เว็บบอร์ด
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

การเนียตละหมาดของ 4 มัซฮับ

Go down

การเนียตละหมาดของ 4 มัซฮับ Empty การเนียตละหมาดของ 4 มัซฮับ

ตั้งหัวข้อ by Profile Tue Apr 14, 2015 9:35 pm

การเนียตละหมาดของ 4 มัซฮับ
 
การเนียตละหมาด ตามทัศนะที่แข็งแรงของมัซฮับฮานาฟีย์นั้นถือเป็น ชารัต ไม่ใช่รุก่นของการละหมาด
ไม่ได้นับว่าการเนียตเป็นส่วนหนึ่งจากการละหมาด ถ้ามีการขั้นกลางระหว่างการเนียตกับตักบีรอตุลเอียะรอม ด้วยการการกระทำอย่างอื่น เช่น การเดินหรือการอาบน้ำละหมาด ถือว่าไม่เป็นไร แต่สุนัตให้เนียตพร้อมกับการตักบีรอตุลเอียะรอม เพื่ออกจากคิลาฟ และถือว่าไม่เศาะห์ถ้าเนียตหลังจากตักบีรอตุลเอียะรอมแล้ว(จาก تبيين الحقاءق เล่ม 1 หน้า 99)
 
มัซฮับฮัมบาลีย์ ไม่นับการเนียตเป็นรุกุนละหมาด แต่ถือว่าเป็นชารัต โดยถือว่าใช้ได้ ถ้าเนียตก่อนตักบีรอตุลเอียะรอม แต่ที่ดีแล้วให้เนียตพร้อมกับตักบีรอตุลเอียะรอม เพื่อออกจากคิลาฟ (จาก كشاف القناع เล่ม 1 หน้า 367)
ส่วนมัซฮับชาฟิอีย์ และมาลิกีย์ นั้นนับการเนียต เป็นรุกุนหนึ่งของการละหมาด และวายิบให้เนียตพร้อมกับตักบีรอตุลเอียะห์รอม
 
สถานที่สำหรับการเนียต
สถานที่สำหรับการเนียตนั้นคือ ในใจ โดยการเห็นพ้องการของปวงปราชญ์ และสุนัตให้กล่าวคำเนียต ตามทัศนะของอิมามทั้ง 3 มัซฮับ ยกเว้น มัซฮับมาลิกีย์ ซึ่งนัปราชญ์ฟิกห์มัซฮับมาลิกีย์ มีทัศนะว่าฮารุส การกล่าวคำเนียต แต่ที่ดีแล้วให้ละทิ้งการกล่าวคำเนียต ทั้งตอนละหมาด และ เรื่องอื่นๆจากละหมาด
 
มัซฮับฮานาฟีย์
คำนิยามการเนียตคือ الارادة คือ การเจตนา ดังนั้นการเนียตละหมาดจึงหมายถึง การตั้งเจตนาจะละหมาด เพื่ออัลลอฮ์ สถานที่สำหรับการเนียตนั้นคือ ในใจ และไม่มีเงื่อนไขในการกล่าวคำเนียตด้วยวาจา แต่ถือเป็นสุนัตเท่านั้น เพื่อเป็นการชักนำหัวใจ ( البداءع เล่ม 1 หน้า 127 )
เวลาสำหรับการเนียต สุนัตให้เนียตพร้อมกับตักบีรอตุลเอียะห์รอม และถือว่าใช้ได้สำหรับการเนียตก่อน ตักบีรอตุลเอียะห์รอม เพราะไม่ถือเป็นเงื่อนไขว่าจะต้องเนียตพร้อมกับ ตักบีรอตุลเอียะห์รอม
 
มัซฮับมาลิกีย์
การเนียตคือ قصد الشيء คือการมุ่งสู่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง สถานที่สำหรับการเนียตนั้นคือ ในใจ และถือเป็นรุกุนละหมาด แต่ที่ชัดแจ้งคือ ถือว่าเป็นชารัต
และที่ดีแล้วให้ละทิ้งการกล่าวคำเนียต เว้นแต่ในกรณีที่ วิสวัส สุนัตให้กล่าวคำเนียต และวายิบให้เนียตพร้อมกับตักบีรอตุลเอียะห์รอม
( الشرح الكبير مع الدسوقي เล่ม 1 หน้า 233 )
 
มัซฮับชาฟิอีย์
คำนิยามว่า การเหนียตนั้นคือ :
 
قَصْدُ الشَّيْءِ مُقْتَرِنًا بِفِعْلِهِ
 
"การเจตนาสิ่งหนึ่งพร้อมด้วยกับการกระทำมัน"
ด้วยหลักฐานจากฮาดิษคือท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
 
إِنَّمَا الأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ
 
"แท้จริงบรรดาอะมัล(การปฏิบัติ)นั้น ด้วยกับการเหนียต(เจตนา)"
 
คำว่า بِالنِّيَّاتِ "ด้วยเจตนา" นั้น อักษร "บาอฺ" ให้ความหมายถึง المصاحبة (อัลมุซอฮะบะฮ์) ซึ่งหมายถึง "ทำให้เป็นสิ่งเดียวกันหรือพร้อมกัน" ดังนั้น ความหมายในหะดิษนี้คือ "แท้จริงบรรดาการกระทำต้องอยู่พร้อมด้วยกับการเหนียต"
และสุนัตให้กล่าวคำเนียตก่อน ตักบีรอตุลเอียะห์รอม คือ อุซอลลีฟัรฎอล….” เป็นต้น
( حاشية الباجوري เล่ม 1 หน้า 149 )
 
มัซฮับฮัมบาลีย์
การเนียตคือ عزم القب على فعل العبادة تقربا الى الله تعالى
การตัดสินใจ ในการที่จะทำอิบาดัต เพื่อต้องการใกล้ชิดอัลลอฮ์
ดังนั้นถือว่าใช้ไม่ได้ ถ้าละหมาดโดยไม่มีการเนียต สถานที่สำหรับการเนียตนั้นคือ ในใจ และการกล่าวด้วยวาจานั้นถือเป็นสุนัตเท่านั้น
( المغني เล่ม 1 หน้า 464-469 )

https://www.facebook.com/1485391608394781/photos/a.1485421891725086.1073741828.1485391608394781/1553903191543622/?type=1
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ