ سِيَّمَا إِذَا كَانَ لِتَحْصِيْلِ طَاعَةٍ كَالتِّلاَوَةِ وَنَحْوِهَا وَلاَ يُقْدَحُ فِي َذَلِكَ كَوْنُ تِلْكَ التِّلاَوَةِ مَجْعُوْلَةً لِلْمَيِّتِ فَقَدْ وَرَدَ جِنْسُ التِّلاَوَةِ مِنَ الْجَمَاعَةِ الْمُجْتَمِعِيْنَ كَمَا فِي حَدِيْثِ اقْرَأُوْا يس عَلَى مَوْتَاكُمْ وَهُوَ حَدِيْثٌ صَحِيْحٌ وَلاَ فَرْقَ بَيْنَ تِلاَوَةِ يس مِنَ الْجَمَاعَةِ الْحَاضِرِيْنَ عِنْدَ الْمَيِّتِ أَوْ عَلَى قَبْرِهِ وَبَيْنَ تِلاَوَةِ جَمِيْعِ الْقُرْآنِ أَوْ بَعْضِهِ لِمَيِّتٍ فِي مَسْجِدِهِ أَوْ بَيْتِهِ ความว่า “ประเพณีที่ถือปฏิบัติกัน ในบางบ้านบางเมือง อันได้แก่การ รวมตัวกันในมัสยิด เพื่ออ่านอัล-กุรอ่าน (และอุทิศภาคผลบุญ)แก่คนที่เสียชีวิตไปแล้ว.. เฉกเช่นเดียวกัน (การรวมตัวกัน)ตามบ้านเรือนต่างๆ ตลอดจนสถานชุมนุมอื่นๆที่ไม่เคยปรากฏบทบัญญัติมาก่อน... ไม่ต้องเคลือบแคลงใดๆอีกว่า... หากการรวมตัวนั้น ไม่เจือปนกับสิ่งที่เป็นมะซียัต และปลอดจากสิ่งที่ ชั่วร้ายต่างๆ มันก็ถือเป็นที่อนุมัติ(ให้รวมตัวกันได้) เนื่องจากการรวมตัวกันนั้น(โดยหลักการเดิมแล้ว)ไม่ถือเป็นสิ่งต้องห้าม ยิ่งกว่านั่น หากมันมีขึ้นเพื่อสร้างความภักดี ต่ออัลลอฮฺ เช่นการ อ่าน อัล-กุรอ่าน เป็นต้น และการอ่าน อัล-กุรอ่านเพื่ออุทิศแด่ผู้ล่วงลับนั้น ก็ไม่ถือว่าสร้างความบกพร่องใดๆแก่การรวมตัวเหล่านั้น เพราะการอ่านอัล-กุรอ่านกันเป็นหมู่คณะ ก็มีต้นตอมาจากตัวบทของ ฮาดีษอยู่ด้วย เช่น ฮาดีษที่ว่า “พวกท่านจงอ่าน ซูเราะฮฺ ยาซีน แก่ผู้ตายของพวกท่านเถิด” และฮาดีษบทนี้ก็มีสถานะที่ ศอเฮี้ยะ ส่วนการที่หมู่คณะได้อ่าน ซูเราะฮฺ ยาซีน ต่อหน้าผู้ตายก็ดี หรือ ต่อหลุมฝังศพของผู้ตายก็ดี หรือว่า อ่านกุรอ่าน แก่ผู้ตาย โดยอ่านทั้งเล่ม หรือบางบทบางตอนก็ดี ..จะที่บ้านหรือ ที่ มัสยิดก็ดี ย่อมไม่มีความแตกต่างกันแต่ประการใด (หมายความว่า อนุญาตให้กระทำได้) (รอซาอิล อัซ-ซาลาฟียะฮ์ ของท่าน เชค อาลี บิน มูฮัมหมัด อัช-เชากานีย์ หน้าที่ 46) ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์ได้กล่าวว่า وَلْنَخْتِمِ الكِتَابَ بِلَطَائِفَ :الأُوْلَى : أَنَّ سُنَّةَ الإِطْعَامِ سَبْعَةُ أَيَّامٍ بَلَغَنِيْ أَنَّهَا مُسْتَمِرَّةٌ إِلَى الآنَ بِمَكَّةَ وَالْمَدِيْنَةَ فَالظَّاهِرُ أَنَّهَا لَمْ تُتْرَكَ مِنْ عَهْدِ الصَّحَابَةِ إِلَي الآنَ وَأَنَّهُمْ أَخَذُوْهَا خَلَفًا عًنْ سَلَفٍ إِلَى صَدْرِ الأَوَّلِ ورَأَيْتُ فِى التَّوَارِخِ كَثِيْرًا فِىْ تَرَاجِمِ الأَئِمَّةِ يَقُوْلُوْنَ : وَأَقَامَ النَّاسُ عَلَى قَبْرِهِ سَبْعَةَ أَيَّامٍ يَقْرَؤُوْنَ القُرْاَنَ ، وَأَخْرَجَ الْحَافِظُ الْكَبِيْرُ أَبُوْ القَاسِمِ بْنُ عَسَاكِرَ فِىْ كَتَابِهِ الْمُسَمَّي تَبْيِيْنِ كَذْبِ الْمُفْتَرِيْ فِيْمَا نُسِبَ إِلَى الإِمَامِ أَبِى الْحَسَنِ الأَشْعَرِىِّ سَمِعْتُ الشَّيْخَ الْفَقِيْهَ أَبَا الْفَتْحِ نَصْرَ اللهِ بْنَ مُحَمَّدٍ بْنِ عَبْدِ الْقَوِىِّ اَلْمَصِيْصِيِّ يَقُوْلُ : تُوُفِّىَ الشَّيْخُ نَصْرُ بْنِ إِبْرَاهِيْمِ الْمُقَدِّسِىُّ فِىْ يَوْمِ الثُّلاَثَاءِ التَّاسِعِ مِنَ الْمُحَرَّمِ سَنَةَ تَسْعِيْنَ وَأَرْبَعِمِائَةٍ بِدِمَشْقَ وَأَقَمْنَا عَلَى قَبْرِهِ سَبْعَ لَيَالٍ نَقْرَأُ كُلَّ لَيْلَةٍ عِشْرِيْنَ خَتْمَةً " เราาจงจบท้ายบท ด้วยเกล็ดความรู้ที่ละเอียดละออ คือ ประการที่หนึ่ง สุนัตให้อาหาร(เป็นทาน) ในช่วง 7 วัน ซึ่งได้ทราบถึงข้าพเจ้าว่า การที่สุนัตให้อาหารเป็นทานแก่มัยยิด ยังคงมีการปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่องจากถึงปัจจุบัน ณ ที่นครมักกะฮ์และนครมะดีนะฮ์ ดังนั้น ที่ชัดเจนแล้ว คือ การสุนัตให้อาหาร(เป็นทานแก่มัยยิด)นั้น ไม่เคยถูกทิ้งการกระทำมาเลยตั้งแต่สมัยของซอฮาบะฮ จวบจนถึงปัจจุบันและข้าพเจ้า(คืออิมามอัสศะยูฏีย์) ได้เห็น(ทราบ)จากบรรดาประวัติศาสตร์มากมายของบรรดานักปราชญ์ ซึ่งพวกเขากล่าวว่า "บรรดานักปราชญ์ได้ทำการอาศัยอยู่ที่กุบูรผู้เสียชีวติ 7 วัน เพื่อทำการอ่านอัลกุรอาน , ท่านอัลหะฟิซฺผู้อาวโส คือท่านอบู อัลกอซิม บิน อะซากิร ได้นำเสนอรายงานไว้ในหนังสือของท่านที่มีชื่อว่า "ตับยีน กัซบฺ อัลมุฟตะรีย์ ฟีมา นุซิบ่า อิลา อัลอิมาม อบี อัลหะซัน อัลอัชอะรีย์ ว่า ข้าพเจ้าได้ยินท่าน ชัยค์ ผู้เป็นนักปราชญ์ฟิกห์ คือ อบู อัลฟัตหฺ นัสรุลเลาะฮ์ บิน มุฮัมมัด บิน อัลดุลก่อวีย์ อัลมะซีซีย์ กล่าวว่า "ท่านชัยค์ นัสรฺ บิน อิบรอฮีม อัลมุก๊ออดิซีย์ ได้เสียชีวติในวันอังคารที่ 9 เดือน มุหัรรอม ปี ที่ 490 ณ นครดิมัชกฺ และเราได้ทำการอาศัยที่อยู่ที่กุบูรของเขา 7 คืน โดยเราทำการอ่านอัลกุรอานในทุก ๆ คืน ถึง 20 จบ" ดู หนังสือ อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา เล่ม 2 หน้า 234 وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ