เว็บบอร์ด
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

เรื่อง ... ละหมาดเสร็จทำไมถึงลูบหน้า?

Go down

เรื่อง ... ละหมาดเสร็จทำไมถึงลูบหน้า? Empty เรื่อง ... ละหมาดเสร็จทำไมถึงลูบหน้า?

ตั้งหัวข้อ by Profile Sat Aug 16, 2014 11:02 pm

เรื่อง ... ละหมาดเสร็จทำไมถึงลูบหน้า?

โดย.. wbb...


พี่น้องมุสลิม ที่เคารพรัก ทุกท่านครับ

แถวบ้านเราโดยปกติ เมื่อเราเสร็จจากละหมาดโดยการให้สลามแล้วนั้น
เรามักจะใช้ฝ่ามือ ลูบหน้าของเรากันใช่ไหมครับ?

แต่เคยบ้างไหมครับ ที่ครั้งหนึ่ง เราละหมาดใกล้ใครคนหนึ่ง...
แต่กลับไม่เห็นเขาลูบหน้าเลย และยิ่งหากเราอยู่เมืองนอกเมืองนา ที่มีผู้คนหลากหลายมัสฮับ ก็ยิ่งไม่ค่อยเห็นไปกันใหญ่
แล้วตกลงว่าเรื่องนี้เราจะว่าอย่างไรกันดีครับ?

จะเป็นการดีไหมครับพี่น้อง หากว่าเราลองศึกษาความเป็นมาของการลูบหน้า
ที่ครูบาอาจารย์ของเราได้สั่งสอนสืบต่อกันมาจนถึงเราท่านในปัจจุบันนี้ให้ละเอียดถ่องแท้กัน เพื่อที่การปฏิบัติของเราจะได้มีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น ?


แต่ก่อนอื่นผมต้องขอบอก พี่น้อง เกริ่นไว้ก่อน นะครับว่า...

เรื่องของการลูบหน้านั้น เป็นหนึ่งในเรื่องราวปลีกย่อยทางศาสนา ที่บรรดาปวงปราชญ์ได้มีทรรศนะที่แตกต่างกันไป..

และเมื่อมันเป็นเรื่องต่างทรรศนะ ของปวงปราชญ์ในอดีต มันก็ยังคงเป็นเรื่องต่างทรรศนะ จนถึงปัจจุบัน และ จวบจนวันกียามัต เลยก็ว่าได้

แต่ถึงกระนั้น สำหรับเรื่องทรรศนะที่แตกต่างกันนี้ เราผู้เป็นมุสลิมควรเปิดใจกว้างเพื่อรับความเห็นต่างที่เกิดขึ้น...

และอย่าได้นำเอาประเด็นปลีกย่อยเหล่านี้ มาเป็นชนวนในการดูหมิ่นดูแคลนผู้ที่ปฏิบัติต่างจากเรานะครับ...

และทางที่ดีที่สุดก็คือ เปิดใจศึกษา ถึงแนวทางในการตัดสินตลอดจนคำวินิจฉัยของปวงปราชญ์ในอดีต เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้กระจ่างก่อนที่เราตัดสินใจสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไปนะครับ...


อยากจะฝากพี่น้องร่วมศาสนาทั้งหลายสักนิดว่า เมื่อเราได้ประสบพบเจอเรื่องราวต่างๆ ที่บรรดาอุลามะอ์ในอดีตได้แสดงความเห็นที่ต่างกันเอาไว้
(ซึ่งนับรวมเรื่องการลูบหน้านี้ด้วย) บรรดานักวิชาการศาสนา(ที่ดี)จะไม่ตำหนิหรือคัดค้านทรรศนะของนักวิชาการท่านอื่นที่ไม่ตรงกับทรรศนะของตน...

เราไม่เคยได้รับทราบมาเลยว่า...บรรดาปวงปราชญ์(อะลิสซุนนะฮ์) นามอุโฆษ
ในอดีตได้กล่าวตำหนิ หรือ คัดค้านทรรศนะ ของผู้อื่นอย่างหัวชนฝา รวมถึงการ ใช้วาจาที่ล่วงเกินทรรศนะของผู้อื่นเลย...

ฉะนั้น เราชนผู้ด้อยความรู้ จึงสมควรถือเป็นแบบอย่างและกำหนดเป็นบรรทัดฐานชีวิต ในการเผชิญเรื่องราวคีลาฟต่างๆที่เกิดขึ้น โดย ไม่กล่าวหาการกระทำของผู้อื่น ว่า ฮารอม บิดอะฮฺ อะไรเหล่านี้เป็นต้น (ดังที่ปรากฏในสาธารณชนบางกลุ่มในปัจจุบัน)


อันดับแรกอยากจะนำเสนอตำราทางศาสนาที่แพร่หลายกันมากในสังคมบ้านเรา ซึ่งหากเอ่ยถึงก็คงมีน้อยคนนักที่ไม่รู้จัก

“มุนยาตุน มูศอลลี “ ของ ปราชญ์ท่านหนึ่งแห่งเอเชียอาคเนย์ ในอดีต
ซึ่งท่านถือได้ว่าเป็นที่รู้จักในโลกอิสลามส่วนใหญ่ในสมัยนั้นเลยทีเดียว
นั่นก็คือ ท่าน เชค วัน ดาวุด บิน อับดุลลอฮ์ อัลฟาฏอนีย์ (ร.ฮ) ( ฮ.ศ1183-1263 )

ท่าน เชค ดาวุด ได้กล่าวไว้ ความว่า


“ อนึ่งสิ่งที่ สุนัต(ส่งเสริมให้กระทำ) ภายหลังจากการละหมาดนั้นก็คือ การลูบหน้าหลังละหมาด สืบเนื่องจากท่านศาสดา(ซอลลัลลอฮูอาลัยฮีวาซัลลัม) เมื่อท่านได้เสร็จสิ้นจากการละหมาดนั้น ท่านได้ลูบศีรษะของท่านด้วยมือ(ขวา) ของท่าน และท่านได้กล่าวว่า

بسم الله الذي لا إله إلا هو الرحمن الرحيم. اللهم اذهب عني الهم و الحزن

ความว่า

“ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ ซึ่งไม่มีพระเจ้า(อันคู่ควรแก่การภักดี)นอกจากพระองค์(เท่านั้น) ผู้ทรงเมตตายิ่ง ผู้ทรงปรานีเสมอ ข้าแด่ อัลลอฮ์ ขอพระองค์ท่าน ทรงขจัดความ ระทมและความเศร้าโศก ไปจากฉันเถิด “

(โปรดดู “มุนยาตุน มูศอลลี” หน้าที่ 18)

ครับ... มาถึงตรงนี้ หลายท่าน อาจจะกล่าวว่า ก็แค่ ตำราภาษามลายูเล่มเล็กๆ จะเอามาอ้างอิงอะไรได้

ก็ไม่เป็นไรครับ บางทีท่านอาจจะยังไม่รู้จัก ปราชญ์เจ้าของตำราเล่มดังกล่าวดีพอ

ถ้างั้นก็ขออ้างอิง ตำราอาหรับสักเล่มหนึ่งก็แล้วกันนะครับ ตำราเล่มนี้มีชื่อว่า

“ บุฆยะตุลมุรตาชีดีน” เรียบเรียงโดยท่าน

ซัยยิด อับดุรรอฮ์มาน บิน มูฮัมหมัด อัลบาอาลาวีย์ (ฮ.ศ 1250-1320 ) ปราชญ์สังกัด ชาฟีอีย์ ท่านหนึ่ง แห่งเมืองยะมัน(เยเมน) และยังเป็นถึง มุฟตี

(ผู้ตัดสินปัญหาศาสนา) แห่งเมืองต่างๆในแคว้น ฮาฎอรอเมาต์ ด้วย ...
ท่านได้กล่าวไว้ว่า ความว่า

“(คุณประโยชน์อันหนึ่ง) ได้มีสายรายงานมาจาก อิบนิ มันศูร ว่า แท้จริง
ท่านศาสดา(ซอลลัลลอฮูอาลัยฮีวาซัลลัม) เมื่อท่านได้ เสร็จสิ้น จากการละหมาด ท่านได้ลูบหน้าผากของท่านด้วยฝ่ามือด้านขวา จากนั้น ท่านได้เคลื่อนมันลงมายังหน้าของท่าน จนกระทั่งถึง เคราอันมีเกียรติของท่าน และท่านได้กล่าวว่า

بسم الله الذي لا إله إلا هو عالم الغيب و الشهادة الرحمن الرحيم اللهم أذهب عني الهم و الحزن و الغم
اللهم بحمدك انصرفت و بذنبي اعترفت أعوذ بك من شر ما اقترفت و أعوذ بك من جهد بلاء الدنيا و عذاب الآخرة

ความว่า

“ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ ผู้ซึ่งไม่มีพระเจ้า(ที่ควรแก่การภักดี)นอกจากพระองค์ เท่านั้น ผู้ทรงรอบรู้ ถึงสิ่งที่เร้นลับและสิ่งที่เปิดเผย ผู้ทรงเมตตายิ่ง ผู้ทรงปรานีเสมอ ข้าแด่อัลลอฮ์... ขอท่านจง ขจัด ความ ระทม และ ความเศร้าโศก และความเสียใจไปจากฉันเถิด... ข้าแด่อัลลอฮ์ ด้วย(เหตุแห่ง)การสรรเสริญพระองค์(เท่านั้น) ที่ฉันผินห่าง(จากความเลวร้าย) และด้วย(เหตุแห่ง)บาปของฉันที่ฉันยอมจำนน ฉันขอความคุ้มครองกับพระองค์ จากความชั่วที่ฉันกระทำ และฉันขอความคุ้มครองจากพระองค์จากความลำบากแห่งการลงโทษในโลกนี้ และการลงทัณฑ์ในวันปรโลก"

(โปรดดู “บุฆยะตุลมุรตาชีดีน” หน้าที่ 49 )

ท่าน อีหม่าม อัล-นาวาวี (ร.ฮ) ( ฮ.ศ. 631-676 ) ได้บันทึกฮาดีษบทหนึ่งไว้ใน หนังสือ “ อัล-อัซการ์ ” ของท่าน ว่า

وروينا في كتاب ابن السني ، عن أنس رضي الله عنه ، قال : كان رسول الله صلى الله عليه وسلم إذا قضى صلاته مسح جبهته بيده اليمنى ، ثم قال : أشهد أن لا إله إلا الله الرحمن الرحيم ، اللهم أذهب عني الهم والحزن

ความว่า

“และเรา(เหล่านักวิชาการฮ่าดีษ) ได้รายงานในตำราของ อิบนิซ ซุนนีย์ สืบสายรายงานจากท่าน อานัส (บิน มาลิก)(ร.ฎ) ท่านได้กล่าวว่า
“ ท่านศาสดา(ซอลลัลลอฮูอาลัยฮีวาซัลลัม)นั้น เมื่อท่านได้เสร็จสิ้น จากการละหมาดแล้ว ท่านจะทำการลูบหน้าผากของท่าน ด้วยฝ่ามือด้านขวาของท่าน จากนั้น ท่านได้กล่าวว่า
“ ข้าขอปฏิญาณตน ว่า ไม่มีพระเจ้า(อันควรภักดี)อื่นใดนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น ผู้ทรงเมตตายิ่ง ผู้ทรงปราณีเสมอ
โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงขจัดความ หม่นหมองและความโศกเศร้าไปจากฉันเถิด”

(โปรดดู “อัล-อัซการฺ ลิล นาวาวีย์” หน้าที่ 69 )

และยังมีตำราวิชาการของสังกัด มัสฮับ ชาฟีอีย์ อีกมากมายที่ได้นำเสนอเรื่องดังกล่าว ซึ่งผมคิดว่า คงเพียงพอแล้วสำหรับผู้ที่ สังกัด มัสฮับชาฟีอีย์ ที่จะรับทราบ

พี่น้องครับ...

นอกเหนือจากฮาดีษ ของอิบนุซซุนนีย์ ที่ท่านอีหม่าม นาวาวีย์ (ร.ฮ) ได้บันทึกไว้ ยังมีอีกหลายตัวบทที่มาในลักษณะที่คล้ายๆกัน กับฮาดีษ ของอิบนุซซุนนีย์นี้ เช่น

สายรายงานของ ท่าน ฮัมดานีย์ (ฮ.ศ131 )

สายรายงานของ ท่าน อัสลัม บิน ซะฮฺล ( ฮ.ศ292)

สายรายงานของ ท่าน อิหม่ามฏอบรอนีย์ ( ฮ.ศ360)

สายรายงานของ ท่าน อาบูนูอีม (ฮ.ศ 430)

สายรายงานของ ท่าน อัลคอฏีบบฺ อัลบัฆดาดีย์ (ฮ.ศ 463 )



ซึ่งสถานะของฮาดีษ ต่างๆที่ได้กล่าวมานั้น บรรดาปวงปราชญ์ก็ได้มีทรรศนะที่แตกต่างกันไป ซึ่งตัวบทที่เป็นที่ขัดแย้งกันนั้น ก็มีหลายฮาดีษด้วยกัน

เช่น รายงานของ อิบนุซ ซุนนีย์ ซึ่งท่านได้บันทึกเอาไว้ใน ตำราของท่านชื่อว่า “ อามัล อัลเยามฺ วา ลัยละฮฺ “ ดังนี้

أَخْبَرَنَا سَلْمُ بْنُ مُعَاذ ، حَدَّثَنَا حَمَّادُ بْنُ الْحَسَنِ بْنِ عَنْبَسَةَ ، حَدَّثَنَا أَبُو عُمَرَ الْحَوْضِيُّ ، حَدَّثَنَا سَلامٌ الْمَدَائِنِيُّ ، عَنْ زَيْدٍ الْعَمِّيّ ، عَنْ مُعَاوِيَةَ بْنِ قُرَّةَ ،

عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ ، قَالَ : كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا قَضَى صَلاتَهُ مَسَحَ جَبْهَتَهُ بِيَدِهِ الْيُمْنَى ، ثُمَّ قَالَ : " أَشْهَدُ أَنْ لا إِلَهَ إِلا اللَّهُ الرَّحْمَنُ الرَّحِيمُ ، اللَّهُمَّ أَذْهِبْ عَنِّي الْهَمَّ وَالْحَزَنَ

และยังมี สายรายงานในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ของท่าน อาบูนูอัยมฺ ในตำราของท่านที่ชื่อว่า “ ฮิลยะฮ์ อัลเอาลียาอฺ” ดังนี้

حَدَّثَنَا فَارُوقٌ الْخَطَّابِيُّ ، قَالَ : ثنا أَبُو مُسْلِمٍ الْكَشِّيُّ ، قَالَ : ثنا أَبُو عُمَرَ الْحَوْضِيُّ ، قَالَ : ثنا سَلامٌ الطَّوِيلُ ، قَالَ : ثنا زَيْدٌ الْعَمِّيُّ ، عَنْ مُعَاوِيَةَ بنِ قُرَّةَ ،

عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ ، قَالَ :
كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا سَلَّمَ مِنْ صَلاتِهِ ، مَسَحَ جَبْهَتَهُ بِيَدِهِ الْيُمْنَى ، وَقَالَ :
" بِسْمِ اللَّهِ الَّذِي لا إِلَهَ إِلا هُوَ الرَّحْمَنُ الرَّحِيمُ ، اللَّهُمَّ أَذْهِبْ عَنِّي الْهَمَّ وَالْحَزَنَ

และหากเราได้พิจารณา ในส่วนของ ฮาดีษ อาบู นูอัยมฺ แล้ว...
ถึงแม้ว่าฮาดีษ ของท่าน จะ มีลักษณะ มัรฟุอฺ (คือยกขึ้นพาดพิงไปยังนาบี )แต่สถานะของฮาดีษบทนี้ ยังถือว่า “ ฎออีฟ ” เนื่องจากปรากฏผู้รายงานท่านหนึ่ง
(ในจำนวนผู้รายงานทั้งหมด) ที่มี ชื่อว่า เซดดฺ อัลอามีย์ ซึ่งนักวิชาการฮาดีษส่วนใหญ่ ตัดสินว่า ท่านนั้นปราศจากความ ซิกเกาะฮ์(เป็นที่เชื่อถือ)

ถึงกระนั้นก็ตาม ก็ยังมี นักวิชาการฮาดีษ บางท่านให้การยอมรับในตัวท่าน
เซดดฺ อัลอามีย์ นี้ เช่น

ท่าน อิสฮาก บิน อีซา อัตติบาอฺ เป็นต้น...

แต่เนื่องจากนักวิชาการฮาดีษ ส่วนใหญ่ได้ตัดสิน ว่า ผู้รายงาน ฮาดีษ คนหนึ่ง มีสภาพที่ ฎออีฟ ดังนั้น ตัวบทฮาดีษดังกล่าวจึง มีสถานะที่ ฎออีฟ ไปโดยปริยาย



และยังมีปรากฏในสายรายงานของท่าน อีหม่าม อัลคอตีบบฺ-อัลบุฆดาดีย์ ในหนังสือ ตารีคค์ ของท่านดังนี้

أَخْبَرَنَا عَبْدُ الْمَلِكِ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ الْوَاعِظُ ، قَالَ : أَخْبَرَنَا عُمَرُ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ عَبْدِ الرَّحْمَنِ الْجُمَحِيُّ بِمَكَّةَ ، قَالَ : حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنُ عَبْدِ الْعَزِيزِ ، قَالَ : حَدَّثَنَا أَحْمَدُ بْنُ يُونُسَ ، قَالَ : حَدَّثَنِي كَثِيرُ بْنُ سُلَيْمٍ أَبُو سَلَمَةَ ، شَيْخٌ لَقِيتُهُ بِالْمَدَائِنِ ، قَالَ :

سَمِعْتُ أَنَسًا ، يَقُولُ : كَانَ نَبِيُّ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا صَلَّى مَسَحَ بِيَدِهِ الْيُمْنَى عَلَى رَأْسِهِ ، وَيَقُولُ :
" بِسْمِ اللَّهِ الَّذِي لا إِلَهَ غَيْرُهُ الرَّحْمَنُ الرَّحِيمُ ، اللَّهُمَّ أَذْهِبْ عَنِّي الْهَمَّ وَالْحَزَنَ

ฮาดีษบทนี้ก็มีสถานะเช่นเดียวกับฮาดีษของ อาบูนุอัยมฺ ข้างต้น กล่าวคือ
นักวิชาการฮาดีษได้กำหนดถึงความ ฎออีฟของมัน เอาไว้เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ เนื่องจากปรากฏผู้รายงานท่านหนึ่งนามว่า กาษีร บิน สุลัยม์
ซึ่งนักวิชาการฮาดีษส่วนใหญ่ยังคงมีข้อกังขาในสถานะของท่านผู้นี้...

ท่าน อีหม่าม อัฏ- ฏอบรอนีย์ ได้บันทึกฮาดีษเกี่ยวกับเรื่องการลูบหน้าดังกล่าว ไว้ในตำรา “อัดดุอาอฺ” ของท่านดังนี้

حَدَّثَنَا بَكْرُ بْنُ سَهْلٍ الدِّمْيَاطِيُّ ، ثنا عَبْدُ اللَّهِ بْنُ صَالِحٍ ، حَدَّثَنِي كَثِيرُ بْنُ سُلَيْمٍ ، عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ ،
أَنّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ إِذَا صَلَّى وَفَرَغَ مِنْ صَلاتِهِ مَسَحَ بِيَمِينِهِ عَلَى رَأْسِهِ ، وَقَالَ :
" بِسْمِ اللَّهِ الَّذِي لا إِلَهَ غَيْرُهُ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ ، اللَّهُمَّ أَذْهِبْ عَنِّي الْهَمَّ وَالْحَزَنَ "

และยังมีอีกหลาย ตัวบทฮาดีษที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับฮาดีษบทนี้

เช่น ฮาดีษที่บันทึกโดย ท่าน อาบูอะฮฺหมัด อัลญุรญานีย์ , ท่าน ยะฮ์ยา บิน ฮูเซ็น อัลญุรญานีย์ , ท่านอิบนุซัมอูน เป็นต้น

และ ถึงแม้ ตัวบทของฮาดีษที่กล่าวมาข้างต้นนั้น อาจจะมีสถานะที่ “ฎออีฟ”
ก็ตาม แต่ด้วยสายรายงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ที่มีอยู่เป็น จำนวนมาก ก็ได้หนุนสถานะ ของ ฮาดีษ ให้สูงขึ้นในระดับหนึ่ง...

ยังมีสายรายงาน ฮาดีษเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว อีกบทหนึ่ง ที่ดูแล้วค่อนข้างจะแตกต่างกับฮาดีษ ที่กล่าวมาข้างต้นพอสมควร นั้นก็คือ ฮาดีษที่ได้ ทำการบันทึก โดย อาบูนุอัยม์ ในตำราของท่าน ที่มีชื่อว่า “อัคบาร อัซบาฮาน” ดังนี้

.

ثنا عَبْدُ الرَّحْمَنِ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ حَمَّادٍ الطِّهْرَانِيُّ ، ثنا الْحَسَنُ بْنُ يَزِيدَ الْجَصَّاصُ ، ثنا دَاوُدُ بْنُ الْمُحَبَّر ، ثنا الْعَبَّاسُ بْنُ رَزِينٍ السُّلَمِيُّ ، عَنْ جُلاسِ بْنِ عَمْرٍو ، عَنْ ثَابِتٍ الْبُنَانِيِّ ، عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ ، قَالَ :

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا قَضَى صَلاتَهُ مَسَحَ جَبْهَتَهُ بِكَفِّهِ الْيُمْنَى ، ثُمَّ أَمَرَّهَا عَلَى وَجْهِهِ حَتَّى يَأْتِيَ بِهَا عَلَى لِحْيَتِهِ وَيَقُولُ :
" بِسْمِ اللَّهِ الَّذِي لا إِلَهَ إِلا هُوَ عَالِمُ الْغَيْبِ وَالشَّهَادَةِ الرَّحْمَنُ الرَّحِيمُ ، اللَّهُمَّ أَذْهِبْ عَنِّي الْغَمَّ وَالْحَزَنَ وَالْهَمَّ ، اللَّهُمَّ بِحَمْدِكَ انْصَرَفْتُ وَبِذَنْبِي اعْتَرَفْتُ ، أَعُوذُ بِكَ مِنْ شَرِّ مَا اقْتَرَفْتُ ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْ جَهْدِ بَلاءِ الدُّنْيَا وَمِنْ عَذَابِ الآخِرَةِ "

ฮาดีษ บทนี้ ได้ระบุ ว่า ท่านศาสดา (ศอลลัลลอฮูอาลัยฮิวาซัลลัม) ได้
ทำการลูบหน้าผากของท่าน แล้วเลื่อนจงมาสู่ใบหน้าและสิ้นสุด ที่เคราของท่าน หลังจากนั้น ก็ได้อ่าน ดุอาที่ ยาวกว่า ในฮาดีษ อีกหลายๆบท ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้

ถึงกระนั้น ฮาดีษ บทดังกล่าว บรรดาอุลามะอฺฮาดีษ ก็ยังจัดมันอยู่ ใน สถานะ ที่ ฎออีฟ เนื่องจากปรากฏ ผู้รายงาน ท่านหนึ่ง นามว่า ดาวูด บิน อัล-มุฮับบัร ที่นักวิชาการ ฮาดีษ ยังคงมีความเห็นที่ต่างกัน ในสถานะของเขา

แต่กล่าวโดยสรุปแล้วก็คือ ไม่มีอุลามะอฺฮาดีษท่านใดที่ ตัดสินว่า ฮาดีษข้างต้นนั้น “เมาวฺฎูอฺ” (กุขึ้นมาเองแล้วอ้างว่าท่านนบีกล่าว) ออ...ลืมไปครับ มีท่าน อัล-บานีย์ เพียงคนเดียวที่ บอกว่า ฮาดีษ นั้น เป็นของเก๊...


และแม้ว่า ฮาดีษที่ได้กล่าวผ่านพ้นมานั้น ค่อนข้างที่จะ ฎออีฟ สักทีก็ตาม
แต่เนื่องจากสายรายงาน ที่ปรากฏ อยู่อย่างมากมายนั้น กลับเสริมสถานะของ ฮาดีษดังกล่าวขึ้น จนอาจกล่าวได้ว่า เป็น ฮาดีษ “ฮาซัน ลิฆัยริฮี”



ด้วยเหตุนี้เอง บรรดาปราชญ์ในสังกัด ชาฟีอีย์ หลายๆท่าน เช่น อีหม่าม อิบนุฮาญัร อัลฮัยตามีย์ เป็นต้น ได้ยึดถือ ฮ่าดีษเหล่านี้ ในการ กำหนด ความเป็นสุนัต ของการลูบหน้า ภายหลังจากสลามเมื่อเสร็จสิ้น การละหมาด

นอกเหนือจากฮาดีษข้างต้นทั้งหมดแล้ว ยังมีอีก สายรายงานหนึ่ง ซึ่งสืบกระแสรายงานไปจนถึงท่าน อัมรฺ บิน กอยซฺ และถือได้ว่า ผู้รายงานฮ่าดีษนี้ ทั้งหมด เป็นที่เชื่อถือได้ในหมู่แวดวง นักวิชาการฮาดีษ

ฮาดีษที่ว่านี้ ก็คือ

ثنا عَمَّارُ بْنُ خَالِدٍ ، عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ يَزِيدَ ، عَنْ عَنْبَسَةَ بْنِ عَبْدِ الْوَاحِدِ الْوَاسِطِيِّ ، عَنْ عَمْرِو بْنِ قَيْسٍ ،
قَالَ : كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا انْصَرَفَ مِنْ صَلاتِهِ مَسَحَ جَبْهَتَهُ بِيَدِهِ الْيُمْنَى ، وَقَالَ :
" بِسْمِ اللَّهِ الَّذِي لا إِلَهَ إِلا هُوَ عَالِمِ الْغَيْبِ وَالشَّهَادَةِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ ، اللَّهُمَّ أَذْهِبْ عَنِّيَ الْهَمَّ وَالْحَزَنَ

ผู้รายงานในฮาดีษบทนี้ คือ

1. ท่าน อัสลัม บิน ซะฮฺล(ผู้บันทึก ฮาดีษ)

2. ท่าน อัมมัร บิน คอลิด

3. ท่าน มุฮัมหมัด บิน ยาซีด

4. ท่าน อันบาซะอฺ บิน อับดุลวาลีด อัลวาซีฏีย์

5. ท่าน อัมรฺ บินกอยซฺ (ตาบีอียฺ)

และหากมีผู้กล่าวว่า ท่าน อันบาซะอฺ บิน อับดุลวาลีด นั้น ไม่มีความน่าเชื่อถือ ก็อยากเรียนให้ทราบว่า ท่าน อาบูฮาติม , ท่าน อาบู ดาวูด , ท่าน อาบู ซุรรอฮ์, อีหม่าม อะฮ์หมัด , อิบนุ ฮาญัร อัล-อัสกอล่านีย์ ,ท่าน ยะฮ์ยา บิน มาอิน และอีกหลายๆ ท่าน ได้ให้การยืนยันว่า ท่าน อันบาซะอ์ นี้ เชื่อถือได้...

หากเป็นเช่นนั้น ฮาดีษ บทนี้ ก็จัดอยู่ในประเภท ฮาดีษ มุรซัล ซึ่ง สามารถ
นำมาอ้างอิงบทบัญญัติได้ ตามทรรศนะ ของสังกัด อิหม่าม มาลิก(มาลิกี )
และ ฮัมบาลี และโดยประกอบกับเงื่อนไขบางประการ ในมัสฮับชาฟีอีย์

และเกือบจะเป็นไม่ได้เลย ที่ ท่าน อัมร์ บิน กอยซ์ ซึ่งเป็นตาบีอีย์
(ที่ร่วมสมัยและศึกษากับ ศอฮาบัต) ท่านนี้ จะทำการ อุปโลกน์ฮาดีษ ขึ้นมาแล้ว แอบอ้างไปยัง ท่านศาสดา (ศอลลัลลอฮูอาลัยฮิวาซัลลัม)


เพียงแค่ว่า ท่าน ไม่ได้ระบุ นาม ของ ศอฮาบัต ที่ท่าน รับฮาดีษ มาเท่านั้นเอง...

เดี๋ยวบทความนี้จะยาวเกินไป จึงขอสรุปเลยละกันนะครับ...

ฮาดีษ ที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนั้น โดยส่วนมากแล้ว จะจัดอยู่ใน สถานะที่ ฎออีฟ ก็จริงอยู่ แต่เนื่องจากสายรายงาน ที่เกี่ยวกับเรื่องการลูบหน้า นั้นมีอยู่มากมาย จึงเสริมให้ สถานะของฮาดีษ นั้น มีน้ำหนักขึ้นมาในลำดับหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ บรรดาปวงปราชญ์หลายๆท่าน (โดยเฉพาะสังกัดชาฟีอีย์) จึงไม่ปล่อยให้
ฮาดีษทั้งหลายนั้นสูญเปล่าไป โดยกำหนด บทบัญญัติ สุนัต(ส่งเสริมให้กระทำ) การลูบหน้า หลังสลามเมื่อเสร็จละหมาด ซึ่งผู้ปฏิบัติ จะได้รับภาคผลและหากละทิ้งก็ไมถือว่าเกิดโทษแต่ประการใด

ขอพี่น้องพึงสังวรว่า...

บทบัญญัติดังกล่าวได้วางอยู่บน ทรรศนะที่แตกต่างกันของ อุลามะอ์ ซึ่งหากเราคิดจะปฏิบัติ ก็นับว่าเป็นทางเลือกที่ดี ที่จะปฏิบัติคุณความดี อันวางรากฐาน อยู่บนหลักอ้างอิงของเหล่าปวงปราชญ์



หากไม่คิดปฏิบัติตาม ก็ไม่ถือว่าเสื่อมเสียแต่ประการใด เนื่องจากมันได้ถูกกำหนดเป็นเพียงแค่สุนัต เท่านั้น

แต่ที่ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งก็คือ การนำสิ่งดังกล่าวมาเป็นชนวนกล่าวหาผู้อื่นว่า บิดอะฮ์บ้าง , หลงผิด บ้างต่างๆนานา

อันจะก่อให้เกิดความร้าวฉานขึ้นในสังคมโดยใช่เหตุ...

...เปิดใจบ้างก็ดีนะครับ...

.....wbb...

Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ