เว็บบอร์ด
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

เรื่อง...แค่ทำเมาลิด ทำไมต้องเป็นปัญหา?

Go down

เรื่อง...แค่ทำเมาลิด ทำไมต้องเป็นปัญหา?  Empty เรื่อง...แค่ทำเมาลิด ทำไมต้องเป็นปัญหา?

ตั้งหัวข้อ by Profile Wed Dec 24, 2014 9:31 pm

เรื่อง...แค่ทำเมาลิด ทำไมต้องเป็นปัญหา?



พี่น้องที่เคารพรัก...

ตอนนี้ เราได้เข้าสู่กลางเดือน รอบีอุลเอาวัล กันแล้วนะครับ...
หากเราอาศัยอยู่ทางภาคใต้หรือได้เคยลงมาเที่ยวแถวภาคใต้ เราคงเคยได้ยินการอ่าน ชีวประวัติของท่าน ศาสดา กันบ่อยๆเลยใช่ไหมครับ
ยิ่งไปกว่านั้น หากได้ลงใต้ มาเที่ยวช่วง รอบีอุลเอาวัล นี้ ก็คงปฏิเสธไม่ได้ที่จะบอกว่าไม่เคยพบเจอ การรวมตัวกันของ มวลมหาประชามุสลิมในการประกาศความรักต่อองค์ศาสดาและต่อต้านระบอบวาฮาบีย์ ไม่ว่า จะทั้งระดับ หมู่บ้าน หรือ ระดับตำบล หรือ ระดับ อำเภอ และยิ่งไปกว่านั้น ยังมีบางจังหวัด ประกาศเจตนารมณ์ดังกล่าวอย่างยิ่งใหญ่เลยก็มี

(อ่านดูเหมือนลอกสำนวนการเมืองนะครับ...แต่บอกไว้ก่อนว่า ผมนั้นไม่ชอบใส่เสื้อครับ เพราะอากาศมันร้อน)

แต่ก็น่าแปลกที่ขณะเดียวกัน ยังมีประชาชนอีกบางกลุ่มที่ทำตัวว่าใส่เสื้อสีขาว
ออกมาเรียกร้องความชอบธรรมโดยอ้างว่า เป็นผู้ผดุงซุนนะฮฺของท่าน นบี
และกล่าวหา ผู้ร่วมแสดงความรักต่อท่านศาสดาว่า กระทำ บิดอะฮฺ ชีริก อะไรต่างนานา

เอาเถอะครับ...ไม่ว่าใครจะว่าอย่างไรก็ตาม ผมขอใช้สิทธิ์แห่งความเป็นมุสลิมคนหนึ่ง ในการแสดงจุดยืนของ

บรรดามุสลิมส่วนใหญ่ บนผืนแผ่นดินนี้ ผมไม่อยากจะเสวนากับกลุ่มชนเหล่านี้ให้มันยืดยาวนักหรอกครับ เพราะคิดว่ามันคงไร้ประโยชน์กับ พวกสุดโต่ง...
แต่อยากฝากข้อคิดแก่พี่น้องเอาไว้ บางประเด็นนะครับ...

ประเด็นที่ 1.

การรวมตัวเพื่อเฉลิมฉลองการถือกำเนิดของบรมศาสดามูฮัมหมัด
(หรือว่าการทำเมาลิด)นั้น เกิดขึ้นใน ต้นศตวรรษที่ 7 แห่งฮิจญเราะฮฺศักราช
ซึ่งไม่เคยปรากฏการกระทำดังกล่าว ในสมัยของท่าน ศาสดามูฮัมหมัด หรือ เหล่าอัครสาวกของท่านถัดมา ในสามศตวรรษแรก แต่ได้ริเริ่มปฏิบัติโดย กษัตริย์แห่งเมือง อิรบิล(ปัจจุบันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิรัค) ซึ่งชาวเมือง
เรียกท่านว่า “ท่านมหากษัตริย์ มูซอฟฟะรุดดีน บิน ซัยนุดดีน”
(สิ้นชีวิต ปี ฮ.ศ.630) และท่านกษัตริย์ท่านนี้ นับได้ว่าเป็นผู้มีความรู้ มีความเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺเป็นอย่างยิ่ง

ดังที่ท่าน อีหม่าม อิบนุกาษีร (ร.ฮ)(เสียชีวิต ฮ.ศ. 774) ได้กล่าวสรรเสริญท่านไว้ว่า

كان يعمل المولد الشريف – يعني الملك المظفر – في ربيع الأول ويحتفل به احتفالاً هائلاً، وكان شهمًا شجاعًا بطلاً عاقلاً عالمًا عادلاً رحمه الله وأكرم مثواه

ความว่า
“ ท่านกษัตริย์ อัล มูซอฟฟัร นั้น ได้จัดเมาลิด(กิจกรรมเพื่อแสดงความยินดีในการถือกำเนิดขององค์ศาสดา)ในเดือนรอบีอุลเอาวัล และได้เฉลิมฉลองกันในเดือนนั้นอย่างยิ่งใหญ่...ท่าน อัล มูซอฟฟัร นั้น คือสุภาพบุรุษผู้กล้าหาญและปราดเปรื่อง เป็นผู้รู้ท่านหนึ่ง และมีความยุติธรรม ...ขออัลลอฮฺได้เมตตาท่านและได้สร้างเกียรติแห่งสถานพำนักของท่านด้วยเถิด...”

(โปรดดูใน อัล บีดายะฮฺ วัล นีฮายะฮ ส่วนที่13 หน้า136 )

และขณะเดียวกัน ท่านอีหม่าม อัล-ฮาฟิซ อัซซายูฏีย์(ร.ฮ)(เสียชีวิตในปี ฮ.ศ.911)ได้กล่าวถึงเรื่องราวของท่าน ไว้ว่า


أنه أحد الملوك الأمجاد والكبراء الأجواد،

ความว่า

“ท่านกษัตริย์ มุซอฟฟารุดดีน นั้นคือหนึ่งใน จอมกษัตริย์ผู้ทรงธรรม และเป็นหนึ่งจากผู้ครองอำนาจที่โอบอ้อมอารี”

(โปรดดูใน “حسن المقصد في عمل المولد “ของท่าน อีหม่าม ซายูฏีย์ หน้าที่ 4)


และยิ่งไปกว่านั้น อีหม่าม อัล ฮาฟิซ อัซซาฮาบีย์(ร.ฮ)(เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 748)
ได้กล่าวยอมรับในตัวท่าน อัล มูซอฟฟัร ไว้ว่า

كان متواضعا خيرا سنيّا يحب الفقهاء والمحدثين

ความว่า
“ ท่าน อัล-มูซอฟฟัร นั้นเป็นผู้นอบน้อมถ่อมตน มีแบบฉบับที่ดีเลิศ เป็นผู้ที่มีความรักต่อ เหล่าอุลามะอฺ ฟิกฮฺ และชื่นชอบเหล่านักวิชาการฮาดีษ”

(โปรดดูใน سير أعلام النبلاء، ของท่าน อีหม่าม อัซซาฮาบีย์ เล่มที่ 22 หน้า 336)

และที่อดจะเอ่ยถึงไม่ได้นั่นก็คือ คำกล่าวของท่าน อีหม่าม อะฮฺหมัด บิน มูฮัมหมัด อิบนุ คอลกาน(ร.ฮ.)(สิ้นชีวิต ในปี ฮ.ศ.681) ที่ว่า

كان كريم الأخلاق، كثير التواضع، حسن العقيدة، سالم البطانة، شديد الميل إلى أهل السنة والجماعة

ความว่า
“ท่าน กษัตริย์ อัล มุซอฟฟัร นั่น มีจรรยามารยาทอันทรงเกียรติ อ่อนน้อมถ่อมตนเป็นอย่างยิ่ง ท่านมีหลักศรัทธาที่งดงาม มีจิตใจที่บริสุทธิ์ ชอบดำรงตนบนแนวทางของอะฮฺลิซซุนนะฮฺวัลญามาอะฮฺเป็นอย่างยิ่ง”

(โปรดดูในหนังสือของท่านชื่อว่า “وفيات الأعيان “ เล่มที่ 4 หน้าที่ 119)

พี่น้องครับ...
คำว่าอะฮฺลิซซุนนะฮฺในที่นี้นั้น หมายถึง หลักศรัทธาที่ได้ดำเนินอยู่ของ
ท่าน ศอลาฮุดดีน อัล-อัยยูบีย์ผู้เป็นแม่ทัพของท่าน มุซอฟฟัร ในขณะนั้น นั่นเอง...

จึงเป็นที่น่าแปลกใจที่ยังมี พวกมือไม่พายเอาปากราน้ำในปัจจุบัน กล้ากล่าวร้ายต่อท่าน ว่าเป็นชีอะฮฺ หรือ มุชริก ต่างๆนานา...

เมื่อท่าน กษัตริย์อัลมุซอฟฟัร คือผู้ริเริ่ม จัดการรำลึกถึงการประสูติของท่านศาสดา แล้ว เหล่านักปราชญ์ร่วมสมัยหรือสมัยถัดมาเขาว่าอย่างไรกับเรื่องนี้บ้างครับ?..

ประเด็นที่ 2.

บรรดาอุลามะอฺร่วมสมัยกับท่านซุลฏอล มุซอฟฟะรุดดีน ตลอดจนปวงปราชญ์สมัยถัดมาได้กำหนดจุดยืนร่วมกันว่า การกระทำของท่าน กษัตริย์ มุซอฟฟัร นั้น ถือเป็นอุตริกรรมอันดีงาม สมควรที่จะส่งเสริมให้ปฏิบัติกัน...
ท่าน ชัยค์ อัล-อัลลามะฮฺ อาบุล คอฏฏ๊อบ อิบนุ ดิฮฺยะฮฺ(ร.ฮ)
(เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 633) ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในจำนวนนักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงในศาสตร์แห่งอิสลามโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิชาการฮาดีษ...และท่านก็ถือได้ว่า เป็นผู้หนึ่งที่มีชีวิตร่วมสมัยกับ ท่านกษัตริย์ อัล-มูซอฟฟัร ข้างต้น ...
ท่านได้เขียนตำราเกี่ยวกับเรื่องราวของการประสูติของท่านศาสดาไว้หลายฉบับ โดยใช้ชื่อว่า “التَّنْوِيرُ فِي مَوْلِدِ السِّرَاجِ الـمُنِيرِ” และได้อ่านตำราดังกล่าวให้องค์กษัตริย์ได้รับฟังและถวายตำราเหล่านั้นแก่องค์กษัตริย์ มุซอฟฟัร...

(โปรดดูรายละเอียด ใน “حسن المقصد في عمل المولد “ของท่าน อีหม่าม ซายูฏีย์)

ท่าน อีหม่าม อาบูชามะฮฺ อับดุลรอฮฺมาน บิน อิสมาอิล อัลมักดีซีย์(ร.ฮ)
(เสียชีวิต ฮ.ศ.665) ซึ่งนับเป็นศิษย์ผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่งของ อิบนุ ดิฮฺยะฮฺ ที่ผมกล่าวมาข้างต้น และยังนับได้ว่าเป็น อาจารย์ท่านหนึ่งของ อีหม่าม นาวาวีย์(ร.ฮ)
ท่าน(อาบูชามะฮฺ)กล่าวว่า


ومن أحسن ما ابتدع في زماننا ما يُفعل كل عام في اليوم الموافق لمولده صلى الله عليه وآله وسلم من الصدقات، والمعروف، وإظهار الزينة والسرور، فإن ذلك مشعرٌ بمحبته صلى الله عليه وآله وسلم وتعظيمه في قلب فاعل ذلك وشكر اًلله تعالى على ما منّ به من إيجاد رسوله الذي أرسله رحمة للعالمين

ความว่า

“ส่วนหนึ่งจากอุตริกรรมอันดีงามที่ได้ถูกปฏิบัติกันในยุค(ศตวรรษที่6)ของเรานี้ก็คือ สิ่งที่ได้ปฏิบัติกันทุกๆปี ในวันคล้ายวันประสูติขององค์ศาสดา(ซอลลัลลอฮูอาลัยฮิวาซัลลัม) อันได้แก่ การบริจาคทาน, การปฏิบัติคุณความดีต่างๆ, การประดับประดา(สถานบ้านเรือน)และเผยให้เห็นถึงความสุขสรรค์หรรษา (เป็นต้น)...เพราะสิ่งที่กล่าวมานั้น บ่งบอกถึงความรักที่มีต่อท่านศาสดา(ซอลลัลลอฮูอาลัยฮิวาซัลลัม) และ(บ่งบอก)ถึงการยกย่องท่านศาสดา ที่ได้ปรากฏอยู่ในจิตใจของผู้กระทำการดังกล่าว... และเป็นการขอบคุณอัลลอฮฺ ต่อสิ่งที่พระองค์ได้ทรงประทานแก่เรา นั่นก็คือ การสร้าง องค์ศาสนทูติที่ได้ถูกส่งมาเป็นเมตตาพรแห่งโลกทั้งผอง”

(โปรดดูใน “الباعث على إنكار البدع والحوادث “ ของท่านอาบูชามะฮฺ หน้าที่ 23)

ท่านอีหม่าม อัซซาxxx์(ร.ฮ)นักปราชญ์ระดับแนวหน้าท่านหนึ่ง ในช่วงปีฮ.ศ
ที่ 831-902 และยังได้ถูกนับรวมเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ลูกหาของท่าน อีหม่าม อาบูชามะฮฺ ข้างต้น...ท่านได้บอกให้เราทราบถึงเรื่องราวของการทำเมาลิด ที่ยังคงถือปฏิบัติกันเรื่อยมาจวบจนยุคของท่าน ...ท่านบอกว่า

لم يفعله أحد من السلف في القرون الثلاثة, وإنما حدث بعدُ, ثم لا زال أهل الاسلام من سائر الأقطار والمدن يعملون المولد ويتصدقون في لياليه بأنواع الصدقات ويعتنون بقراءة مولده الكريم، ويظهر عليهم من بركاته كل فضل عميم

ความว่า

“ ไม่มีชาวซาลัฟคนใดในยุคสามศตวรรษแรกที่ได้มีการรวมตัวเพื่อเฉลิมฉลองการถือกำเนิดของบรมศาสดามูฮัมหมัด (เมาลิด) ความจริงแล้ว มันได้ถูกริเริ่มขึ้นใหม่ ต่อมา มวลมุสลิมจากทั่วแคว้นแดนดินต่างก็ได้ปฏิบัติ เมาลิด กันเรื่อยมาไม่ขาดสาย พวกเขาได้บริจาคทานกัน ในค่ำคืนของเดือนเมาลิดนี้ กันหลากหลายรูปแบบ พวกเขาได้ใส่ใจต่อการอ่านเรื่องราวการถือกำเนิดอันทรงเกียรติของท่านศาสดา และคุณความดีอันแผ่ไพศาล อันสืบเนื่องมาความจำเริญของการทำเมาลิด ก็ได้ปรากฏชัดแก่พวกเขา”

(โปรดดูใน السيرة الحلبية ของท่าน อาลี บิน บุรฮานุดดีน อัล-ฮัลบีย์ เล่มที่ 1 หน้า 83)

ท่านอีหม่าม อัล-ฮาฟิซ อัซซายูฏีย์ ได้บันทึกคำกล่าวของ ท่าน อีหม่าม อิบนุ ฮาญัร อัล-อัซกอลานีย์ (ผู้ซึ่งได้รับสมยานามว่าเป็นหัวหน้าแห่งมวลนักวิชาการ
ฮาดีษ)...ในขณะที่ได้มีผู้ถามท่านเกี่ยวกับบทบัญญัติของการทำเมาลิด...
ท่าน อิบนุฮาญัร ได้ตอบว่า

“أصل عمل المولد بدعة لم تنقل عن السلف الصالح من القرون الثلاثة، ولكنها مع ذلك اشتملت على محاسن وضدها، فمن تحرى في عملها المحاسن وتجنب ضدها كانت بدعة حسنة.......”

ความว่า

“เดิมทีการ กระทำเมาลิดนั้น ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกริเริ่มขึ้นใหม่ โดยที่ไม่ได้มีการอ้างอิงใดๆมาจากการกระทำของชาวซาลัฟในช่วงสามศตวรรษแรก...และแม้นจะไม่มีการอ้างอิงใดๆ(มาจากชาวซาลัฟ)ถึงกระนั้น มันก็ยังคงครอบคลุมทั้งเรื่องที่ดีและเรื่องที่ไม่ดี ฉะนั้นใครก็ตามที่ได้ปฏิบัติเมาลิดโดยกระทำในเรื่องราวที่ดีงามและออกห่างจากเรื่องราวที่ไม่ดี การทำเมาลิดของเขาก็ถือเป็น บิดอะฮฺ ที่ ฮาซานะฮฺ
(อุตริกรรมอันดีงาม).......”

(โปรดดูใน “حسن المقصد في عمل المولد “ของท่าน อีหม่าม ซายูฏีย์ หน้าที่10)

ท่านอีหม่าม อิบนุอาบีดีน อัล-ฮานาฟีย์(ร.ฮ)(เสียชีวิต ฮ.ศ. 1252) ได้กล่าวว่า

“اعلم أن من البدع المحمودة عمل المولد الشريف من الشهر الذي ولد فيه صلى الله عليه وآله وسلم

ความว่า

“พึงทราบเถิดว่า ส่วนหนึ่งจากอุตริกรรมอันพึงยกย่องนั้นก็คือ การรวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองการถือกำเนิดของท่านศาสดาอันสูงเกียรติ(เมาลิด)ซึ่งได้มีขึ้นในเดือนที่ท่านได้ถือกำเนิด(นั่นก็คือเดือนรอบีอุลเอาวัล-ผู้แปล)”

(โปรดดูรายละเอียดใน “ชัรฮฺ อิบนิ อาบีดีน อาลา เมาลีดิ อิบนิฮาญัร” ของท่าน
อิบนุอาบีดีน )

พี่น้องครับ...

สำหรับประเด็นที่ 2 นี้ ขอสรุปสั้นๆเป็นสังเขปดังนี้นะครับ

1.บรรดานักวิชาการทุกคนตระหนักดีว่า การกระทำเมาลิดนั้น ไม่มีปรากฏในยุคของชาวซาลัฟ หากแต่มัน คือ สิ่งที่ได้มีการริเริ่มทำกัน ในยุคถัดมา(ในศตวรรษที่6)

2.ถึงแม้ว่า การทำเมาลิด จะเป็นสิ่งที่ได้มีการริเริ่มกันภายหลัง แต่เมื่อพิจารณาถึงสาระปลีกย่อยที่ได้ปรากฏในการ ทำเมาลิด เช่น การทำทาน ,เลี้ยงอาหาร,
ศอลาวาตแด่ท่านนบี ,อ่านชีวประวัติของท่าน ,ขอบคุณต่ออัลลอฮฺที่เราได้เป็น ประชาชาติของท่านนบี ฯลฯ...มันก็นับเป็นสิ่งที่ดีงามควรแก่การสรรเสริญ ดังนั้นมันจึงถูกกำหนด ให้เป็น บิดอะฮฺ ฮาซานะฮฺ

และหากต้องการความกะทัดรัด ทั้งด้านบทบัญญัติและรูปแบบของการทำเมาลิด
ผมว่าคำกล่าวของ ท่านอีหม่าม ซายูฏีย์นี้ คงจะดีไม่น้อยเลยทีเดียว
ท่านอีหม่าม ซายูฏีย์ (ร.ฮ) ได้บอกเราว่า

“عندي أن أصل عمل المولد الذي هو اجتماع الناس وقراءة ما تيسر من القرآن ورواية الأخبار الواردة في مبدأ أمر النبي وما وقع في مولده من الآيات ثم يمد لهم سماط يأكلونه وينصرفون من غير زيادة على ذلك هو من البدع الحسنة التي يثاب عليها صاحبها لما فيه من تعظيم قدر النبي وإظهار الفرح والاستبشار بمولده الشريف......"

ความว่า
“การทำเมาลิด ซึ่งหมายถึง การรวมตัวกันของมวลมนุษย์ และอ่าน อัล กุรอ่าน กันตามความสะดวก..อ่านเรื่องราวของท่านศาสดาที่ได้มีสายรายงานมา ตั้งแต่เริ่มแรกของชีวิต.. และอ่านโองการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของท่าน...จากนั้นก็วางสำรับกับข้าวเพื่อกินเลี้ยงกัน แล้วก็แยกย้ายกันกลับ โดยที่ไม่ได้เพิ่มเติมอะไรนอกไปกว่านี้ ...สำหรับตัวฉันแล้ว หลักการเดิมของ การทำเมาลิด ในลักษณะนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งจาก บิดอะฮฺที่ดี ซึ่งผู้จัดกระทำมันนั้น ย่อมได้รับผลบุญ
อันสืบเนื่องมาจาก การยกย่องให้เกียรติฐานันดร ของท่านศาสดา, การเผยความรู้สึกปลื้มปิติออกมาเมื่อเอ่ยถึงการถือกำเนิดของท่านนบี”

(โปรดดูใน “ حسن المقصد في عمل المولد “ของท่าน อีหม่าม ซายูฏีย์ หน้าที่ 4)

พี่น้องครับ...

นี่คือจุดยืน ของบรรดาปวงปราชญ์ส่วนใหญ่ในอดีต นับแต่มีการกระทำเมาลิดมา
แต่ขณะเดียวกัน ก็ยังมี บุคคลบางส่วนไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้

ประเด็นที่ 3.

ผู้สนับสนุน และผู้คัดค้าน

ขอให้พี่น้องตระหนักไว้เสมอนะครับว่า เรื่องของการ รวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติขององค์บรมศาสดานั้น นับเป็นสิ่งปลีกย่อยในเรื่องราวของศาสนา(แต่พวกสุดโต่งบางคนก็แถไปอีกว่า เป็นเรื่องปลีกย่อยได้อย่างไร...เรื่องบิดอะฮฺนี่มันเรื่องใหญ่สิ...พี่น้องครับ...หากมาลักษณะนี้ ขออย่าได้ถือสา หรือใส่ใจ นะครับ เพราะหากเราโต้เถียงไป ก็จะเปลืองน้ำลายเปล่าๆ เพราะเขานั้น ปฏิเสธการ มีอยู่ ของ “บิดอะฮฺ ฮาซานะฮฺ”(อุตริกรรมที่ดี)ตั้งแต่แรกเสียอีก...

พี่น้องที่รัก...

ที่เราผู้มีจิตอันเป็นกลาง สมควรที่จะยอมรับทรรศนะของอีกฝ่ายอย่างเป็นธรรม
ไม่กล่าวหาผู้ที่ปฏิบัติ ว่า กระทำ บิดอะฮฺ กระทำสิ่งที่หลงผิด อะไรเหล่านี้เป็นต้น ส่วนผู้ที่ ได้ปฏิบัติอยู่ ก็ไม่สมควรกล่าวหาผู้ที่ไม่ปฏิบัติว่า
“พวกเหยียบเรือสองแคม พวกครึ่งน้ำครึ่งบก หรืออะไรทำนองนี้ นะครับ เพราะบางทีเขาอาจมีเหตุจำเป็น หรือเหตุผลอื่นๆก็เป็นได้ แต่สำหรับ พวกที่สุดโต่ง ซึ่งชอบกล่าวหาคนอื่นไปทั่ว ว่า บิดอะฮฺ โดยที่ไม่ใส่ใจถึง หลักฐานของอีกฝ่าย สำหรับพวกนี้ ผมว่า หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง เข้าบ้างก็จะดี...

ต่อไปนี้จะขอนำเสนอ รายชื่อของ บรรดาอุลามะอฺใน อดีตที่เห็นชอบกับการปฏิบัติเมาลิด โดยจะขอนำมาเป็นบางท่าน ซึ่งผมได้เคยอ่านเจอ งานเขียนของพวกเขา นะครับ ซึ่งหากอุลามะอฺท่านใดที่ไม่ปรากฏรายชื่อ ในบทความนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า เขาไม่สนับสนุนการทำเมาลิด นะครับ เพราะบางทีเราอาจจะยังไม่เจอ คำกล่าวของท่านเหล่านั้นก็เป็นได้... และหลักจากนั้น จะขอนำรายชื่อของ ผู้ที่คัดค้าน มานำเสนอ เพื่อความเป็นธรรมกันทั้งสองด้านนะครับ

....ผู้สนับสนุนการแสดงความรักต่อองค์ศาสดาด้วยรูปแบบดังที่ได้กล่าวมา.....

1. ท่านอีหม่าม อัล-ฮาฟิซ อับดุล รอฮฺมาน บิน อาลี อิบนุเญาซีย์(ร.ฮ)
(เสียชีวิต ฮ.ศ. 597)
ประพันธ์ตำรา “العروس”

2. ท่าน ชัยค์ อัล-อัลลามะฮฺ อาบุล คอฏฏ๊อบ อิบนุ ดิฮฺยะฮฺ(ร.ฮ)
(เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 633)
ประพันธ์ตำรา “التَّنْوِيرُ فِي مَوْلِدِ السِّرَاجِ الـمُنِيرِ

3. ท่านอีหม่าม อัล-ฮาฟิซ อิบนุ ญาซฺารีย์(ร.ฮ)(เสียชีวิต ฮ.ศ. 660)
ประพันธ์ตำรา “"عرف التعريف بالمولد الشريف".

4. ท่าน อีหม่าม อาบูชามะฮฺ อับดุลรอฮฺมาน บิน อิสมาอิล อัลมักดีซีย์(ร.ฮ)(เสียชีวิต ฮ.ศ.665)
(โปรดดูใน الباعث على إنكار البدع والحوادث )

5.ท่านอีหม่าม อัล-ฮาฟิซ อิบนุ กาษีร (ร.ฮ)(เสียชีวิต ฮ.ศ. 774)
ประพันธ์ตำรา “صلاح الدين المنجد”

6.ท่านอีหม่าม อัล-ฮาฟิซ อับดุล รอฮีม อัล-อีรอกีย์(ร.ฮ)(เสียชีวิต ฮ.ศ.808)
แต่งตำรา “"المورد الهني في المولد السني"

.
7. ท่าน อีหม่าม อิบนุ ฮาญัร อัล-อัซกอลานีย์ ผู้นำแห่งมวลนักวิชาการฮาดีษ (ร.ฮ)(เสียชีวิต ฮ.ศ. 852 )

(โปรดดูรายละเอียดใน حسن المقصد في عمل المولد หน้าที่ 10)

8. ท่านอีหม่าม อัล ฮาฟิซ อัซซาxxx์(ร.ฮ)(เสียชีวิต ฮ.ศ. 902)
แต่งตำราชื่อ “الفخر العلوي في المولد النبوي"

9. ท่านอีหม่าม อัล-ฮาฟิซ อัซซายูฏีย์(ร.ฮ)(เสียชีวิตในปี ฮ.ศ.911)
แต่งตำรา “حسن المقصد في عمل المولد”

10. ท่าน อีหม่าม อัล-ฮาฟิซ อะฮฺหมัด อัล กอซฏอลานีย์(ร.ฮ)
(เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 923 )
(โปรดดูใน “المواهب اللدنية” เล่มที่1 หน้าที่ 148 )

11. อัล-อีหม่าม อิบนุฮาญัร อัล-ฮัยตามีย์(ร.ฮ)(เสียชีวิต ฮ.ศ. 974)
ประพันธ์ตำรา “"إتمام النعمة على العالم بمولد سيد ولد آدم”

12. ท่านอีหม่าม อัล คอฏีบ อัช ชัรบีนีย์(ร.ฮ)(เสียชีวิต ฮ.ศ.1014)
ประพันธ์ตำรา "المولد الروي في المولد النبوي"

13. ท่าน อีหม่าม อัล-มุฮัดดิษ ญะฟัร บิน ฮาซัน อัล บัรซันญีย์ (ร.ฮ)(เสียชีวิต ฮ.ศ.1177)ประพันธ์ตำรา "عقد الجوهر في مولد النبي الأزهر"
(บ้านเราเรียกกันว่า “บัรซันญีย์”ไงครับ)

14.ท่านอีหม่าม อิบนุอาบีดีน อัล-ฮานาฟีย์(ร.ฮ)(เสียชีวิต ฮ.ศ. 1252)
(โปรดดูรายละเอียดใน شرح إبن عابدين على مولد إبن حجر )

15. ฯลฯ

พี่น้องครับ...

ที่กล่าวมานั้น คือ อุลามะอฺ บางท่านในแต่ละสมัย ที่สนับสนุนให้มีการ ทำเมาลิด...และพี่น้องจะสังเกตเห็นว่า ผมได้นำ อุลามะอฺ ที่แต่งตำราเกี่ยวกับ การทำเมาลิด
มายกตัวอย่างเสียเป็นส่วนใหญ่ และส่วนมากนั้น ล้วนแล้วแต่เป็น นักวิชาการฮาดีษ แทบทั้งสิ้น ... (เพื่อที่บางคนจะได้ฉุกคิดขึ้นมาบ้าง(หากอัลลอฮฺประสงค์))
ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ยังมีบรรดาอุลามะอฺผู้เรืองนามอีกมากมาย ที่สนับสนุน
“บิดอะฮฺ ฮาซานะฮฺ” ในลักษณะนี้...

……ผู้คัดค้านการรวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองการถือกำเนิดของท่านศาสดา(เมาลิด)....

1.ท่าน อิบนุ ตัยมียะฮฺ (เสียชีวิต ฮ.ศ. 728 )
(โปรดดูใน “ اقتضاء الصراط المستقيم” หน้า 295)

2.ท่าน ตายุดดีน อัล-ฟากีฮานีย์ (เสียชีวิต ฮ.ศ. 734)
(โปรดดูรายละเอียดใน “المورد في حكم المولد” )

3.ท่าน มูฮัมหมัด บิน มูฮัมหมัด อัลฟาซีย์ (อิบนุล ฮาจญฺ) (เสียชีวิต ฮ.ศ. 737)
(โปรดดูรายละเอียดใน “ المدخل لإبن الحاج “ )

4.ท่าน อิบรอฮีม บิน มูซา อัช-ชาฏีบีย์ (เสียชีวิต ฮ.ศ. 790)
(โปรดดูใน “الإعتصام للشاطبي” เล่ม 1 หน้า 39 )

พี่น้องครับ...

ทั้ง 4 ท่านที่กล่าวมานี้ คือ นักวิชาการศาสนา ในยุคสมัยที่ไล่เลี่ยกัน ซึ่งได้คัดค้าน การทำเมาลิดอย่างจริงจัง ซึ่งหากเราได้อ่าน รายละเอียดของหนังสือ ที่พวกเขาได้แต่งนั้น ก็พอจะสรุปสาเหตุของการคัดค้านได้ว่า เป็นเพราะพวกเขามีความเห็นต่างในกรณีของ “บิดอะฮฺ ฮาซานะฮฺ” ทั้งๆที่อุลามะอฺส่วนใหญ่ในอดีต ทั้งก่อนยุคของพวกเขา และ หลังจากยุคของพวกเขา ต่างก็แบ่งบิดอะฮฺออกอย่างชัดเจน
ท่านอีหม่าม ชาฟีอีย์ได้เคยกล่าวว่า

البدعة بدعتان: بدعةٌ محمودة، وبدعة مذمومةٌ، فما وافق السنة فهو محمود، وما خالف السُّنة فهو مذمومٌ

ความว่า
“ อุตริกรรมนั้นมีอยู่ 2 ประเภท นั่นก็คือ อุตริกรรมอันพึงสรรเสริญ และ อุตริกรรมอันพึงประณาม ฉะนั้น อุตริกรรมอันใดที่สอดคล้องกับหลักการแนวทางของซุนนะฮฺ มันก็พึงสรรเสริญ และ อุตริกรรมอันใดที่ขัดแย้งกับหลักแนวทางแห่งซุนนะฮฺ มันก็เป็นสิ่งพึงประณาม”

(โปรดดูใน “الباعث على إنكار البدع والحوادث” หน้าที่ 93 )

ครับพี่น้อง....
หากในการทำเมาลิด มี การอ่าน อัล-กุรอ่าน...อ่านประวัติท่านศาสดา...ศอลาวาตท่านนบี...บริจาคทานกุศล...เลี้ยงอาหารแก่ผู้คน ฯลฯ การทำเมาลิดก็เป็นสิ่งที่ควรสรรเสริญ
แต่หากการทำเมาลิด มีการ เปิดเพลงกันอึกทึก...มีการดื่มของมึนเมา...มีการพนัน...มีการปะปนกันระหว่างชายหญิงจนเลยเถิดบทบัญญัติ การทำเมาลิดนั้นก็สิ่งที่ต้องได้รับการประณามอย่างแข็งขันใช่ไหมครับ...

ท่าน อีหม่าม อัล-ฮาฟิซ ชัมซุดดีน บิน นาศีรุดดีน อัล-ดิมัชกีย์
(เสียชีวิต ฮ.ศ. 842 )ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านว่า

قد صح أن أبا لهب يخفف عنه عذاب النار في مثل يوم الاثنين لإعتاقه ثويبة سرورًا بميلاد النبي

ความว่า

“แท้จริงนั้น มีสายรายงานที่เชื่อถือได้ ระบุว่า อาบูลาฮับ(ลุงคนหนึ่งของท่านนบี-ผู้แปล)ได้ถูกลดหย่อนโทษทัณฑ์ของไฟนรก ในวันจันทร์ สืบเนื่องมาจากท่าน ได้ปลดปล่อยทาสหญิงชื่อว่า นาง ซุวัยบะฮฺ ให้เป็นไท อันเพราะความปลื้มปิติที่ ท่าน นบี ได้ถือกำเนิด”

จากนั้น ท่านอีหม่าม ชัมซุดดีน ก็ได้กล่าวลำนำโคลงกลอนขึ้นว่า


إذا كان هـذا كافرًا جـاء ذمـه وتبت يـداه في الجحـيم مخـلدًا

أتى أنـه في يـوم الاثنين دائـمًا يخفف عنه للسـرور بأحــمدا

فما الظن بالعبد الذي طول عمره بأحمد مسرورٌ ومات موحـــدًا

ความว่า

“เมื่อ(อาบูลาฮับ)คนนี้ เป็นกาฟิรที่ได้รับการประณามไว้ในอัล-กุรอ่าน
สองมือของเขาได้พินาศและชั่วนิจนิรันดร์ในอเวจี ญะฮีม....
มีปรากฏหลักฐานว่าในทุกๆวันจันทร์นั้น จะได้รับการลดหย่อนโทษทัณฑ์
อันเนื่องจากความปรีดาที่ องค์ศาสดา ได้กำเนิดมา...
ฉะนั้นจะคาดการอย่างไรกับการที่บ่าวคนหนึ่งนั้น ได้ มีความปลื้ม ปิติยินดี
กับการถือกำเนิดของท่าน ศาสดา ตลอดชั่วชีวิตของเขา ทั้งๆที่เขาได้ตายอย่างผู้ศรัทธา”

(ดูเนื้อหาทั้งหมดได้ใน “ مورد الصادي في مولد الهادي” )

พี่น้องที่รัก...

การจะทำเมาลิดหรือไม่นั้น ก็สุดแล้วแต่ปัญญาของแต่ละท่านจะพิจารณา
ใครจะทำก็ทำไป เพราะอย่างน้อย อุลามะอฺ นามอุโฆษในอดีตมากมาย
ที่รับรองการกระทำดังกล่าว(เข้าทำนองที่ว่า เดินตามหลังผู้รู้ งูไม่กัด)
และหากไม่คิดจะทำ ก็ไม่เป็นไร เพราะ ท่านนบี และ ศอฮาบัตก็ไม่เห็นเขาทำ
(แต่สิ่งที่เราไม่เห็น ใช่ว่าสิ่งนั้นจะไม่มี นะครับ)แต่ที่สำคัญ...อย่าปล่อยให้ปัญหาปลีกย่อยนี้ มาทำลายความสัมพันธ์ของสังคมมุสลิมเราให้มันแย่เกินไปกว่านี้เลยครับ...

ก็แค่เขารักท่านนบี ไม่น่าจะต้องเป็นปัญหา!!!!!

....wahabi buta....http://444.xp3.biz/su/view.php?category=ju&wb_id=22
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

เรื่อง...แค่ทำเมาลิด ทำไมต้องเป็นปัญหา?  Empty Re: เรื่อง...แค่ทำเมาลิด ทำไมต้องเป็นปัญหา?

ตั้งหัวข้อ by Profile Wed Dec 24, 2014 9:55 pm

 จาก อาอิซะฮ์ ร.ฎ ผู้ใดเสกสรรไว้ในกิจการ (แห่งศาสนา) ของเรานี้ ซึ่งที่ไม่เป็นส่วนหนึ่งแห่งกิจการนั้น แน่นอนสิ่งนั้นถูกผลักใส (ไม่เป็นที่รับรองของ อ.ล)
โดย อัลบุคอรีย์ และท่านอื่นๆ
สิ่งที่ถูกอุตริกระทำขึ้น อันไม่ใช่คำสอนของศาสนา แล้วยัดเยียดเข้าในศาสนา และถือว่าเป็นคำสอนหนึ่งของศาสนา สิ่งนั้นไม่ถูกรับรอง มันเป็นความผิดมหันต์ และที่จะเรียกสิ่งนั้นว่า “ บิดอะฮฺ “ จะต้องเป็นสิ่งอุตริโดยบริสุทธิ์แท้จริง กล่าว คือ ไม่สามารถจะหาที่มาของการกระทำจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺได้ ส่วนรูปแบบการขอพร หรือ การทำทาน เช่น การทำเมาลิด การขอพรเนื่องในโอกาสจัดเลี้ยงใดๆนั้น เหล่านี้ไม่เป็นสิ่ง อุตริใน ความหมายนี้ แต่เป็นสิ่งดีงามที่ควรรักษาไว้ เพราะสามารถสืบหาที่มาได้  อ . มัรวาน




หลักฐานการทำเมาลิดเพื่อรำลึกถึงท่านนบีซอลลัลลอฮูอาลัยอาลีวาซัลลัม
การรำลึกถึงท่านนบีหรือเมาลิดนั้นคือการแสดงความชุโกรต่ออัลลอฮ์(ซบ)ที่ได้ส่งบคคลท่านนี้มาในยุคสุดท้ายซึ่งเป็นยุคของพวกเรานั้นเอง.และมีบรรดาฮะดีสมากมายที่ครอบคลุมถึงหลักการและบ่งชี้ว่าสามารถระทำได้โดยเฉพาะ สายรายงานเกี่ยวกับการซิกรุลลอฮ์ ที่แบบเจาะจง (มัคศูเศาะฮ์) และนัยยะเเบบกว้าง (อาม) เช่น
คำกล่าวของท่านร่อซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า
لاَ يَقْعُدُ قَوْمٌ يَذْكُرُوْنَ اللهَ عَزَّ وَجَلَّ إِلَّا حَفَّتْهُمُ المَلاَئِكَةُ، وَغَشِيَتْهُمُ الرَّحْمَةُ، وَنَزَلَتْ عَلَيْهِمُ السَّكِيْنَةُ، وَذَكَرَهُمُ اللهُ فِيْمَنْ عِنْدَهُ
“ไม่มีชนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดทำการนั่งซิกรุลลอฮ์(19) อัซซะวะญัลล่า นอกจากว่า บรรดามะลาอิกะฮ์ จะห้อมล้อมพวกเขา ความเมตตาจะแผ่คลุมพวกเขา ความสงบสุข ก็ได้ลงมาบนพวกเขา และอัลเลาะฮ์ก็ทรงเอ่ยถึงพวกเขา แก่ผู้ที่อยู่ ณ พระองค์” (20)
...บรรดาอลามะในยุคคอลัฟคือผู้ที่เจริญรอยตามบรรดาสลัฟยุคสามร้อยปีได้ทำการค้นคว้า..หลักฐานที่เป้นข้อห้ามทั้งรูปแบบเจาะจงและแบบครอบคลุม..ซึ่งไม่ปรากฏว่า พวกเขาสลัฟซอและฮ์เหล่านั้นทำการคัดค้านเอาหะดิษนี้มาเป็นหลักฐาน ปฎิเสธการห้ามเฉลิมฉลองวันเกิดหรือเมาลิดนบี(ซล)...
...ท่านอีหม่ามนะวาวีย์ปราชญ์มัสหับสลัฟของท่านชาฟีอี(รฮ)ได้กล่าวว่า
وَفِي هَذَا دَلِيلٌ لِفَضْلِ الِاجْتِمَاعِ عَلَى تِلَاوَةِ الْقُرْآنِ فِي الْمَسْجِدِ وَهُوَ مَذْهَبُنَا وَمَذْهَبُ الْجُمْهُورِ
ในหะดิษนี้ เป็นหลักฐานแสดงบอกถึงคุณค่าหรือการอนญาตของการรวมตัวกัน..ในการ อ่านอัลกุรอ่านในมัสญิด และมันคือ มัซฮับ(ทัศนะ/แนวทาง)ของเราและแนวทางของนักปราชญ์ส่วนใหญุ – ดูตุหฟะตุลอะวะซีย์ ชัรหุสุนันอัตติรมิซีย์ อธิบายหะดิษหมาย 3378 กิตาบุดดะอวาต..
ฉนั้น..
นี้คือหะดิษหนึ่งที่อุลามะหลังยุคสลัฟคือท่านอีม่ามนาวาวีย์(รฮ)หนึ่งในนักหะดิสที่สนับสนุนการรำลึกท่านนบีและมีหลักฐานว่าท่านยังมาร่วมในงานรำลึกนี้อีกด้วย..ในคำกล่าวของท่านนี้บ่งชี้ว่า ไม่มีการจำกัดขอบเขตในเรื่องการอ่านอัลกรุอ่านไม่ว่าที่ใดหรือในมัสยิด.ในการรำลึกถึงท่านนบีนั้นย่อมมีทั้ง..การอ่านอัลกรุอ่าน..และการซิกรุ้ลลอฮ์..การซอลาวัตและการพูดถึงประวัติท่านบีดังกล่าว...
..โดยที่ไม่หลักฐานใดๆที่มาห้ามจาก กีตาบุลลอฮ์และซนนะนบีหรือคำฟัตวาของปราชญ์สลัฟมาห้ามกระทำ และไม่ถือว่า..การรำลึกถึงท่านนบีนั้น..เป็นการกำหนดหรือออกบทบัญญัติขึ้นมาเอง เพราะมันเป็นแค่การส่งเสริมที่อนุญาตให้กระทำโดยไม่มีการบังคับใดๆ...
ดังนั้น วะฮาบีย์หรือผู้คัดค้านสิ่งดังกล่าวนั้นคือผู้ที่คิดค้นหลักการฮุกมขึ้นมาเองโดยล้ำหน้าต่อ อัลลอฮ์(ซบ)และท่านนบี(ซล)นี่คือบิดอะที่ลุ่มหลงของพวกเขา.
والله أعلم بالصواب
บาบอ-อะหมัด
จากคำพูดของอิบนุอะษีรที่ว่า
والبدعة الحسنة فى الحقيقة سنة، وعلى هذا التأويل يحمل حديث " كل محدث بدعة" على ما خالف أصول الشريعة، وما لم يخالف السنة
"และในความเป็นจริงแล้วบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือซุนนะฮ์นั่นเอง และให้อธิบายตามนัยนี้ หะดิษที่ว่า "ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์" โดยหมายถึง สิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐานของศาสนา และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ " ดู หนังสือ อันนิฮายะฮ์ เล่ม 1 หน้า 80
..........
คำอธิบายข้างบนนั้นคือคำพูดของปราชญ์หรืออุลามะมัสหับสลัฟ ที่บรรดาอุลามะส่วนมากเห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านเข้าใจโดยไม่มีผู้ใดทำการขัดแย้ง
.................................
เพราะคำว่า "บิดอะฮ"คือ สิ่งที่ไม่มีหรือไม่ปรากฏในสมัยท่านนบี(ซล)นี่คือนิยามของมันที่เหล่าปราชญ์ได้ให้ความหมาย..
ท่านอีม่ามชาฟีอีได้แบ่งบิดอะออกเป็น2ประเภทคือ..
การกระทำที่ไม่ขัดกับอัลกรุอ่านและซุนนะนั้นคือบิดอะที่ดี.
และการกระทำที่ขัดกับอัลกรุอ่านและซุนนะนั้นคือการกระทำที่เลว...
ฉนั้นบิดอะที่ดีก็คือบิดอะฮาซานะนั้นมาจากหลักฐานการกล่าวและการกระ...
ทำมาจากคอลีฟะอัรรอซีดีคือท่านอุมัร บินคอตอบ
เพราะท่านนบีกล่าวว่า
عليكم بسنتي وسنة الخلفاء الراشدين المهديين من بعدي ، تمسكوا بها وعضوا عليها بالنواجذ ، وإياكم ومحدثات الأمور ، فإن كل محدثة بدعة ، وكل بدعة ضلالة
พวกท่านจงยึดมั่นในสุนนะฮ(แบบอย่าง)ของฉัน และบรรดาเคาะลิฟะฮผู้ชี้ทางที่ถูกต้อง ผู้ได้รับทางนำหลังจากฉัน จงยึดถือมัน และจงกัดกรามมัน(หนักแน่นอดทน) และพึงระวังสิ่งที่ถูกกระทำขึ้นใหม่ที่ขัดแย้งกับในศาสนา และแท้จริงทุกสิ่งเกิดขึ้นใหม่ที่ขัดแย้งในศาสนานั้นนั้น เป็นบิดอะฮ และทุกบิดอะฮ ที่ลุ่มหลงนั้น เป็นการหลงผิด" - บันทึกโดยอะหมัด และ อัตติรมิซีย์
ชาววะฮาบีย์ในปัจจุบันมักอ้างว่า ท่านเคาะลิฟะฮอุมัร ไม่ได้กล่าววคำว่าบิดอะฮาซานะทั้งๆที่ท่านอุมัร(รด)เองได้ให้มีความเป็นระเบียบในการละหมาดญามาอะฮ์ซึ่งก่อนหน้านั้นต่างคนต่างก็กระทำตามที่ตนพึงพอใจโดยที่ท่านอุมัร(รด)ให้มีอีหม่ามนำละหมาดเพียงคนเดียวในละหมาดตะรอเวียะจำนวน20รอกะอัต ซึ่งในสมัยท่านนบีเคยกระทำในรูปแบบดังกล่าว
และท่านนบี(ซล)ได้สั่งให้เราตามสุนนะฮเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน..
จากหะดิษข้างต้นท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ใช้คำว่า
.... وسنة الخلفاء الراشدين (และสุนนะฮ(แบบอย่างของเคาะลิฟะอฮอัรรอชิดีน...)
ดังนั้นนี้คือซุนนะของท่านนบีเช่นกันคือการปฎิบัติตามการกระทำของคอลีฟะอัรรอซีดีทั้งสี่คือ ท่านอบูบักร์ ท่านอุมัร ท่านอุษมาน ท่านอาลี(รด)อย่างี้ไม่อำพรางหรือเพียงแค่แอบอ้างอย่างแนวทางวะฮาบีย์ในปัจจุบันน
والله أعلم بالصواب
บาบออะหมัด..


Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

เรื่อง...แค่ทำเมาลิด ทำไมต้องเป็นปัญหา?  Empty Re: เรื่อง...แค่ทำเมาลิด ทำไมต้องเป็นปัญหา?

ตั้งหัวข้อ by Profile Thu Jan 08, 2015 3:30 pm

‪#‎คำฟัตวาของปราชญ์อะฮ์ลิซซุนนะฮ์เกี่ยวกับเมาลิดนะบีย ‪#‎เครดิต‬: อาจารยอารีฟีน แสงวิมาน อัลอัซฮะรีย์‬
‪#‎คำฟัตวาของปราชญ์อะฮ์ลิซซุนนะฮ์เกี่ยวกับเมาลิดนะบีย‬ ‬
์การทำเมาลิดนะบีย์นั้น เป็นรูปแบที่ไม่มีการพูดถึงหรือไม่ถูกระบุฮุกุ่มไว้ในยุคสมัยของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และยุคสะละฟุศศอลิห์ ดังนั้นฮุกุ่มจึงถูกว่างเว้นโดยไม่อนุญาตให้กล่าวว่าท่านนะบีย์และสะลัฟได้ห้ามหรือได้ใช้ให้ทำเมาลิดในรูปแบบที่เกิดขึ้นมาในยุคหลัง และเมื่อการทำเมาลิดได้เกิดขึ้น บรรดาปวงปราชญ์ส่วนมากได้วินิจฉัยว่าการทำเมาลิดนั้นเป็นสิ่งที่ดีและอนุญาตให้กระทำได้ตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนั้นผู้เขียนจึงขอนำคำฟัตวาของปราชญ์อะฮ์ลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์สามท่านมานำเสนอเพื่อให้ท่านผู้อ่านที่มีหัวใจเป็นธรรมและใฝ่รู้ได้นำไปคิดใคร่ครวญและนำไปปรับปรุงเกี่ยวกับการทำเมาลิดนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

• คำฟัตวาของท่านชัยคุลอิสลามอิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ (ฮ.ศ. 773 – ฮ.ศ. 852)

ท่านอิหม่ามอัสสุยูฏีย์ได้ถ่ายทอดคำฟัตวาของท่านชัยคุลอิสลาม อัลหาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ ความว่า “ท่านชัยคุลอิสลาม ปราชญ์หะดีษแห่งยุคสมัย อะบุลฟัฎล์ อะห์มัด บิน หะญัร ได้ถูกถามเกี่ยวกับเรื่องการทำเมาลิดท่านชัยคุลอิสลามตอบว่า: รากฐานเดิมของการทำเมาลิดเป็นสิ่งริเริ่มทำขึ้นมาใหม ที่มิได้ถูกถ่ายทอดจากสะละฟุศศอลิห์คนใดจากยุคสามร้อยปี และเมาลิดนั้นแม้ไม่มีการถ่ายทอดจากสะลัฟก็ตาม แต่ก็ผนวกไว้ซึ่งบรรดาความดีงามและสิ่งที่ตรงกันข้าม (ความไม่ดี) ดังนั้นผู้ใดที่แสวงหาการทำเมาลิดโดยมีส่วนที่ประกอบไปด้วยบรรดาความดีงามและห่างไกลจากสิ่งที่ตรงกันข้ามนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่เริ่มทำขึ้นมาที่ดี และหากมิเป็นเช่นนั้น ก็เป็นสิ่งที่ริเริ่มทำขึ้นมาที่ไม่ดีแท้จริงได้ปรากฏแก่ข้าพเจ้า โดยการสังเคราะห์วินิจฉัยหลักการออกมาจากหลักฐานที่ถูกต้อง คือหลักฐานที่ยืนยันไว้ในหะดีษอัลบุคอรีย์และมุสลิมว่า “แท้จริงท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้มาที่นครมะดีนะฮ์ แล้วท่านพบว่าพวกยิวกำลังถือศีลอดในวันอาชูรออฺ ท่านนะบีย์จึงถามพวกเขา ดังนั้นพวกเขาจึงกล่าวว่า วันอาชูรออฺเป็นวันที่อัลเลาะฮ์ทรงทำให้ฟิรเอาน์จมน้ำและทำให้นะบีย์มูซารอดพ้นปลอดภัย ฉะนั้นพวกเราจึงทำการถือศีลอดเพื่อขอบคุณอัลเลาะฮ์ตะอาลา” ดังนั้นสิ่งที่ได้รับจากหะดีษคือ มีการขอบคุณ (ชุโกร) ต่ออัลเลาะฮ์เนื่องจากความโปรดปรานที่พระองค์ทรงประทานให้ในวันที่เฉพาะไม่ว่าความโปรดปรานนั้นจะเป็นการประทานนิอฺมัตหรือให้พ้นภัยบะลาอฺ และสิ่งดังกล่าวนั้น ได้หวนกลับมากระทำเฉกเช่นวันดังกล่าวในทุกปีและการขอบคุณต่ออัลเลาะฮ์นั้น เกิดขึ้นได้ด้วยการกระทำอิบาดะฮ์ประเภทต่างๆ เช่น การสะญูด การถือศีลอด การบริจาคทาน การอ่านอัลกุรอาน และไม่มีนิอฺมัตใดที่จะยิ่งใหญ่มากไปกว่านิอฺมัตการกำเนิดของท่านนะบีย์ในวันดังกล่าว ผู้เป็นนะบีย์แห่งความเมตตาเมื่อเรายอมรับหลักการดังกล่าว ก็สมควรกำหนดวัน เป็นการเฉพาะเพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องราวของท่านนะบีย์มูซาในวันอาชูรออ และผู้ที่ไม่มีมุมมองดังกล่าว เขาก็จะไม่ใส่ใจการเจาะจงวันในเดือน (ร่อบิอุลเอาวัล) เพื่อการทำเมาลิด แต่มีบางกลุ่มได้เปิดกว้าง โดยพวกเขาได้เคลื่อนย้ายการทำเมาลิดให้อยู่ในวันใดวันหนึ่งภายในปีนั้น และในวันนั้นก็มีการกระทำ (เหมือนกับการทำเมาลิด) ในวัน (ที่สิบสองเดือนร่อบิอุลเอาวัล) ดังนี้ก็คือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับรากฐานของการทำเมาลิดสำหรับสิ่งที่จะนำมาทำเมาลิดนั้น สมควรจำกัดบนการกระทำที่บ่งชี้ถึงการขอบคุณ (ชุโกร) ต่ออัลเลาะฮ์ตามนัยยะที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เช่น การอ่านอัลกุรอาน การเลี้ยงอาหาร การทำทานศ่อดะเกาะฮ์ การอ่านบทกวีที่ยกย่องท่านนะบีย์ และบทกวีที่ทำให้จิตใจไม่หมกมุ่นดุนยาอีกทั้งขับเคลื่อนบรรดาหัวใจให้ไปสู่การกระทำความดีงามและปฏิบัติอิบาดะฮ์เพื่ออาคิเราะฮ์ สำหรับสิ่งที่เสริมตามมาจากสิ่งดังกล่าว เช่น การฟัง (ท่วงทำนองบทกวี) การละเล่น และอื่นๆ สมควรที่จะพูดว่าสิ่งดังกล่าวเป็นเรื่องมุบาห์ เนื่องจากทำให้มีความเบิกบานใจในวันดังกล่าว ก็ถือว่าไม่เป็นไรที่จะนำเข้ามาผนวกไว้ และสิ่งที่ฮะรอมหรือมักโระฮ์ นั้น ก็ต้องถูกห้ามปราม และสิ่งที่คิลาฟเอาลา ก็สมควรถูกห้ามปรามเฉกเช่นเดียวกัน”

• คำฟัตวาของท่านอัลหาฟิซฺ อิหม่าม อัสสุยูฏีย์ (ฮ.ศ. 849 – ฮ.ศ. 911)

ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์ ร่อฮิมะหุลลอฮ์ ได้กล่าวว่า“รากฐานเดิมของการทำเมาลิดนั้น หมายถึง การที่บรรดาผู้คนรวมตัวกัน และมีการอ่านอายะฮ์ที่ง่ายๆ จากอัลกุรอาน มีการเล่าบรรดาหะดิษที่รายงานเกี่ยวกับการเริ่มภารกิจของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการกำเนิดของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จากบรรดาสัญลักษณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และมีการหยิบยื่นอาหารเพื่อพวกเขาจะได้รับประทานกัน แล้วพวกเขาก็แยกย้ายกันไปโดยไม่ได้เพิ่มมากไปกว่าสิ่งดังกล่าว ซึ่งมันเป็นการกระทำที่ถูกริเริ่มขึ้นมาที่ดี ซึ่งผู้ที่กระทำจะได้รับผลบุญ เพราะมันเป็นการให้เกียตริท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และเป็นการแสดงออกซึ่งความปีติยินดีในการประสูติอันมีเกียรติของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม”

• ฟัตวาของท่านชัยคุลอิสลาม อิหม่าม อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ (ฮ.ศ. 909 – ฮ.ศ. 974)

ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุ ฮะญัร อัลฮัยตะมีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮุตะอาลา ได้ถูกถามว่า: ฮุกุ่มเมาลิดและการซิกรุลลอฮ์ที่ผู้คนมากมายได้กระทำในสมัยนี้ เป็นซุนนะฮ์หรือมเป็นคุณความดีหรือเป็นบิดอะฮ์? ถ้าหากพวกท่านกล่าวว่า มันเป็นคุณความดี แล้วมีคำกล่าวของสะลัฟหรือตัวบทจากฮะดีษหรือไม่? และการรวมตัวสำหรับสิ่งที่เป็นบิดอะฮ์มุบาห์ เป็นสิ่งที่อนุญาตหรือไม่? ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุ ฮะญัร อัลฮัยตะมีย์ ได้ตอบว่า:การทำเมาลิดและการซิกรุลลอฮ์ที่ได้กระทำขึ้นมาตามทัศนะของเรานั้น ส่วนมากได้ครอบคลุมถึงความดีงาม เช่น การศ่อดะเกาะฮ์ การซิกรุลลอฮ์ การกล่าวศ่อละวาตและสลาม และการสรรเสริญท่านร่อซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมและการทำเมาลิดย่อมอยู่บนความชั่วได้เหมือนกัน ยิ่งกว่านั้น ยังรวมไว้ซึ่งสิ่งฮะรอมทั้งหลาย ทั้งนี้หากมีการมองกันระหว่างสตรีกับผู้ชายอื่น และบางเมาลิดก็ไม่มีการกระทำสิ่งฮะรอมเกิดขึ้น แต่หากมีก็เป็นไปได้น้อยมาก จึงไม่สงสัยเลยว่า เมาลิดประเภทแรกนั้น เป็นสิ่งที่ต้องห้าม เพราะมีหลักนิติศาสตร์ได้ยืนยันว่าأَنَّ دَرْءَ الْمَفَاسِدِ مُقَدَّمٌ عَلَى جَلْبِ الْمَصَالِحِ“การป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้น ย่อมอยู่ก่อนการได้มาซึ่งผลประโยชน์””ดังนั้นผู้ใดที่ทราบว่ามีความชั่วเกิดขึ้นในสิ่งที่เขาได้กระทำ เขาย่อมเป็นผู้ฝ่าฝืนและกระทำบาป และสมมติว่าเขาได้กระทำความดีงามในเมาลิดดังกล่าว แต่บางครั้งความดีงามไม่สามารถเทียบเท่ากับความชั่วได้ ดังนั้นท่านไม่เห็นดอกหรือว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถือว่าเพียงพอสำหรับการทำความดีงามด้วยสิ่งที่สะดวกเท่าที่สามารถจะกระทำได้ แต่ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ตัดไฟแต่ต้นลมจากสิ่งฮะรอมทั้งหมดทุกประเภท โดยท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่าإِذَا أَمَرْتُكُمْ بِأَمْرٍ فَأْتُوْا مِنْهُ مَا اسْتَطَعْتُمْ ، وَإِذَا نَهَيْتُكُمْ عَنْ شَيْءٍ فَاجْتَنِبُوْهُ“เมื่อฉันได้ใช้พวกท่านด้วยคำสั่งหนึ่ง พวกท่านก็จงนำมันมาปฏิบัติเท่าที่มีความสามารถ และเมื่อฉันได้ห้ามพวกท่านจากสิ่งหนึ่ง พวกท่านก็จงห่างไกลมันเถิด” ดังนั้นท่านจงใคร่ครวญ แล้วจะทราบว่า สิ่งฮะรอมนั้น หากแม้จะน้อยก็ตาม ก็จะไม่ได้รับการผ่อนปรนใดๆ เลย และความดีนั้นเพียงพอด้วยการกระทำสิ่งง่ายๆ และสะดวกเท่าที่สามารถสำหรับเมาลิด ประเภทที่สองนั้น เป็นซุนนะฮ์ เพราะมีบรรดาฮะดีษที่ได้รายงานเกี่ยวกับการซิกรุลลอฮ์ตามนัยยะเฉพาะเจาะจง (มัคศูเศาะฮ์) และนัยยะโดยเปิดกว้าง (อามมะฮ์) เช่นคำกล่าวขอท่านร่อซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่าلاَ يَقْعُدُ قَوْمٌ يَذْكُرُوْنَ اللهَ عَزَّ وَجَلَّ إِلَّا حَفَّتْهُمُ المَلاَئِكَةُ، وَغَشِيَتْهُمُ الرَّحْمَةُ، وَنَزَلَتْ عَلَيْهِمُ السَّكِيْنَةُ، وَذَكَرَهُمُ اللهُ فِيْمَنْ عِنْدَهُ“ไม่มีชนกลุ่ม หนึ่งกลุ่มใดทำการนั่งซิกรุลลอฮ์ อัซซะวะญัลล่า นอกจากว่า บรรดามะลาอิกะฮ์จะห้อมล้อมพวกเขา ความเมตตาจะแผ่คลุมพวกเขา ความสงบสุขก็ได้ลงมาบนพวกเขา และอัลเลาะฮ์ก็ทรงเอ่ยถึงพวกเขาแก่ผู้ที่อยู่ ณ พระองค์ได้มีรายงานจากท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า ท่านได้เคยออกไปยัง วงหนึ่งของบรรดาศ่อฮาบะฮ์ แล้วท่านร่อซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า อะไรที่ทำให้พวกท่านนั่งอยู่กระนั้นหรือ? บรรดาศ่อฮาบะฮ์กล่าวว่า เราได้นั่งเพื่อซิกรุลเลาะฮ์ และทำการสรรเสริญอัลเลาะฮ์ เนื่องจากพระองค์ทรงชี้นำให้เราเข้ารับอิสลามและทรงประทานความโปรดปรานแก่เรา ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวแก่เหล่าศ่อฮาบะฮ์ว่าأَتَانِي جِبْرِيلُ فَأَخْبَرَنِي أَنَّ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ يُبَاهِي بِكُمْ الْمَلَائِكَةَ“ท่านญิบรีลได้มาหาฉัน แล้วบอกกับฉันว่า แท้จริงอัลเลาะฮ์ทรงอวดยกย่องพวกท่านต่อมะลาอิกะฮ์ในสองฮะดีษนี้ เป็นหลักฐานที่บ่งชี้ชัดเจนถึงความประเสริฐของการรวมตัวและนั่ง (ล้อมวง) กระทำความดีงาม และบรรดาผู้นั่งทั้งหลายก็อยู่บนความดีงามเช่นกัน และอัลเลาะฮ์ทรงอวดยกย่องพวกเขาต่อบรรดามะลาอิกะฮ์ ความสงบสุขก็จะลงมาบนพวกเขา ความเมตตาของอัลเลาะฮ์ก็จะห้อมล้อมพวกเขาไว้ และอัลเลาะฮ์ตะอาลา ก็เอ่ยยกย่องพวกเขาต่อบรรดามะลาอิกะฮ์ ดังนั้นไม่มีความประเสริฐใดที่จะมีเกียรติยิ่งกว่านี้อีกแล้ว

สิ่งที่ได้รับจากคำฟัตวาของปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ดังกล่าว คือ

1.การทำเมาลิดเป็นรูปแบบที่ไม่มีในสมัยของท่านนะบีย์และสะละฟุศศอลิห์แต่เนื้องานของเมาลิดมีหลักการจากซุนนะฮ์นะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
2 . การทำเมาลิดมีทั้งรูปแบบที่ดีและรูปแบบที่ไม่ดี รูปแบบที่ดีคือเมาลิดที่ประกอบไปด้วยความดีงามต่างๆ และไม่ขัดกับหลักศาสนา ส่วนเมาลิดรูปแบบที่ไม่ดี คือเมาลิดที่มีสิ่งที่ไม่ดีเข้ามาปะปน
3.เป้าหมายของการทำเมาลิดคือการแสดงความรู้สึกเบิกบานใจและขอบคุณต่ออัลเลาะฮ์เป็นพิเศษอันเนื่องจากพระองค์ทรงให้ท่านนะบีย์กำเนิดมาเพื่อเป็นความเมตตาแก่มนุษย์ชาติ และได้ชี้นำพวกเราทั้งหลายให้อยู่ในทางนำของอัลเลาะฮ์ตะอาลา ความรู้สึกเช่นนี้สมควรมีแก่ผู้ที่ทำเมาลิดทุกคน
4.การทำเมาลิดไม่จำเป็นต้องเจาะจงวันที่สิบสองเดือนร่อบีอุลเอาวัลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ให้กระทำได้ตลอดทั้งปี
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ