เว็บบอร์ด
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ต่อไปนี้จะเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานแล้วมอบฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิด

Go down

ต่อไปนี้จะเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานแล้วมอบฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิด Empty ต่อไปนี้จะเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานแล้วมอบฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิด

ตั้งหัวข้อ by Profile Wed Aug 26, 2015 1:14 am

วิภาษบทความ อ.ปราโมทย์ เรื่องอุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย By: al-azhary Date: ก.พ. 12, 2009, 07:17 AM
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛

ต่อไปนี้จะเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานแล้วมอบฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิดตามทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮ์และท่านอิบนุก็อยยิม  ซึ่ง อ.ปราโมทย์  พยายามเข้าใจคำพูดของท่านทั้งสองเพียงแค่บางบท  และตัดทอนอีกบางส่วน  ดังนั้นผมจะจับประเด็นหลัก ๆ ที่สำคัญอย่างยิ่งยวด  เพื่อพยายามสร้างความเข้าใจ (ไม่ใช่คาดคั้นบีบบังคับ) เกี่ยวกับประเด็นปัญหานี้  

อ.ปราโมทย์  กล่าวว่า

ผมขอกล่าวว่าก็ท่านอิบนุตัยมียะฮ์เองมิใช่หรือที่ได้บันทึกคำพูดของท่านอิหม่ามอะห์มัดในหนังสือ “อัล-อิคติยารอต อัล-อิลมียะฮ์” หน้า 54 ว่า ...

وَلَمْ يَكُنْ مِنْ عَادَةِ السَّلَفِ إِذَا صَلَّوْا تَطَوُّعًا، أَوْصَامُوْا تَطَوُّعًا، أَوْحَجُّوْا تَطَوُّعًا، أَوْقَرَؤُوْاالْقُرْآنَ يُهْدُوْنَ ثَوَابَ ذَلِكَ إِلَى أَمْوَاتِ الْمُسْلِمِيْنَ، فَلاَ يَنْبَغِىْ الْعُدُوْلُ عَنْ طَرِيْقَةِ السَّلَفِ،  فَإِنَّهُ أَفْضَلُ وَأَكْمَلُ ...

“และไม่เคยมีปรากฏแบบอย่างหรือธรรมเนียมของชาวสะลัฟว่า เมื่อพวกเขานมาซสุนัต, ถือศีลอดสุนัต, ทำหัจญ์สุนัตหรืออ่านอัล-กุรฺอ่านแล้ว พวกเขาจะฮะดียะฮ์(อุทิศ)ผลบุญของสิ่งดังกล่าว ให้แก่บรรดามุสลิมที่ล่วงลับไปแล้วแต่ประการใด  ดังนั้นจึงไม่ควรหันเหออกจากแนวทางสะลัฟเหล่านี้ เพราะมันเป็นแนวทางที่ประเสริฐที่สุด และสมบูรณ์เพียบพร้อมที่สุดแล้ว” ...

คำพูดข้างต้นนี้ คือการยอมรับว่า การอ่านอัล-กุรฺอ่านอุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตายนั้น ไม่ใช่เป็นการกระทำของชาวสะลัฟ, และแนวทางของสะลัฟ(ไม่อุทิศผลบุญการอ่านอัล-กุรฺอ่านให้ผู้ตายคนใด) ถือเป็นแนวทางที่ดีเลิศที่สุดและสมบูรณ์แบบที่สุด ...

จึงอยากจะถาม อ.อัชอะรีย์ว่า ระหว่างผมกับท่าน  ใครกันแน่คือผู้ปฏิบัติตามแนวทางสะลัฟในเรื่องนี้ ?? ...

ข้อโต้แย้ง

สิ่งที่ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวนั้น  ในแง่ของรูปแบบการรวมตัวของบรรดาผู้มาปลอบใจแล้วทำการอ่านอัลกุรอาน  มิใช่หมายความว่าสะลัฟปฏิเสธการฮะดียะฮ์การอ่านอัลกุรอ่านแก่ผู้ตาย  ดังนั้นการที่ อ.ปราโมทย์  กล่าววงเล็บว่า  "ไม่อุทิศผลบุญการอ่านอัลกุรอานให้ผู้ตายคนใด"  ซึ่งเป็นคำพูดที่ไม่รอบคอบอีกทั้งเพื่อลากความเข้าใจให้เป็นไปตามที่ อ.ปราโมทย์จะเอานั่นเอง  

ท่านอิบนุก็อยยิม  ศิษย์เอกของท่านอิบนุตัยมียะฮ์  ได้กล่าวว่า

 وَاخْتَلَفُوْا فِي العِبَادَةِ البَدَنِيَّةِ كَالصَّوْمِ وَالصَّلاَةِ وَقِرَاءَةِ القُرْآنِ وَالذِّكْرِ فَمَذْهَبُ الإِمَامِ أَحْمَدَ وَجُمْهُوْرِ السَّلَفِ وُصُوْلُهَا وَهُوَ قَوْلُ بَعْضِ أَصْحَابِ أَبِى حَنِيْفَةِ نَصَّ عَلىَ هَذَا الِإمَامُ أَحْمَدُ فِيْ رِوَايَةِ مُحَمَّدِ بْنِ يَحْيىَ الْكَحَّالِ قَالَ قِيْلَ لِأَبِىْ عَبْدِ اللهِ الرَّجُلُ يَعْمَلُ الشَّيْءَ مِنَ الخَيْرِ مِنْ صَلاَةٍ أَوْ صَدَقَةٍ أَوْ غَيْرِ ذَلِكَ فَيَجْعَلُ نِصْفَهُ لِأَبِيْهِ أَوْ لِأُمِّهِ قَالَ أَرْجُوْ أَوْ قَالَ الْمَيِّتُ يَصِلُ إِلِيْهِ كُلُّ شَيْءٍ مِنْ صَدَقَةٍ أَوْ غَيْرِهَا وَقَالَ أَيْضاً اِقْرَأْ آَيَةَ الْكُرْسِيِّ ثَلاَثَ مَرَّاتٍ وَقُلْ هُوَ اللهُ أَحَدٌ وَقُلِ اللَّهُمَّ إِنْ فَضْلَهُ لِأَهْلِ المَقَابِرِ

ท่าน อิบนุก๊อยยิม  ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า  "บรรดานักปราชญ์ได้ขัดแย้งเกี่ยวกับอิบาดะฮ์ที่กระทำด้วยร่างกาย  เช่น  การถือศีลอด  การละหมาด   การอ่านอัลกุรอาน  และการซิกรุลลอฮ์   ท่านอิมามอะห์มัด  และปราชญ์สะลัฟส่วนมาก  มีทัศนะว่า  ผลบุญการถือศีลอด  การละหมาด  การอ่านอัลกุรอาน  การซิกรุลลอฮ์  นั้นถึงผู้ตาย  และมันยังเป็นทัศนะบางส่วนของสานุศิษย์อิมามอบูหะนีฟะฮ์  และท่านอิมามอะห์มัดได้กล่าวระบุไว้ในสายรายงานของมุฮัมมัด บิน อะห์มัด  อัลกะห์ฮาล  เขากล่าวว่า  "ได้กล่าวถามแก่ท่านอบีอับดิลลาฮ์ (คือท่านอิมามอะห์มัด) ว่า  ชายคนหนึ่งได้กระทำความดี  จากการละหมาด  การซอดาเกาะฮ์  และอื่น ๆ   แล้วมอบผลบุญครึ่งหนึ่งให้แก่บิดาหรือมารดาของเขา  ท่านอิมามอะห์มัดตอบว่า  "ฉันหวัง(ว่าผลบุญนั้นถึงมัยยิด)"  หรือท่านอิมามอะห์มัดกล่าวว่า "ทุก ๆ สิ่งจากการซอดาเกาะฮ์และอื่น ๆ นั้น  ผลบุญจะถึงแก่มัยยิด"  และท่านอิมามอะห์มัดกล่าวเช่นเดียวกันว่า "ท่านจงอ่านอายะฮ์กุรซีย์ 3 ครั้ง  ท่านกุลฮุวัลลอฮุอะฮัด  และท่านจงกล่าวว่า  "โอ้ผู้อภิบาลแห่งข้า  ความดีงามของมันนั้น  มอบแด่บรรดาชาวกุบูร"    หนังสือ  อัรรั๊วะห์  ของท่านอิบนุก๊อยยิม  1/117

จากหนังสือของอัรรั๊วะห์ของท่านอิบนุก็อยยิม  ท่านได้ให้การยอมรับไว้เองว่าท่านอิมามอะห์มัดได้มีทัศนะเสนอแนะให้สานุศิษย์ของท่านผู้อยู่ในยุค(สะลัฟ)ให้ทำการอ่านอัลกุรอานอายะฮ์กุรซีย์สามจบและกุลฮุวัลลอฮ์  แล้วฮะดียะฮ์มอบแก่บรรดาผู้ตายในกุบูร!  และการอ่านอัลกุรอานฮะดียะฮ์ผลบุญถึงผู้ตายนั้นเป็นทัศนะของปราชญ์สะลัฟ เช่น อิมามอะบูฮะนีฟะฮ์ , อิมามมาลิก , อิมามอะห์มัด , และอิมามชาฟิอีย์ด้วยสื่อการขอดุอาหลังจากอ่านแล้ว , ดังนั้น อ.ปราโมทย์ พูดได้อย่างไรว่าแนวทางสะลัฟไม่มีการอุทิศผลบุญการอ่านอัลกุรอานแก่ผู้ตาย   

ส่วนคำพูดของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ที่ว่า “และไม่เคยมีปรากฏแบบอย่างหรือธรรมเนียมของชาวสะลัฟว่า เมื่อพวกเขานมาซสุนัต, ถือศีลอดสุนัต, ทำหัจญ์สุนัตหรืออ่านอัล-กุรฺอ่านแล้ว พวกเขาจะฮะดียะฮ์(อุทิศ)ผลบุญของสิ่งดังกล่าว ให้แก่บรรดามุสลิมที่ล่วงลับไปแล้วแต่ประการใด  ดังนั้นจึงไม่ควรหันเหออกจากแนวทางสะลัฟเหล่านี้ เพราะมันเป็นแนวทางที่ประเสริฐที่สุด และสมบูรณ์เพียบพร้อมที่สุดแล้ว” นั้น

ซึ่งธรรมเนียมปฏิบัตินั้น  อนุมาณได้ว่าอยู่ในรูปแบบของการรวมตัวกระทำกัน  มิใช่หมายถึง  การฮะดียะฮ์การอ่านอัลกุรอานแก่ผู้ตาย  เพราะในหนังสือ อัลอิติยารอต หน้า 54 นั้นที่ อ.ปราโมทย์ อ้างอิงมานั้น  ข้อความจากคำพูดของท่านอิบนุตัยมียะฮ์หลังจากนั้น  ทำไม อ.ปราโมทย์  ปกปิดไม่ยอมนำมาเสนอ  ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น  ซึ่งมีระบุไว้ดังนี้

وَقَالَ أَبُو العَبَّاسِ فِيْ مَوْضِعٍ آخَرَ : الصَّحِيْحُ أَنَّهُ يَنْتَفِعُ الَمَيِّتُ بِجَمِيْعِ العِبَادَاتِ الْبَدَنِيَّةِ مِنَ الصَّلاَةِ وَالصَّوْمِ وَالقِرَاءَةِ كَمَا يَنْتَفِعُ بِالِعَبَادَاتِ المَالِيَّةِ مِنَ الصَّدَقَةِ وَالعِتْقِ وَنَحْوِهِمَا بِاتِّفَاقِ الأَئِمَّةِ وَكَمَا لَوْ دَعَا لَهُ وَاسْتَغْفَرَ لَهُ وَالصَّدَقَةُ عَلَى المَيِّتِ أَفْضَلُ مِنْ عَمَلِ خَتْمَةٍ وَجَمْعِ النَّاسِ وَلَوْ أَوْصَى المَيِّتِ أَنْ يُصْرَفَ مَالٌ فِيْ هَذِهِ الخَتْمَةِ وَقَصَدَهُ التَّقَرُّبَ إِلىَ اللهِ صُرِفَ إِلَى مَحَاوِيْجَ يَقْرَءُوْنَ القُرْآنِ وَخَتْمَةً أَوْ أَكْثَرَ وَهُوَ أَفْضَلُ مِنْ جَمْعِ النَّاسِ 

"อะบุลอับบาสได้กล่าวไว้ในอีกสถานที่อื่นอีกว่า  ที่ถูกต้องแล้วนั้น  ผู้ตายจะได้รับประโยชน์ด้วยกับทั้งหมดอิบาดะฮ์ที่กระทำทางร่างกาย  จากการละหมาด(ฮะดียะฮ์ผลบุญไปให้) , การถือศีลอด , และการอ่านอัลกุรอาน  ซึ่งเช่นเดียวกันกับการที่ผู้ตายจะได้รับผลประโยชน์จากบรรดาอิบาดะฮ์ในเชิงทรัพย์สิน  ที่มาจากการบริจาคทาน , การปล่อยทาส , อื่น ๆ จากทั้งสอง  ด้วยความเห็นพร้องจากปวงปราชญ์  และ(จะได้รับประโยชน์)เช่นเดียวกันหากเขาได้ขอดุอาให้แก่มัยยิดและอิสติฆฟารให้  ส่วนการบริจาคทานซอดาเกาะฮ์นั้นย่อมดีกว่าอ่านอัลกุรอานหนึ่งจบ(ฮะดียะฮ์แด่มัยยิด)และดีกว่าการรวมคน(มาอ่าน)  และถ้าหากผู้ตายได้สั่งเสียให้จ่ายทรัพย์สินเกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานหนึ่งจบนี้และเขาได้มีเจตนาเพื่อสร้างความใกล้ชิดต่ออัลเลาะฮ์  ก็ให้ทำการใช้จ่าย(ศอดาเกาะฮ์)ไปยังผู้ที่มีความต้องการโดยให้พวกเขาทำการอ่านอัลกุรอาน คือ(อ่าน)หนึ่งจบหรือมากกว่าหนึ่งจบ  ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าการรวมคน(มาอ่าน)"  

ตรงนี้บ่งชี้ชัดว่า  ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ไม่สนับสนุนการรวมตัวกันอ่านอัลกุรอานแก่มัยยิด  แต่ถ้าหากไม่รวมตัวกันอ่านพร้อมกับศ่อดาเกาะฮ์ทรัพย์สินที่ผู้ตายสั่งเสียให้แก่ผู้อ่านอัลกุรอานก็ถือว่าไม่เป็นไร

ท่านอิบนุ้ลก็อยยิมได้ตอกย้ำเป้าหมายทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮ์  กล่าวในหนังสือ “ซาดุ้ลมะอาด” ที่ อ.ปราโมทย์ ได้หยิบยกมาอ้างอิง ว่า ...

وَلَمْ يَكُنْ مِنْ هَدْيِهِ أَنْ يُجْتَمَعَ لِلْعُزَّاءِ،  وَيُقْرَأَ لَهُ الْقُرْآنُ لاَ عِنْدَ قَبْرِهِ وَلاَ غَيْرِهِ،  وَكُلُّ هَذَا بِدْعَةٌ حَادِثَةٌ مَكْرُوْهَةٌ 

“และไม่เคยมีปรากฏในทางนำท่านนบีย์ว่า จะมีการชุมนุมกัน(ของครอบครัวผู้ตาย) เพื่อ (รอ)ผู้ปลอบโยนและอ่านอัล-กุรฺอ่านให้แก่ผู้ตาย ไม่ว่าที่กุบูรหรือที่อื่น(เช่นที่บ้าน)  ทุกอย่างนี้เป็นอุตริกรรม(บิดอะฮ์) ที่เพิ่งบังเกิดขึ้น และเป็นเรื่องน่ารังเกียจ” ...(จากหนังสือ “ซาดุ้ลมะอาด” ของท่านอิบนุ้ลก็อยยิม  เล่มที่ 1  หน้า 179)

นั่นคือประเด็นของการรวมตัวของบรรดาผู้มาปลอบใจแล้วทำการอ่านอัลกุรอานซึ่งเป็นสิ่งที่มักโระฮ์ตาม "ทัศนะ" ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์และท่านอิบนุก็อยยิม  ส่วนทัศนะของเหล่าปราชญ์ก่อนยุคสมัยของจากท่านอิบนุตัยมียะฮ์นั้น  พวกเขาถือว่าอนุญาตให้รวมตัวกันอ่านอัลกุรอานและมอบฮะดียะฮ์ผลบุญให้แก่มัยยิดของพวกเขาได้  และยังเป็นทัศนะที่มีน้ำหนักยิ่งกว่า  เพราะท่านอิบนุกุดามะฮ์ปราชญ์มัซฮัลฮัมบาลีรุ่นพี่ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ถือว่าเป็นอิจญฺมาอฺของปราชญ์มุสลิมีนเลยทีเดียว   

ท่านอิบนุกุดามะฮ์กล่าอีกว่า

وَأَنَّهُ إِجْمَاعُ الْمُسْلِمِيْنَ ; فَإِنَّهُمْ فِيْ كُلِّ عَصْرٍ وَمِصْرٍ يَجْتَمِعُوْنَ وَيَقْرَءُوْنَ القُرْآنَ , وَيَهْدُوْنَ ثَوَابَهُ إِلىَ مَوْتَاهُمْ مِنْ غَيْرِ نَكَيْرٍ

"แท้จริง มันเป็นมติของบรรดามุสลิมีน เนื่องจากแท้จริง พวกเขาเหล่านั้น ในทุกสมัยและทุกเมือง ได้รวมตัวกัน และทำการอ่านอัลกุรอานกัน และทำการฮาดิยะฮ์ผลบุญการอ่านอัลกุรอาน ให้แก่บรรดาผู้ตายของพวกเขา โดยที่ไม่มีผู้ใดมาตำหนิ" หนังสือ อัลมุฆนีย์ เล่ม 3 หน้า373

อิมามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ใน อัลมินฮาจญ์ หรือ ชัรหฺ ซอฮิหฺมุสลิม ว่า

وَالأَصَحُّ أََنَّ الإِجْمَاعَ بَعْدَ الخِلاَفِ يَصِحُّ وَاللهُ أَعْلَمُ

"ทัศนะที่ชัดเจนที่สุดนั้น คือ แท้จริง การอิจญฺมาอ์(มติ) หลังจากมีการขัดแย้งนั้น ถูกต้อง(ใช้ได้)" ดู ชัรหฺ ซอฮิหฺมุสลิม 4/31 

ดังนั้นคำพูดของ อ.ปราโมทย์ที่ว่า "ท่านอิบนุ้ลก็อยยิม ได้ยอมรับในหนังสือซาดุ้ลมะอาดว่า การอ่านอัล-กุรฺอ่านเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย ไม่ว่าที่บ้านหรือที่กุบูร มิใช่เป็นทางนำของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมและเป็นบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ (คือหะรอม) ตามทัศนะของท่านที่ผ่านมา .."  

บ่าวของอัลเลาะฮ์ผู้ต่ำต้อยขอกล่าวว่า  คำพูดของ อ.ปราโมทย์นั้น  ถือว่าไม่ทำความเข้าใจให้ถี่ถ้วนตามทัศนะท่านอิบนุก็อยยิม  โดยไม่แยกแยะระหว่างการรวมตัวของผู้ที่มาปลอบใจแล้วทำการอ่านอัลกุรอานกับประเด็นการอ่านอัลกุรอานแล้วฮะดียะฮ์มอบผลบุญแก่มัยยิดตามทัศนะของท่านอิบนุก็อยยิม





Re: วิภาษบทความ อ.ปราโมทย์ เรื่องอุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย By: al-azhary Date: ก.พ. 12, 2009, 07:18 AM
อ.ปราโมทย์  กล่าวว่า

ผลบุญการอ่านอัล-กุรฺอ่านนั้น ฮะดียะฮ์ถึงผู้ตาย ..โดยเฉพาะท่านอิบนุ้ลก็อยยิม ได้กล่าวในหนังสือ “อัร-รูห์” ว่า ...

“หากถามว่า การอ่านอัล-กุรฺอ่านฮะดียะฮ์ผลบุญให้ผู้ตายนั้นไม่เป็นที่รู้กันจากสะลัฟ,  และท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมก็ไม่ได้แนะนำพวกเขาไว้ .. คำตอบก็คือ หากผู้ที่นำคำถามนี้มาได้ยอมรับว่า ผลบุญการทำหัจญ์, การถือศีลอด, และการขอดุอาอ์นั้น ถึงไปยังผู้ตาย ก็ขอกล่าวตอบแก่เขาว่า อะไรคือข้อแบ่งแยก(หรือความแตกต่าง)ระหว่างสิ่งดังกล่าวกับผลบุญการอ่านอัล-กุรฺอ่านถึงผู้ตาย ? ............”

แล้ว อ.อัชอะรีย์ก็กล่าวสรุปว่า ...

“ท่านอิบนุก็อยยิมได้กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรฺอ่านฮะดียะฮ์ผลบุญแก่ผุ้ตายนั้น แม้ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมไม่เคยกระทำและไม่เป็นที่รู้กัน  แต่มีหลักฐานให้ทำการอ่านอัล-กุรฺอ่านและยืนยันว่าผลบุญของอิบาดะฮ์นั้นถึงแก่ผู้ตาย ก็ถือว่าไม่เป็นบิดอะฮ์แต่ประการใด .....”

"ถ้าอย่างนั้น การที่ท่านอิบนุ้ลก็อยยิมส่งเสริมให้อ่านอัล-กุรฺอ่านเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย ดังข้อมูลจากหนังสือ “อัร-รูห์” ที่ อ.อัชอะรีย์นำมาอ้างนั้น ท่านเอาหลักฐานมาจากไหน ?"  

ข้อโต้แย้ง

ดังที่ผมได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า  คำว่า "บิดอะฮ์" ตามทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮ์และท่านอิบนุก็อยยิมนั้น  เพียงแค่รูปแบบการอ่านอัลกุรอานแบบรวมตัวกัน  ไม่ใช่บิดอะฮ์การอ่านอัลกุรอานแล้วฮะดียะฮ์แก่ผู้ตาย!   ส่วนการอ้างอิงคำพูดของท่านอิบนุก็อยยิมของ อ.ปราโมทย์ นั้น  ถือว่าตัดทอนและปิดบังอำพราง  เพราะคำพูดของท่านอิบนุก็อยยิมแบบสมบูรณ์ที่ผมเคยนำเเสนอในบทควาววิภาษภาคแรกไปแล้วนั้นมีดังนี้

ท่านอิบนุก็อยยิมได้กล่าวไว้เช่นกันว่า

فَإِنْ قِيْلَ هَذَا لَمْ يَكُنْ مَعْرُوْفاً عَنِ السَّلَفِ وَلاَ أَرْشَدَهُمْ إِلَيْهِ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَالْجَوَابُ: إِنْ كَانَ مُوْرِدُ هَذَا السُّؤَالِ مَتَعَرِّفاً بِوُصُوْلِ ثَوَابِ الحَجِّ وَالصِّيَامِ وَالدُّعَاءِ، قِيْلَ لَهُ: مَا الفَرْقُ بَيْنَ ذَلِكَ وَبَيْنَ وُصُوْلِ ثَوَابِ القِرَاءَةِ؟ وَلَيْسَ كَوْنُ السَّلَفِ لَمْ يَفْعَلُوْهُ حُجَّةً فِيْ عَدَمِ الْوُصُوْلِ!! وَمِنْ أَيْنَ لَنَا هَذَا النَّفْيُ الْعَامُّ؟!

ً"หากถามว่า  การอ่านอัลกุรอานฮะดียะฮ์ผลบุญให้ผู้ตายนั้น  ไม่เป็นที่รู้กันจากสะลัฟและท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมก็ไม่ได้แนะนำพวกเขาไว้  คำตอบก็คือ  หากผู้ที่นำคำถามนี้มา  ได้ยอมรับว่าผลบุญการทำฮัจญ์ , การถือศีลอด , และการขอดุอาอ์ , นั้นถึงไปยังผู้ตาย  ก็ขอกล่าวตอบแก่เขาว่า  อะไรคือข้อแบ่งแยก(หรือความแตกต่าง)ระหว่างสิ่งดังกล่าวกับผลบุญการอ่านอัล กุรอานถึงผู้ตาย? และการที่สะลัฟไม่เคยกระทำมันนั้นมิใช่เป็นหลักฐานว่าผลบุญไม่ถึงผู้ตาย  และแล้วจากใหนล่ะ(หลักฐาน)ที่มาปฎิเสธ(ห้าม)แบบโดยรวมต่อพวกเรา?! " หนังสืออัรรั๊วะห์ 1/143  

นี่ไงครับ  ตัวอักษรที่ผมได้เน้นนี้  อ.ปราโมทย์  ตัดทอนออกไป  ซึ่งบ่งชี้ว่าท่านอิบนุก็อยยิมไม่ได้ตำหนิและปฏิเสธการอ่านอัลกุรอานให้แก่ผู้ตาย  และท่านอิบนุก็อยยิมได้ยืนยันทัศนะของท่านด้วยหลักฐานที่ว่า  แม้สะลัฟไม่ได้กระทำ  ก็จะนำมาเป็นหลักฐานว่าผลบุญไม่ถึงไม่ได้  เพราะไม่มีหลักฐานมาห้าม!  

และในหนังสืออัรรั๊วะห์ได้ยืนยันเรื่องการอ่านอัลกุรอานฮะดียะฮ์ให้แก่ผู้ตายไว้อีกหน้าหนึ่ง  ซึ่งท่านอิบนุก็อยยิมได้กล่าวไว้ในหนังสืออัรรั๊วะห์ในหน้าก่อนที่ผมจะได้อ้างอิงไปแล้ว เพื่อจะตอบคำถามของ อ.ปราโมทย์ที่มีต่อผม ดังนี้  ท่านอิบนุก็อยยิมกล่าวว่า

وَأَمَّا قِرَاءَةُ القُرْآنِ وَإِهْدَاؤُهَا لَهُ تَطَوُّعًا بِغَيْرِ أُجْرَةٍ فَهَذَا يَصِلُ إِلَيْهِ كَمَا يَصِلُ ثَوَابُ الصَّوْمِ وَالحَجِّ 

"สำหรับการอ่านอัลกุรอานและฮะดียะฮ์ผลบุญการอ่านแก่มัยยิดโดยสมัครใจปราศจากค่าจ้างนั้น  ถือว่าการฮะดียะฮ์อัลกุรอานจะถึงยังมัยยิดเหมือนผลบุญการถือศีลอดและฮัจญฺไปถึง(มัยยิด)" หนังสืออัรรั๊วะห์ 1/142
http://www.sunnahstudent.com/forum/archive.php?topic=4180.0
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ต่อไปนี้จะเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานแล้วมอบฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิด Empty Re: ต่อไปนี้จะเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานแล้วมอบฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิด

ตั้งหัวข้อ by Profile Wed Aug 26, 2015 1:23 am

[size=17]ตรงนี้บ่งชี้ว่า ทัศนะของท่านอิบนุก็อยยิมก็คืออ่านอัลกุรอานแล้วฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิดนั้น  ถือว่ากระทำได้และผลบุญถึงผู้ตาย  แต่การอ่านนั้นต้องไม่มีค่าจ้างตามทัศนะของท่านอิบนุก็อยยิม

หลักฐานของท่านอิบนุก็อยยิมเกี่ยวกับผลบุญการอ่านอัลกุรอานถึงผู้ตาย

1. หากมีคนกล่าวว่า การอ่านอัลกุรอานแล้วอุทิศผลบุญแก่ผู้ตายนั้นไม่เป็นที่รู้กันในกลุ่มชนสะลัฟ 

ท่านอิบนุก็อยยิมตอบว่า

وَلَيْسَ كَوْنُ السَّلَفِ لَمْ يَفْعَلُوْهُ حُجَّةً فِيْ عَدَمِ الْوُصُوْلِ!! وَمِنْ أَيْنَ لَنَا هَذَا النَّفْيُ الْعَامُّ؟

"การที่สะลัฟไม่เคยกระทำมันนั้นมิใช่เป็นหลักฐานว่าผลบุญไม่ถึงผู้ตาย  และแล้วจากใหนล่ะ(หลักฐาน)ที่มาปฎิเสธ(ห้าม)แบบโดยรวมต่อพวกเรา?! " หนังสืออัรรั๊วะห์ 1/143

วิเคราะห์ : ท่านอิบนุก็อยยิมมีหลักการที่ว่า  หากสะลัฟไม่ได้กระทำ  ก็มิใช่เป็นหลักฐานยืนในเรื่องการกำหนดฮุกุ่ม  และถ้าหากไม่มีหลักฐานมาห้ามการอ่านอัลกุรอานอุทิศแก่ผู้ตาย  ก็มิใช่เป็นหลักฐานที่จะมาปฏิเสธว่าผลบุญการอ่านอัลกุรอานไม่ถึงผู้ตาย
 
ท่านอิบนุก็อยยิมกล่าวเช่นกันว่า

فَالْجَوَابُ أَنَّ مُوْرِدَ هَذَا السُّؤَالِ إِنْ كَانَ مُعْتَرِفاً بِوُصُوْلِ ثَوَابِ الْحَجِّ وَالصِّيَامِ وَالدُّعَاءِ وَالاِسْتِغْفَارِ قِيْلَ لَهُ مَا هَذِهِ الخَاصَّيَّةُ الَّتِي مَنَعَتْ بِوُصُوْلِ ثَوَابِ القُرْآنِ وَاقْتَضَتْ وُصْولَ ثَوَابِ القُرْآنِ وَاقْتَضَتْ وُصُوْلَ ثَوَابِ هَذِهِ الأَعْمَالِ وَهَلْ هَذَا إِلاَّ تَفْرِيْقٌ بَيْنَ الْمُتَمَاثِلاَتِ 
 
"ตอบ : แท้จริงผู้ที่นำเสนอคำถามนี้  หากเขายอมรับว่า  ผลบุญการทำฮัจญ์ , การถือศีลอด , การขอดุอา , และการอิสติฆฟาร , ถึงผู้ตาย  ก็ขอตั้งคำถามแก่เขาว่า  อะไรคือลักษณะพิเศษนี้ที่มาห้ามผลบุญการอ่านอัลกุรอานถึงผู้ตาย  ทั่งที่คุณลักณะพิเศษนั้นมีนัยยะทำให้ผลบุญการอัลกุรอานถึงผู้ตายและผลบุญบรรดาอะมัลต่าง ๆ เหล่านี้ถึงผู้ตาย  และคำถามนี้  ไม่มีอะไรเลยนอกจากการแยกออกจากการระหว่างบรรดาสิ่งที่เหมือนกัน" หนังสืออัรรั๊วะห์ 1/142

วิเคราะห์ : คือตามหลักฐานของอัลกุรอาน , ซุนนะฮ์ , และกฏเกณฑ์ของหลักศาสนานั้น ได้ยืนยันแล้วว่า  การทำฮัจญฺ , การถือศีลอด , การขอดุอา , และการอิสติฆฟาร , ล้วนเป็นอิบาดะฮ์ที่มีประโยชน์และผลบุญถึงผู้ตาย  แสดงว่าอะมัลอิบาดะฮ์นั้นผลบุญฮะดียะฮ์อุทิศแก่ผู้ตายได้  ดังนั้นเมื่ออะมัลอิบาดะฮ์เหล่านี้อุทิศถึงผู้ตายได้  แล้วอะไรหรือที่จะมาห้ามไม่ให้ผลบุญอิบาดะฮ์การอ่านอัลกุรอานถึงผู้ตาย   และเราจะมาแยกว่าอิบาดะฮ์เหล่านี้อุทิศถึงผู้ตาย  ส่วนอิบาดะฮ์อ่านอัลกุรอานอุทิศไม่ถึงผู้ตายได้อย่างไร?  ทั้งที่การอ่านอัลกุรอ่านนั้น  เป็นอิบาดะฮ์ที่ประเสริฐยิ่งกว่าการขอดุอาและอิสติฆฟาร  ดังนั้นการอุทิศผลบุญการอ่านอัลกุรอานสมควรที่จะอุทิศถึงผู้ตายได้ยิ่งกว่า

2. หากมีผู้ถามว่า  ใหนคือหลักฐานที่สะลัฟได้ทำการอ่านอัลกุรอานแล้วมอบผลบุญให้แก่คนนั้นคนนี้

ท่านอิบนุก็อยยิมตอบว่า  

يُقَالُ لِهَذَا القَائِلِ لَوْ كَلَّفْتُ أَنْ تَنْقُلَ عَنْ وَاحِدٍ مِنَ السَّلَفِ أَنَّهُ قَالَ اللَّهُمَّ ثَوَابَ هَذَا الصَّوْمِ لِفُلاَنٍ لَعَجَزْتَ فَإِنَّ الْقَوْمَ كَانُوْا أَحْرَصَ شَيْءٍ عَلَى كِتْمَانِ أَعْمَالِ الْبِرِّ فَلَمْ يَكُوْنُوْا لِيُشْهَدُوْا عَلَى اللهِ بِإِيْصَالِ ثَوَابِهَا إِلَى أَمْوَاتِهِمْ

"ตอบให้แก่ผู้ที่ถามว่า  ถ้าหากข้าพเจ้าได้มอบภาระให้ท่านช่วยถ่ายทอดจากสะลัฟสักหนึ่งท่านซิ  ที่เขาได้กล่าวว่า  "โอ้ข้าแด่อัลเลาะฮ์  โปรดให้ผลบุญการถือศีลอดนี้มอบแด่คนนั้นคนนี้ด้วยเถิด"  แน่นอนว่าท่านจะไม่สามารถทำได้  เพราะแท้จริงกลุ่มชนสะลัฟนั้น  พวกเขาเป็นผู้ที่ปรารถนาอย่างยิ่งยวดต่อการซ่อนเร้นบรรดาการปฏิบัติความดีงาม  ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ประกาศให้เห็นประจักษ์ต่ออัลเลาะฮ์  ด้วย(การอุทิศ)ผลบุญอะมัลต่าง ๆ ไปยังบรรดาผู้ตายของพวกเขาหรอก" หนังสืออัรรั๊วะห์ 1/143

วิเคราะห์ : เป็นที่ทราบดีว่า  การทำฮัจญฺและการถือศีลอดนั้น  อุทิศผลบุญถึงผู้ตาย  แต่ไม่มีรายงานระบุว่า  สะลัฟคนหนึ่งได้ประกาศแก่คนทั่วไปได้รับรู้ว่าหรอกว่า  พวกเขาได้ทำอะมัลแล้วมอบผลบุญให้แก่คนนั้นคนนี้  เพราะสะลัฟมักจะซ่อนเร้นในเรื่องอะมัลความดี  ไม่ประกาศให้คนทั่วไปได้รับรู้ว่าฉันทำอะมัลความดีเพื่อมอบอุทิศแก่คนนั้นคนนี้  ดังนั้น อิมามอะห์มัด , อิมามมาลิก , อิมามอะบูฮะนีฟะฮ์ , เป็นต้น  พวกเขามีทัศนะว่าผลบุญการอ่านอัลกุรอานอุทิศถึงผู้ตายได้  แต่พร้อมกันนั้นพวกเขาไม่จำเป็นต้องมาประกาศให้ผู้คนทั้งหลายรู้ว่า  พวกเขาได้ทำการอ่านอัลกุรอานแล้วมอบอุทิศผลบุญให้แก่คนนั้นคนนี้

3. ถ้าหากมีผู้กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้แนะนำให้พวกเขาทำการถือศีลอด , ทำการศ่อดาเกาะฮ์ , ทำฮัจญฺ , ให้แก่ผู้ตาย  แต่ท่านนบีไม่ได้แนะนำให้อ่านอัลกุรอานแก่ผู้ตาย

ท่านอิบนุก็อยยิมได้ตอบว่า

قِيْلَ هُوَ يَبْتَدِئُهُمْ بِذَلِكَ بَلْ خَرَجَ ذَلِكَ مِنْهُ مَخْرَجَ الْجَوَابِ لَهُمْ فَهَذَا سَأَلَهُ عَنِ الحَجِّ عَنْ مَيِّتِهِ فَأَذِنَ لَهُ وَهَذَا سَأَلَهُ عَنِ الصِّيَامِ عَنْهُ فَأَذِنَ لَهُ وَهَذَا سَأَلَهُ عَنِ الصَّدَقَةِ فَأَذِنَ لَهُ وَلَمْ يَمْنَعْهُمْ مِمَّا سِوَى ذَلِكَ وَأَيُّ فَرْقٍ بَيْنَ وُصُوْلِ ثَوَابِ الصَّوْمِ الَّذِيْ هُوَ مُجَرَّدُ نِيَّةٍ وَإِمْسَاكٍ بِيْنَ وُصُوْلِ ثَوَابِ القِرَاءَةِ وَالذِّكْرِ 
 
"ตอบแก่เขาว่า  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ดำริให้พวกเขากระทำสิ่งดังกล่าว  และสิ่งดังกล่าวก็ได้ออกมาจากท่านนบีเพื่อจะได้เป็นทางออกจากการตอบแก่เขา  ดังนั้นบุคคลที่ได้ถามนี้  ได้ทำการขอต่อท่านนบีเกี่ยวกับทำฮัจญฺแทนผู้ตาย  ดังนั้นท่านนบีจึงอนุญาตแก่เขา , และเขาผู้นี้ได้ทำการขอต่อท่านนบีเกี่ยวกับการถือศีลอดแทนผู้ตาย  ดังนั้นท่านนบีจึงอนุญาตแก่เขา , และเขาผู้นี้ได้ทำการขอท่านนบีทำการบริจาคทานแก่มัยยิด  ท่านนบีก็อนุญาตแก่เขา  โดยที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  มิได้ห้ามพวกเขาจากอิบาดะฮ์อื่น ๆ (ที่จะทำแล้วอุทิศผลบุญให้แก่มัยยิด) เลย  แล้วอะไรคือข้อแตกต่างระหว่างผลบุญการถือศีลอดที่เป็นเพียงแค่การเหนียตและงดสิ่งที่ทำให้เสียศีลอดกับผลบุญของการอ่านอัลกุรอานและซิกรุลลอฮ์ถึงมัยยิด" หนังสืออัรรั๊วะห์ 1/143

วิเคราะห์ : ท่านอิบนุก็อยยิมได้วินิจฉัยตอบว่า  แม้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะอนุญาตให้ทำฮัจญฺ , การถือศีลอด , การบริจาค  แก่มัยยิด  แต่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  มิได้ห้ามพวกเขาในการทำอะมัลอิบาดะฮ์อื่น ๆ เพื่ออุทิศผลบุญแก่มัยยิดเลย  เพราะการถือศีลอดเป็นเพียงแค่การเหนียตและงดสิ่งที่ทำให้เสียศีลอดเท่านั้นเอง  แล้วผลบุญการอ่านอัลกุรอานและซิกรุลลอฮ์จะไม่ถึงมัยยิดกระนั้นหรือ?

4. หากมีคนกล่าวว่า  ไม่มีสะลัฟสักคนที่กระทำการอ่านอัลกุรอานแล้วอุทิศผลบุญแก่มัยยิด

ท่านอิบนุก็อยยิมตอบว่า

قَائِلُ مَالاَ عِلْمَ لَهُ بِهِ فَإِنَّ هَذِهِ شَهَادَةٌ عَلَى نَفْيِ مَا لَمْ يَعْمَلْهُ فَمَا يُدْرِيْهِ أَنَّ السَّلفَ كَانُوْا يَفْعَلُوْنَ ذَلِكَ وَلاَ يُشْهِدُوْنَ مَنْ حَضَرَهُمْ عَلَيْهِ بَلْ يَكْفِيْ اِطْلاَعُ عَلَّامِ الْغُيُوْبِ عَلَى نِيَّاتِهِمْ وَمَقَاصِدِهِمْ لاَ سِيَّمَا وَالتَّلَفُّظُ بِنِيَّةِ الإِهْدَاءِ لاَ يُشْتَرَطُ كَمَا تَقَدَّمَ وَسِرُّ الْمَسْأَلَةِ أَنَّ الثَّوَابَ مِلْكُ الْعَامِلِ فَإِذَا تَبَرَّعَ بِهِ وَأَهْدَاهُ إِلَى أَخِيْهِ الْمُسْلِمِ أَوْصَلَهُ اللهُ إِلَيْهِ فَمَا الَّذِيْ خَصَّ مِنْ هَذَا الثَّوَابِ قِرَاءَةَ القُرْآنِ وَحَجَرَ عَلَى الْعَبْدِ أَنْ يُوْصِلَهُ إِلَى أَخِيْهِ وَهَذا عَمَلُ سَائِرِ النَّاسِ حَتَّى الْمُنْكِرِيْنَ فِيْ سَائِرِ الإِعْصَارِ وَالأَمْصَارِ مِنْ غَيْرِ نَكِيْرٍ مِنَ الْعُلَمَاءِ  

"เขาคือผู้ที่กล่าวสิ่งที่เขาไม่รู้  เพราะนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงการปฏิเสธสิ่งที่สะลัฟไม่ได้กระทำ  ดังนั้นอะไรเล่าที่ทำให้เขารู้ว่าสะลัฟไม่ได้กระทำสิ่งดังกล่าว  ทั้งที่พวกเขาไม่ได้ประกาศให้รู้ถึงการอุทิศผลบุญการอ่านอัลกุรอานแก่ผู้ที่อยู่พร้อมกับพวกเขา  แต่ถือว่าเพียงพอแล้วที่อัลเลาะฮ์ผู้รู้ยิ่งซึ่งบรรดาสิ่งเร้นลับได้รู้ถึงเจตนาและความตั้งใจของสะลัฟ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  การกล่าวคำเหนียตฮะดียะฮ์(อุทิศผลบุญ)ก็มิได้ถูกวางเงื่อนไข(ว่าจะต้องกล่าวเป็นถ้อยคำออกมา)ดังที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว  และเคล็ดลับประเด็นก็คือ  ผลบุญนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ที่กระทำอะมัล  ดังนั้นเมื่อเขาได้มอบอุทิศให้แก่พี่น้องมุสลิมของเขา(ที่ล่วงลับไปแล้ว) แน่นอนอัลเลาะฮ์ก็จะทำให้ผลบุญนั้นถึงไปยังเขา  ดังนั้นสิ่งใดหรือที่มาจำกัดผลบุญการอ่านอัลกุรอานนี้และกีดกันไม่ให้บ่าวทำการอุทิศผลบุญถึงพี่น้องของเขา(ที่ล่วงลับไปแล้ว) ทั้งที่การปฏิบัติเช่นนี้  เป็นการกระทำของมุสลิมีนทั่วไปในยุคสมัยต่าง ๆ และเมืองต่าง ๆ โดยไม่มีบรรดาปราชญ์ผู้ใดให้การตำหนิแม้กระทั่งบรรดาผู้ปฏิเสธทัศนะนี้ก็ตาม" หนังสืออัรรั๊วะห์ 1/143

วิเคราะห์ : ท่านอิบนุก็อยยิมได้วินิจฉัยให้เราทราบว่า  แม้เราจะไม่รู้ว่าสะลัฟกระทำการอุทิศผลบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับของพวกเขาก็ตาม  ก็มิใช่เป็นเรื่องแปลกแต่ประการใด  เพราะสะลัฟนั้นเขาไม่ประกาศให้คนอื่นรู้ในเรื่องการปฏิบัติความดีงาม  เพราะเพียงแค่อัลเลาะฮ์ทรงรู้ถึงเจตนาของพวกเขาในการอุทิศผลบุญแก่ผู้ล่วงลับก็ถือว่าเพียงพอแล้ว  และการอ่านอัลกุรอานอุทิศผลบุญแก่ผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น  เป็นการกระทำของมุสลิมีนทั้งหลายในบรรดายุคสมัยและเมืองต่าง ๆ โดยไม่มีอุลามาอ์ท่านใหนให้การตำหนิเลย  แม้กระทั่งผู้มีทัศนะที่ปฏิเสธในเรื่องนี้  ก็มิให้การตำหนิแต่ประการใด  เพราะมุสลิมต่างมีอิสระที่จะเลือกกระทำ  ดังนั้นพวกเขาจึงไม่คัดค้านผู้ที่กระทำไม่เหมือนตน

ดังนั้นการที่ครอบครัวมัยยิด(ไม่ใช่บรรดามุสลิมที่เข้ามาปลอบใจ)ทำการอ่านอัลกุรอาน  , ตัสบีห์ , ตักบีร , และซิกรุลลอฮ์ อื่น ๆ แล้วฮะดียะฮ์มอบแด่มัยยิดนั้น  ก็ให้กระทำได้และผลบุญถึงคนตาย  

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ยืนยันทัศนะของท่านว่า

يَصِلُ إِلَى المَيِّتِ قِراءَةُ أَهْلِهِ وَتَسْبِيْحُهُمْ وَتَكْبِيْرُهُمْ، وَسَائُِر ذِكْرِهْمِ للهِ تَعَالىَ ، إِذَا أَهْدُوْهُ اِلَى المَيِّتِ وَصَلَ إِلَيْهِ . وَاللهُ أَعْلَمُ

"ผลบุญการอ่านอัลกุรอานของครอบครัวมัยยิด และตัสบีหฺ การกล่าวตักบีร และบรรดาซิกรุลเลาะฮ์อื่นๆ จะถึงมัยยิด ดังนั้น เมื่อพวกเขาได้ทำการฮะดียะฮ์มอบให้แก่มัยยิด ผลบุญก็จะไปถึงเขา" ดูฟะตาวา อิบนุ ตัยมียะฮ์ เล่ม 24 หน้า 302

ดังนั้นท่านอิบนุตัยมียะฮ์สนับสนุนทัศนะการอ่านอัลกุรอานนั้นผลบุญถึงมัยยิด แต่ท่านทั้งสองไม่สนับสนุนรูปแบบการรวมตัวอ่านอัลกุรอานให้แก่มัยยิด แต่บรรดาปวงปราชญ์ก่อนหน้าท่านทั้งสองนั้น ท่านอิบนุกุดามะฮ์ยืนยันว่าเป็นมติของปราชญ์มุสลิมีนว่าให้การรวมอ่านอัลกุรอานแล้วฮะดียะฮ์ผลบุญให้แก่ผู้ตายได้  และสิ่งที่บรรดาปราชญ์มุสลิมมีทัศนะว่าดี  แน่นอนมันก็ย่อมดีตามทัศนะของอัลเลาะฮ์ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าปวงปราชญ์มุสลิมีนจะไม่ลงมติกันในสิ่งที่บิดอะฮ์ลุ่มหลง!
[/size]




Re: วิภาษบทความ อ.ปราโมทย์ เรื่องอุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย By: al-azhary Date: ก.พ. 14, 2009, 01:10 AM
[size=17]ข้อความของ อ.ปราโมทย์

ถ้า อ.อัชอะรีย์จะอ้างทัศนะของนักวิชาการที่ว่าถึง  ผมก็สามารถอ้างทัศนะนักวิชาการจำนวนมากได้เช่นเดียวกันที่ว่า ไม่ถึง, 

ข้อโต้แย้ง

อ.ปราโมทย์  พยายามที่จะบอกว่า  ทัศนะของอุลามาอฺที่ผลบุญไม่ถึงนั้นมีจำนวนมาก  แต่เวลาเอาเข้าจริง ๆ  อ.ปราโมทย์  ก็ไปหยิบยกทัศนะอุลามาอฺที่ผลบุญไม่ถึงคนตายเท่านั้นเอง  ทั้งที่เป็นทัศนะของปราชญ์ส่วนน้อย  คือ อ.ปราโมทย์  ยกทัศนะของ  อิมามชาฟิอีย์ , ยกคำพูดของท่านอิบนุอับดุสสลาม , แค่นี้เองครับ  แต่เมื่อเรากลับไปตรวจสอบทัศนะของอุลามาอฺที่อ่านอัลกุรอานถึงผู้ตายนั้นมีมากมายเหลือเกิน  

ท่านอิมามอันนะวาวีย์  ได้กล่าวไว้ใน หนังสืออัลอัซฺการของท่านเช่นกันว่า

أَجْمَعَ الْعُلَمَاءُ عَلَى أَنَّ الدُّعَاءَ لِلأَمْوَاتِ يَنْفَعُهُمْ وَيَصِلُهُمْ ثَوَابُهُ...وَاخْتَلَفَ الْعُلَمَاءُ فِيْ وُصْوِلِ ثَوَابِ قِرَاءَةِ القُرْآنِ، فَالْمَشْهُوْرُ مِنْ مَذْهَبِ الشَّافِعِيِّ وَجَمَاعَةٍ أَنَّهُ لاَ يَصِلُ‏.‏ وَذَهَبَ أَحْمَدُ بْنُ حَنْبَل وَجَمَاعَةٌ مِنَ العُلَمَاءِ وَجَمَاعَةٌ مِنْ أَصْحَابِ الشَّافِعِيِّ إِلَى أَنَّهُ يَصِلُ، وَالاِخْتِيَارُ أَنْ يَقُوْلَ القَارِئُ بَعْدَ فَرَاغِهِ‏:‏ ‏اللَّهُمّ أَوْصِلْ ثَوَابَ مَا قَرَأْتُهُ إِلَى فُلاَنٍ، وَاللّهُ أَعْلَمُ‏

"บรรดาปวงปราชญ์ได้(อิจญฺมาอฺ)ลงมติเห็นพร้อง ว่า  แท้จริงการขอดุอาอ์ให้แก่บรรดาผู้ตายนั้น  มันเป็นผลประโยชน์แก่พวกเขาและผลบุญการขอดุอาก็ถึงไปยังพวกเขา.....และ บรรดาอุลามาอ์ได้ขัดแย้งกันเกี่ยวกับเรื่อง  ผลบุญการอ่านอัลกุรอานถึงผู้ตาย  ดังนั้น  คำกล่าวที่เลื่องลือ จากมัซฮับอิมามอัช-ชาฟิอีย์และปราชญ์กลุ่มหนึ่งนั้น คือ ผลบุญไม่ถึงผู้ตาย(กล่าวคือหากอ่านอัลกุรอานเพียงอย่างเดียวโดยไม่ขอดุอาตาม ท้าย)  และท่านอิมามอะหฺมัด บิน หัมบัล พร้อมด้วยปวงปราชญ์กลุ่มใหญ่  และกลุ่มหนึ่งจากบรรดาสานุศิษย์ของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ได้  กล่าวว่า แท้จริง ผลบุญดังกล่าวถึงผู้ตาย  และทัศนะที่ได้รับการแฟ้นแล้ว  คือให้ผู้อ่านกล่าวดุอาอ์หลังจากเสร็จสิ้นจากการอ่านอัลกุรอานว่า "โอ้อัลเลาะฮ์  ขอได้โปรดทำให้ผลบุญจากสิ่งที่ฉันได้อ่านมันไปแล้วนั้น  ไปถึงคนนั้นๆ (..........) ด้วยเทอญ (ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างปราชญ์) วัลลอฮุอะลัม "  ดู  อัลฟุตูฮาด อัรร๊อบบานียะฮ์  อะลา อัลอัซการอันนะวะวียะฮ์  เล่ม 4 หน้า 194

ดังนั้นท่านอิบนุอะลาน  ได้กล่าวว่า

قَوْلُهُ اَلْمَشْهُوْرُ مِنْ مَذْهَبِ الشَّافِعِيِّ إلخ. فِيْ شَرْحِ الرَّوْضِ هَذَا مَحْمُوْلٌ عَلَي مَا إِذَا أَهْديَ قِرَاءَتَهُ لَهُ أَوْ نَوَي وَلَمْ يَدْعُ لَهُ بِهِ اهـ وَنَقَلَ هَذَا الْحَمْلَ فِي التُّحْفَةِ عَنْ جَمْعٍ

"คำกล่าวของอิมามอันนะวาวีย์ที่ว่า  "ทัศนะที่เลื่องลือจากอิมามอัชชาฟิอีย์..." นั้น  ในหนังสือชัรห์ อัรเราฎฺ (กล่าวว่า) คำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์นี้  ถูกตีความว่า  เมื่อเขาได้อ่านอัลกุรอานให้แก่ผู้ตายหรือเหนียตโดยไม่ได้ทำการขอดุอาแก่ผู้ ตาย(แต่ถ้าอ่านอัลกุรอานและดุอาให้แก่มัยยิด ก็จะยังประโยชน์และผลบุญถึงผู้ตายด้วยสื่อของดุอานั้น)...และท่านอิบนุฮะญัร ได้ถ่ายทอดการตีความนี้ไว้ในหนังสือตัวะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์จากปราชญ์กลุ่ม หนึ่งเช่นกัน" อัลฟุตูฮาด อัรร๊อบบานียะฮ์  อะลา อัลอัซการอันนะวะวียะฮ์  เล่ม 4 หน้า 205

ท่านอัลฮาฟิซฺ อับดุลลอฮ์ อัลฆุมารีย์  ได้กล่าวว่า 

وَالَّذِيْنَ قَالُوْا بِعَدَمِ الوُصُوْلِ صَرَّحُوْا بِأَنَّ القَارِئَ إِذَا دَعَا بَعْدَ قِرَاءَتِهِ بِإِيْصَالِ ثَوَابِهَا اِلَي الْمَيِّتِ ، وَصَلَهُ بِلاَ خِلاَفٍ لِأَنَّهَا تَكُوْنُ حِيْنَئِذٍ مِنْ قَبِيْلِ الدُّعَاءِ الْمُجْمَعِ عَلَي وُصُوْلِهِ

"อุลามาอฺที่กล่าวว่าผลบุญ(การอ่านอัลกุรอาน)ไม่ถึงผู้ตายนั้น  ซึ่งพวกเขาได้บอกไว้อย่างชัดเจนว่า  แท้จริงผู้ที่อ่านอัลกุรอานนั้นเมื่อเขาได้ทำการดุอาหลังจากการอ่าน  โดยขอดุอา(ต่ออัลเลาะฮ์)ให้ผลบุญการอ่านไปยังผู้ตาย  ผลบุญก็จะถึงผู้ตายโดยไม่มีการขัดแย้งกัน  เพราะการอ่านอัลกุรอานขณะที่(มีการทำการขอดุอาต่ออัลเลาะฮ์ให้ผลบุญถึงผู้ตาย)นั้น  ก็เป็นส่วนหนึ่งจากประเภทของดุอาที่ถูกลงมติว่าผลการอ่านถึงผู้ตาย(ด้วยสื่อของดุอานั้น)"  หนังสือเตาฎีฮุลบะยาน ลิวุซูลิษษะวาบิลกุรอาน ลิลมุตะวัฟฟา  หน้า 90

ท่าน อิมามรอมลีย์  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ นิฮายะตุลมั๊วะหฺตาจญฺ  ว่า  "สุนัตให้อ่านอัลกุรอานที่ง่าย ๆ  ที่กุบูร"  ดู เล่ม 3 หน้า 36  และท่านอิมามรอมลีย์กล่าวอีกว่า "ให้เขาทำการอ่านอัลกุรอานและขอดุอาอ์หลังจากการอ่านอัลกุรอานของเขา  และการขอดุอาอ์นั้นเป็นผลประโยชน์แก่มัยยิด  และการขอดุอาอ์ถัดจากการอ่านอัลกุรอานนั้น  ทำให้ถูกตอบรับรวดเร็วยิ่งกว่า"  ดู  เล่ม 3 หน้า 37
[/size]
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ต่อไปนี้จะเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานแล้วมอบฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิด Empty Re: ต่อไปนี้จะเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานแล้วมอบฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิด

ตั้งหัวข้อ by Profile Wed Aug 26, 2015 1:31 am

[size=17]ท่านอิมามอัรรอมลี  ได้กล่าวเช่นว่า

قَالَ إِبْنُ الصَّلاَحِ : وَيَنْبَغِي الجَزْمُ بِنَفْعِ اللَّهُمَّ أَوْصِلْ ثَوَابَ مَا قَرَأْنَاهُ

"ท่านอิบนุสศ่อลาห์กล่าวว่า  สมควรต้องมั่นใจเด็ดขาดว่า มีประโยชน์(ต่อผู้ตายด้วยคำดุอาอ์ที่ว่า) โอ้ อัลลอฮ์เจ้า  โปรดทรงให้ผลบุญที่เราได้อ่านไปถึงเขา...ด้วยเถิด"  หนังสือนิฮายะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ เล่ม 6 หน้า 93

ตามนัยยะที่กระผมได้นำ เสนอมา  สรุปว่าผลบุญการอ่านอัลกุรอานจะมีประโยชน์และถึงแก่ผู้ตายนั้น  ไม่ใช่ด้วยการเหนียตฮะดียะฮ์ให้เพียงอย่างเดียวเพราะผลบุญจะไม่ถึงตามทัศนะ ของอิมามอัช-ชาฟิอีย์  แต่ต้องขอดุอาอ์ให้แก่มัยยิดด้วย  ซึ่งในการขอดุอาอ์นั้น  เราจะขอต่ออัลเลาะฮ์ให้ผลบุญการอ่านของเราถึงมัยยิดนั้น ย่อมกระทำได้อย่างไม่มีปัญหา  เนื่องจากการขอดุอาอ์  เป็นสื่อที่จะทำให้ผลบุญไปถึงมัยยิด  ไม่ใช่การเหนียตฮะดียะฮ์ผลการอ่านอัลกุรอานเพียงอย่างเดียว  

ท่านอัลลามะฮ์ อัชชัยค์ อัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์  ได้กล่าวว่า

وَحَكَى الْقُرْطُبِيُّ فِي التَّذْكِرَةِ أَنَّهُ رُؤِيَ فِي المَنَامِ بَعْدَ وَفَاتِهِ فَسُئِلَ عَنْ ذَلِكَ فَقَالَ كُنْتُ أَقُوْلُ ذَلِكَ فِي الدُّنْيَا وَالآنَ بَانَ لِيْ أَنَّ ثَوَابَ الْقِرَاءَةِ يَصِلُ إِلَي الْمَيِّتِ وَحَكىَ المُصَنِّفُ فِيْ شَرْحِ مُسْلِمٍ وَالأَذْكَارِ وَجْهًا أَنَّ ثَوَابِ القِرَاءَةِ يَصِلُ إِلَى المَيِّتِ كَمَذْهَبِ الأَئِمَّةِ الثَّلاَثَةِ وَاخْتَارَهُ جَمَاعَةٌ مِنَ الأَصْحَابِ مِنْهُمْ اِبْنُ الصَّلاَحِ وَالمْحِبُّ الطَّبَرِيُّ وَابْنُ أَبِي الدَّمِ وَصَاحِبُ الذَّخَائِرِ وَابْنُ أَبِي عَصْرُوْنَ وَعَلَيْهِ عَمَلُ النَّاسِ وَمَا رَآهُ المُسْلِمُوْنَ حَسَنًا فَهُوَ عِنْدَ اللهِ حَسَنٌ 

"ท่านอัลกุรตุบีย์  ได้เล่าไว้ในหนังสือ อัตตัซกิเราะฮ์ ของท่านว่า  แท้จริงท่านอิมามชัมชุดดีน อิบนุอับดิสสลามได้ถูกฝันเห็นหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว  ดังนั้นจึงถูกถาม จากสิ่งดังกล่าว (คือถามจากทัศนะของท่านที่ว่าผลบุญการอ่านอัลกุรอานไม่ถึงผู้ตาย) ดังนั้น  ท่านอิมามอิบนุอับดุสสลามได้กล่าวตอบว่า  ฉันเคยกล่าวว่า(ผลบุญการอ่านอัลกุรอานไม่ถึงผู้ตาย)ขณะเคยที่ในโลกดุนยา  แต่ในขณะนี้ได้ปรากฏชัดแก่ฉันแล้วว่า  แท้จริงผลบุญการอ่านอัลกุรอานนั้นจะถึงผู้ตาย  และท่านอิมามอันนวาวีย์ได้เล่ารายงานไว้ในหนังสือชัรห์ซอฮิห์มุสลิมและหนังสืออัลอัซการ  กับทัศนะหนึ่งของปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์ว่า  แท้จริงผลบุญการอ่านอัลกุรอานนั้นจะถึงไปยังมัยยิด  ซึ่งเป็นทัศนะเดียวกับมัซฮับอิมามทั้งสาม(คือเป็นทัศนะเดียวกับอิมามอะบูฮะนีฟะฮ์ , อิมามมาลิก , อิมามอะห์มัด)  และทัศนะที่ผลบุญอ่านอัลกุรอ่านถึงผู้ตายนั้น  ได้วินิจฉัยเลือกเฟ้นแล้วโดยกลุ่มหนึ่งจากปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์  ส่วนหนึ่งก็คือ  ท่านอิบนุอัศศ่อลาห์ , ท่านอัลมุฮิบ อัฏเฏาะบะรีย์ , ท่านอิบนุ อะบี อัดดัม , เจ้าของหนังสืออัซซะคออิร , ท่านอิบนุ อะบีอัศรูน , และบรรดาผู้คนทั้งหลายได้ดำเนินปฏิบัติตามทัศนะนี้(คืออ่านอัลกุรอานผลบุญถึงผู้ตาย)  และสิ่งที่บรรดามุสลิมีนมีทัศนะเห็นว่าดี  แน่นอนสิ่งนั้นย่อมดีตามทัศนะของอัลเลาะฮ์ด้วย"  หนังสือ“มุฆนีย์ อัล-มุห์ตาจญ์”  เล่มที่ 3  หน้า 69-67 

ท่าน อิบนุ มุฟลิหฺ(ศิษย์ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์) กล่าวไว้ว่า

وَأَىُّ قُرْبٍ فَعَلَهَا مِنْ دُعَاءٍ وَاسْتِغْفَارٍ وَصَلاَةٍ وَصَوْمٍ وَحَجٍّ وَقِرَاءَةٍ وَغَيْرِ ذَلِكَ وَجَعَلَ ثَوَابَ ذَلِكَ للِمَيِّتِ المُسْلِمِ نَفَعَهُ ذَلِكَ . قَالَ أَحْمَدُ : اَلْمَيِّتُ يَصِلُ إِلِيْهِ كُلُّ شَيْءٍ مِنَ الخَيْرِ لِلنُصُوْصِ الوَارِدَةِ فِيْهِ وَلِأَنَّ المُسْلِمِيْنَ يَجْتَمِعُوْنَ فِىْ كُلِّ مِصْرٍ وَيَقْرَؤُوْنَ وَيَهْدُوْنَ لِمَوْتَاهُمْ مِنْ غَيْرِ نَكِيْرٍ، فَكَانَ ذَلِكَ إِجْمَاعاً وَكَالدُّعَاءِ وَالإِسْتِغْفَارِ حَتَّى لَوْ اَهْدَاهَا لِلنَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، جَازَ وَوَصَلَ اِلِيْهِ الثَّوَابُ، ذَكَرَهُ المَجْدُ

" ไม่ว่าอิบาดะฮ์ใด ที่กระทำขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการดุอา อิสติฆฟาร การละหมาด การถือศีลอด การทำฮัจญฺ การอ่านอัลกุรอาน และอื่น ๆ จากสิ่งดังกล่าว และเอาผลบุญดังกล่าวนั้น มอบฮะดียะฮ์ให้แก่มัยยิดมุสลิม เขาย่อมได้รับผลประโยชน์จากสิ่งดังกล่าว ท่านอิมามอะหฺมัด กล่าวว่า ผู้ตายนั้น(ผลบุญ)ทุกๆ สิ่งจากความดีงามจะถึงไปยังเขา เพราะมีบรรดาตัวบทได้รายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้และเพราะบรรดามุสลิมีนในทุก เมือง ได้ทำการรวมตัวกัน และพวกเขาทำการอ่านอัลกุรอาน และพวกเขาก็ทำการฮะดียะฮ์(มอบผลบุญของทุกๆ สิ่งจากความดีงาม) ให้แก่บรรดาผู้ตายของพวกเขา โดยไม่ได้รับการตำหนิเลย ดังนั้น ดังกล่าวย่อมเป็นมติ(อิจญฺมาอ์) และเช่นการขอดุอา และการอิสติฆฟาร นั้น หากแม้ว่า จะฮาดิยะฮ์มอบแก่ท่านร่อซูล(ซ.ล.) ก็ถือว่าอนุญาติ และผลบุญก็ถึงไปยังเขา. ซึ่งได้กล่าวมันโดยท่านอัลมุจญฺ" ดู หนังสือ อัลมุบดิอ์ ชัรหฺ อัลมุกเนี๊ยะอฺ ของท่าน อิบนุ มุฟลิหฺ เล่ม2 หน้า254

ท่านอิบนุกุดามะฮ์  ได้กล่าวว่า

وَلاَ بَأْسَ باِلقِرَاءَةِ عِنْدَ الْقَبْرِ. وَقَدْ رُوِيَ عَنْ أَحْمَدَ أَنَّهُ قَالَ إِذَا دَخَلْتُمُ المَقَابِرَ اِقْرَؤُوْا آيَةَ الْكُرْسِيِّ وَثَلَاثَ مَرَّاتٍ قُلْ هُوَ اللهُ أَحَدٌ الإخلاص.. ثُمَّ قُوْلُوْا اللَّهُمَّ إِنْ فَضْلَهُ لِأَهْلِ المَقَابِرِ

"ถือว่าไม่เป็นไร  ด้วยการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร  เพราะได้ถูกรายงานจากท่านอิมามอะห์มัดว่า  เมื่อพวกท่านได้เข้าไปที่บรรดากุบุร  ก็จงอ่านอายะฮ์กุรซีย์และอ่านกุลฮุวัลลอฮ์สามจบ...หลังจากนั้นพวกท่านจงกล่าวว่า  โอ้ข้าแด่ผู้อภิบาล  ความประเสริฐของมันให้มอบแด่ชาวกุบูรด้วยเถิด" หนังสืออัลมุฆนีย์ 2/224

ท่านอิมามอัลหัฏฏ็อบ  ได้กล่าวไว้ในหนังสือมะวาฮิบ อัลญะลีล  ที่บันทึกทัศนะที่ถูกยึดของมัซฮับมาลิกีไว้ว่า

قَالَ الْقُرْطُبِيُّ : وَيَنْبَغِيْ لِمَنْ عَزَمَ عَلَى زِيَارَةِ الْقُبُوْرِ أَنْ يَتَأَدَّبَ بِآدَابِهَا وَيَحْضُرُقَلْبُهُ فِيْ إِتْيَانِهَا وَلاَ يَكُوْنُ حظُّه التطْوَافَ عَلَى الأَجْدَاثِ فَإِنَّ هَذِهِ الحاَلَةَ تُشَارِكَهُ فِيْهَا الْبَهِيْمَةُ ، بَلْ يَقْصِدُ بِزِيَارَتِهِ وَجْهَ اللهِ تَعَالىَ وَإِصْلَاحَ قَلْبِهِ وَنَفْعَ المَيِّتِ بِالدُّعَاءِ وَمَا يَتْلُوْ عِنْدَهُ مِنَ القُرْآنِ 

"ท่านอัลกุรฏุบีย์กล่าวว่า  สมควรแก่ผู้ที่ตัดสินใจไปเยี่ยมกุบูร  ให้มีระเบียบมารยาทในการเยี่ยมกุบูร  และหัวใจของเขาควรตั้งใจที่จะไปกุบูร  ไม่ใช่เขาเพียงแค่อยากเดินเวียนรอบศพทั้งหลาย  เพราะสัตว์เดรัจฉานมีลักษณะนี้ร่วมอยู่ด้วย  แต่ทว่า  ให้เขาเจตนามุ่งไปเยี่ยมกุบูรเพื่อแสวงความความพึงพอพระทัยของอัลเลาะฮ์และปรับปรุงจิตใจ  และมัยยิดจะได้รับประโยชน์จากดุอาและสิ่งที่เขาได้อ่านจากอัลกุรอาน" หนังสือมะวาฮิบ อัลญะลีล 2/237

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ได้กล่าวว่า

وَأَمَّا قِرَاءَةُ القُرْآنِ وَالصَّدَقَةِ وَغَيْرِهَا مِنْ أَعْمَالِ البٍرِّ فَلاَ نِزَاعَ بَيْنَ عُلَمَاءِ السُّنَّةِ وَالجَمَاعَةِ فِيْ وُصُوْلِ ثَوَابِ الْعِبَادَاتِ الْمَالِيَّةِ كاَلصَّدَقَةِ وَالْعِتْقِ كَمَا يَصِلُ إِلَيْهِ الدُّعَاءُ وَالاِسْتِغْفَارُ وَالصَّلاَةُ عَلَيْهِ صَلاةُ الجَنَازَةِ وَالدُّعَاءُ عِنْدَ قَبْرِهِ، وَتَنَازَعُوْا فِيْ وُصُوْلِ الأَعْمَالِ الْبَدَنِيَّةِ كَالصَّوْمِ وَالصَّلاَةِ وَالقِرَاءَةِ، واَلصَّواَبُ أَنَّ الجَمِيْعَ يَصِلُ إِلىَ المَيِّتِ وَهَذاَ مَذْهَبُ أَحْمَدَ وَأَبِيْ حَنِيْفَةَ وَطَائِفَةٍ مِنْ أَصْحَابِ مَالِكٍ وَالشَّافِعِيِّ، وَهُوْ يُنْتَفَعُ بِكُلِّ مَا يَصِلُ إِلَيْهِ مِنْ كُلِّ مُسْلِمٍ سَواَءٌ كَانَ مِنْ أَقاَرِبهِ أوَ ْغَيْرِهِمْ

"สำหรับ การอ่านอัลกุรอาน , การบริจาคทาน  และอื่น ๆ เป็นอะมัลที่ดีงาม  โดยไม่มีการขัดแย้งกันในเหล่านักปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ที่เกี่ยวกับเรื่องผลบุญอิบาดะฮ์ในเชิงทรัพย์สินนั้นจะถึงมัยยิด  เช่นการศ่อดะเกาะฮ์และการปล่อยทาสนั้นผลบุญก็จะถึงผู้ตาย  เช่นเดียวกันผลบุญจะถึงยังผู้ตายโดยการขอดุอาอ์ , อิสติฆฟาร , การละหมาดญะนาซะฮ์ให้แก่เขา , และการขอดุอาอ์ที่กุบูรของผู้ตาย  และบรรดานักปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ได้ขัดแย้งกันในเรื่องผลบุญถึง ผู้ตายจากอะมัลที่กระทำในทางร่างกาย  เช่น  การถือศีลอด , การละหมาด , การอ่านอัลกุรอาน  และที่ถูกต้องนั้น  คือ  ทั้งหมด(จากการถือศีลอด , การละหมาด(ฮะดียะฮ์ผลบุญไปให้) , การอ่านอัลกุรอานนั้น  ผลบุญจะถึงไปยังผู้ตาย  นี้คือ มัซฮับของอิมามอะห์มัด , อบูหะนีฟะฮ์  และปราชญ์กลุ่มหนึ่งจากสานุศิษย์ของอิมามมาลิกและอิมามชาฟิอีย์  ซึ่งเป็นมัซฮับที่ผู้ตายจะได้รับประโยชน์จากทุก ๆ สิ่งที่มุสลิมทุกคนที่ได้กระทำไม่ว่าจะเป็นเครือญาติหรือไม่ใช่เครือญาติก็ ตาม(ผลบุญฮะดียะฮ์ของพวกเขาจะถึง)ไปยังผู้ตาย"  มัจญ์มั๊วะอัลฟะตาวา 24/366

ท่านมุฮัมมัด อิบนุ อุษมัยมีน แกนนำสำนักวะฮาบีย์ในปัจจุบัน  ได้กล่าวฟัตวาเกี่ยวกับเรื่องการอ่านอัลกุรอานให้วิญญาณผู้ตาย  ความว่า

اَلرَّاجِحُ أَنَّ الميِّتَ يُنْتَفَعُ بِذَلِكَ وَأنَّهُ يَجُوْزُ لِلإِنْسَانِ أَنْ يَقْرَأَ بِنِيَّةِ أنَّهُ لِفُلاَنٍ أَوْ فُلاَنَةٍ مِنَ المُسْلِمِيْنَ سَوَاءٌ كَانَ قَرِيْباً أَمْ غَيْرَ قَرِيْبٍ لِأنَّهُ وَرَدَ فِيْ جِنْسِ العِبَادَاتِ جَوَازُ صَرْفِهَا لِلميِّتِ

"ทัศนะที่มีน้ำหนักแล้วนั้น  ผู้ตายจะได้รับผลประโยชน์ด้วยกับสิ่งดังกล่าว  และอนุญาตให้มนุษย์(มุสลิม) ทำการอ่านอัลกุรอาน ด้วยมีการเหนียตว่า  การอ่านนั้นให้กับผู้ชายคนนั้น  ผู้หญิงคนนี้  จากบรรดามุสลิมีน  ไม่ว่าผู้อ่านจะเป็นเครือญาตใกล้ชิดหรือไม่ใช่เครือญาตก็ตาม  เพราะในชนิดของอิบาดะฮ์ต่าง ๆ นั้นไม่มีระบุรายงานว่าอนุญาตให้มอบผลบุญอิบาดะฮ์ต่าง ๆ ให้แก่ผู้ตาย" หนังสือ มัจญ์มั๊วะอฺ อัษษะมีน มิน ฟะตาวา อิบนุอุษมีน 2/115

ท่านอัซซัยยิด อัลบักรีย์  ได้กล่าวว่า

قَالَ المُحِبُّ الطَّبَرِيُّ : يَصِلُ لِلْمَيِّتِ كُلُّ عِبَادَةٍ تُفْعَلُ عَنْهُ وَاجِبَةً أَوْ مَنْدُوْبَةً . وَفِي شَرْحِ المُخْتَارِ لِمُؤَلِّفِهِ : مَذْهَبُ أَهْلِ السُّنَّةِ ، إِنَّ للإِنْسَانِ أَنْ يَجْعَلَ ثَوَابَ عَمَلِهِ وَصَلاَتِهِ لِغَيْرِهِ وَيَصِلُهُ . وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أَعْلَمُ

"ท่านอัลมุฮิบอัลฏ็อบรีย์  ได้กล่าวว่า  ทุก ๆ อิบาดะฮ์ที่ทำให้แก่มัยยิดไม่ว่าจะเป็นอิบาดะฮ์วายิบหรือสุนัต(ผลบุญ)ย่อม ถึงมัยยิด  และในหนังสือชัรห์อัลมุคตาร ของท่านมุฮิบอัฏฏ็อบรีย์ได้ระบุว่า "มัซฮับอะฮ์ลิสซุนนะฮ์นั้น  คืออนุญาตให้แก่มุสลิมทำการ(ฮะดียะฮ์)ผลบุญการปฏิบัติอะมัลและการละหมาดของ เขาให้แก่ผู้อื่นได้และผลบุญจะถึงไปยังเขาด้วย"  วัลลอฮุซุบฮานุฮูวะตะอาลาอะลัม" หนังสือ อิอานะฮ์อัฏฏอลิบีน 3/357 ตีพิมพ์ดารุลฟิกร์ 

ท่านอัลลามะฮ์ อัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์  ได้กล่าวว่า

وَقَالَ السُّبْكِيُّ وَالَّذِيْ دَلَّ عَلَيْهِ الخَبَرُ بِالاِسْتِنْبَاطِ أَنَّ بَعْضَ القُرْآنِ إِذَا قُصِدَ بِهِ نَفْعُ المَيِّتِ وَتَخْفِيْفُ مَا هُوَ فِيْهِ نَفَعَهُ إِذْ ثَبَتَ أَنَّ الفَاتِحَةَ لمِاَ قَصَدَ بِهَا القَارِىءُ نَفْعَ المَلْدُوْغِ نَفَعَتْهُ وَأَقَرَّهُ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِقَوْلِهِ وَمَا يُدْرِيْكِ أَنَّهَا رُقْيَةٌ وَإِذَا نَفَعَتِ الْحَيَّ بِالْقَصْدِ كَانَ نَفْعُ المَيِّتِ بِهَا أَوْلَى  

"ท่านชัยคุลอิสลามอัสซุบกีย์ได้กล่าวว่า  สิ่งที่ฮะดีษได้บ่งชี้โดยการวิเคราะห์จากตัวบทนั้น  คือแท้จริง  บางส่วนของอัลกุรอานนั้น  เมื่อมีเจตนาตั้งใจด้วยกับมันอันยังคุณประโยชน์แก่มัยยิดและผ่อนบรรเทาสิ่งที่มัยยิดได้ประสบอยู่  แน่นอนอัลกุรอานบางส่วนนั้นก็จะมีประโยชน์แก่มัยยิด  เนื่อจากได้รับการยืนยันว่า  แท้จริงซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์นั้น  เมื่อผู้อ่านได้มีเจตนาตั้งใจอ่านมันเพื่อยังคุณประโยชน์แก่ผู้ที่ถูกสัตว์ร้ายต่อย  แน่นอนซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ก็จะยังคุณประโยชน์แก่เขา  เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ให้การยอมรับด้วยคำพูดของท่านว่า  "อะไรที่ทำให้เธอรู้ว่ามันคือการเป่า(เพื่อการรักษาว่ามันยังคุณประโยชน์ด้วยซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์)"  ดังนั้นเมื่ออัลฟาติฮะฮ์ยังคุณประโยชน์แก่คนเป็นด้วยการเจตนาตั้งใจ(อ่านเพื่อยังคุณประโยชน์ในการรักษาพิษของสัตว์ร้ายที่ต่อย)  แน่นอนการได้รับประโยชน์ของมัยยิดจากซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์นั้น  ย่อมได้รับยิ่งกว่า" หนังสือ“มุฆนีย์ อัล-มุห์ตาจญ์” เล่มที่ 3  หน้า 67 

ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์ได้กล่าวว่า

 وَرَأَيْتُ فِى التَّوَارِخِ كَثِيْرًا فِىْ تَرَاجِمِ الأَئِمَّةِ يَقُوْلُوْنَ : وَأَقَامَ النَّاسُ عَلَى قَبْرِهِ سَبْعَةَ أَيَّامٍ يَقْرَؤُوْنَ القُرْاَنَ ، وَأَخْرَجَ الْحَافِظُ الْكَبِيْرُ أَبُوْ القَاسِمِ بْنُ عَسَاكِرَ فِىْ كَتَابِهِ الْمُسَمَّي تَبْيِيْنِ كَذْبِ الْمُفْتَرِيْ فِيْمَا نُسِبَ إِلَى الإِمَامِ أَبِى الْحَسَنِ الأَشْعَرِىِّ سَمِعْتُ الشَّيْخَ الْفَقِيْهَ أَبَا الْفَتْحِ نَصْرَ اللهِ بْنَ مُحَمَّدٍ بْنِ عَبْدِ الْقَوِىِّ اَلْمَصِيْصِيِّ يَقُوْلُ : تُوُفِّىَ الشَّيْخُ نَصْرُ بْنِ إِبْرَاهِيْمِ الْمُقَدِّسِىُّ فِىْ يَوْمِ الثُّلاَثَاءِ التَّاسِعِ مِنَ الْمُحَرَّمِ سَنَةَ تَسْعِيْنَ وَأَرْبَعِمِائَةٍ بِدِمَشْقَ وَأَقَمْنَا عَلَى قَبْرِهِ سَبْعَ لَيَالٍ نَقْرَأُ كُلَّ لَيْلَةٍ عِشْرِيْنَ خَتْمَةً

"และข้าพเจ้า(คืออิมามอัสศะยูฏีย์) ได้เห็น(ทราบ)จากบรรดาประวัติศาสตร์มากมายของบรรดานักปราชญ์ ซึ่งพวกเขากล่าวว่า "บรรดานักปราชญ์ได้ทำการอาศัยอยู่ที่กุบูรผู้เสียชีวติ 7 วัน เพื่อทำการอ่านอัลกุรอาน , ท่านอัลหะฟิซฺผู้อาวโส คือท่านอบู อัลกอซิม บิน อะซากิร ได้นำเสนอรายงานไว้ในหนังสือของท่านที่มีชื่อว่า "ตับยีน กัซบฺ อัลมุฟตะรีย์ ฟีมา นุซิบ่า อิลา อัลอิมาม อบี อัลหะซัน อัลอัชอะรีย์ ว่า ข้าพเจ้าได้ยินท่าน ชัยค์ ผู้เป็นนักปราชญ์ฟิกห์ คือ อบู อัลฟัตหฺ นัสรุลเลาะฮ์ บิน มุฮัมมัด บิน อัลดุลก่อวีย์ อัลมะซีซีย์ กล่าวว่า "ท่านชัยค์ นัสรฺ บิน อิบรอฮีม อัลมุก๊ออดิซีย์ ได้เสียชีวติในวันอังคารที่ 9 เดือน มุหัรรอม ปี ที่ 490 ณ นครดิมัชกฺ และเราได้ทำการอาศัยที่อยู่ที่กุบูรของเขา 7 คืน โดยเราทำการอ่านอัลกุรอานในทุก ๆ คืน ถึง 20 จบ" ดู หนังสือ อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา เล่ม 2 หน้า 234 

นี่คือจุดยืนของปวงปราชญ์อันมากมาย ที่ว่าผลบุญการอ่านอัลกุรอานถึงมัยยิด  ซึ่งเพียงพอแล้วที่จะทำให้ทัศนะอ่านอัลกุรอานไม่ถึงผู้ตายที่ อ.ปราโมทย์เลือกนั้น มีน้ำหนักที่อ่อน

สรุปบทวิเคราะห์

1. การอ่านอัลกุรอ่านแล้วฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิด  ถือว่าผลบุญไปถึงมัยยิดตามทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮ์และท่านอิบนุก็อยยิม  แต่การรวมตัวของบรรดาผู้ที่มาปลอบใจแล้วอ่านอัลกุรอานกันนั้น  ถือว่าบิดอะฮ์มักโระฮ์ตามทัศนะของท่านอิบนุก็อยยิม  แต่ปราชญ์ยุคก่อนท่านอิบนุก็อยยิมถือว่าไม่เป็นบิดอะฮ์แต่อย่างใด  ยิ่งกว่านั้นยังเป็นมติ(อิจญฺมาอฺ)ให้รวมตัวกันอ่านอัลกุรอานและฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิดได้  ซึ่งเป็นอิจญฺมาอฺที่มีน้ำหนักยิ่งกว่า

2. การอ่านอัลกุรอานแล้วเหนียตผลบุญฮะดียะฮ์แก่มัยยิดนั้น  ผลบุญจะถึงไปยังมัยยิดตามทัศนะของปราชญ์ส่วนมาก  ส่วนทัศนะของอิมามชาฟิอีย์ก็ด้วยสื่อการขอดุอา  ผลบุญการอ่านอัลกุรอานจะถึงและให้ประโยชน์แก่มัยยิด    

3. ผู้ที่มีทัศนะอ่านอัลกุรอานฮะดียะฮ์ผลบุญไม่ถึงมัยยิด  แน่นอนมัยยิดของเขาก็จะไม่ได้รับผลบุญส่วนนี้  ส่วนผู้ที่มีทัศนะว่าอ่านอัลกุรอานและขอดุอาฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิด  อัลเลาะฮ์ก็จะทรงรับดุอานั้น  ซึ่งต่างก็มีอิสระในการเลือกโดยไม่ละเมิดต่อกันตามแบบฉบับของสะละฟุศศอลิห์

وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
[/size]

[size=17]วิภาษโดย : อัลฮัซฮะรีย์ ณ บ้านกุ๊บบ้า ไคโร - อียิปต์ เมื่อวันที่ : 2/12/2009 [/size]




Re: วิภาษบทความ อ.ปราโมทย์ เรื่องอุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย By: ILHAM Date: ก.พ. 14, 2009, 01:15 AM
เชิญบรรเลงต่อเลยบัง เตรียมอ่านอยู่ ชอบจริงเรื่องแนวนี้




Re: วิภาษบทความ อ.ปราโมทย์ เรื่องอุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย By: กูปีเยาะฮฺสะอื้น Date: ก.พ. 14, 2009, 03:44 PM
เต็มที่ไป




Re: วิภาษบทความ อ.ปราโมทย์ เรื่องอุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย By: Al Fatoni Date: ก.พ. 14, 2009, 04:01 PM
อ้างจาก: al-azhary ที่ ก.พ. 14, 2009, 01:10 AM

อ้างจาก: Al Fatoni ที่ ก.พ. 13, 2009, 08:31 PM

ไม่ทราบว่ามีประเด็นอีกไหม เกี่ยวกับเรื่องอุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย ที่เรายังไม่ทราบ และไม่ได้รับการชี้แจงให้กระจ่าง หากหมดแล้วจริงๆ ผมว่า หยุดเถอะครับ และทำการรวบรวมแจกจ่ายให้พี่น้องของเราได้รับทราบ หากมีการต่อต้านก็ปล่อยไป เราก็ชี้แจงในสิ่งที่ชี้แจงมาแล้วซ้ำไปอีก ผมชักไม่แน่ใจว่า สิ่งที่เราเถียงอยู่นี้ เราเถียงกันเรื่องอะไร เพราะหากมันนอกเหนือจากประเด็นแล้ว จบๆ ไปเถอะครับ มัน...ไม่รู้จะว่าไงแล้วอะครับ - วัสสลาม
[size]



ยังมีอีกครับ เพราะที่บังได้เขียนวิภาษข้างต้นนั้น  บังไม่ได้วิภาษที่บ้านเพราะไปเยี่ยมบ้านเพื่อนมิตรสหาย หนังสือค้นคว้าเลยน้อย  แต่ตอนนี้กลับมาบ้านพักแล้ว  ก็มีหนังสือค้นคว้าเพิ่มเติมอีกรอบ [/size]



               หากบังพิมพ์ในเวิร์ด บังช่วยส่งให้ผมด้วยได้ไหมครับ ผมจะได้เอาไปรวบรวมและตรวจทานคำและสำนวนให้ จากนั้น เมื่อเสร็จ ผมจะให้บังดูอีกที หากผ่าน ผมจะขออนุญาตเอาไปทำเป็นเล่ม อาจจะพิมพ์ เดียวเรื่องนี้ผมติดต่อกับบังนกเดินทางอีกที เรื่องพิมพ์ๆ พวกนี้ บังเค้าถนัด อิอิ ถ้าเป็นไปได้ บังน่าจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ หรือบทนะ ว่าไปทีละประเด็น ทีละเรื่อง คนอ่านจะได้ไม่งง เพราะต้องยอมรับจริงๆ ว่า คนที่ติดตามเรื่องนี้ เป็นคนเอาวามส่วนใหญ่ แต่หาน้อยมากที่เข้าใจในสิ่งที่บังๆ และท่านๆ ได้วิพากษ์กัน - วัสสลาม




Re: วิภาษบทความ อ.ปราโมทย์ เรื่องอุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย By: al-azhary Date: ก.พ. 14, 2009, 05:52 PM
อ้างจาก: Al Fatoni ที่ ก.พ. 14, 2009, 04:01 PM

เพราะต้องยอมรับจริงๆ ว่า คนที่ติดตามเรื่องนี้ เป็นคนเอาวามส่วนใหญ่ แต่หาน้อยมากที่เข้าใจในสิ่งที่บังๆ และท่านๆ ได้วิพากษ์กัน - วัสสลาม



[size=17]ก็ต้องเห็นใจพี่น้องทั่วไปที่อาจจะไม่ค่อยเข้าใจบทวิภาษ  เพราะขนาดบางครั้งบังเองก็ยังไม่เข้าใจสิ่งที่ อ.ปราโมทย์ วิภาษเลยครับ  ต่อไปนี้จะเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานแล้วมอบฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิด Grin[/size]




Re: วิภาษบทความ อ.ปราโมทย์ เรื่องอุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย By: fikree Date: ก.พ. 14, 2009, 08:05 PM
ถึงแม้ว่าเว็บนี้จะมีคนเอาวามอ่านกันเป็นส่วนมากแต่ขอให้วิภาษต่อไปเถอะเรื่องมันจะได้กระจ่างกันสักที่ ตามที่ผมได้ติดตามปัญหาคีลาฟียะห์ บังอัซอารีย์คนนี้แหละที่อธิบายเข้าใจที่สุดเท่าทีเคยพบมา เคยอ่านสือ masaalah agama  (ปัญหาข้อโย้งเรื่องศาสนา) ของ sirajuddinAbbas อูลามาอ์ของอินโดนีเซียก็เข้าใจเพราะใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และเคยมีทางสำนักพิมพ์ ส .วงศ์เสงียม แปลหนังสือเหล่านี้เป็นภาษาไทยก็ใช้ได้ แต่หลักฐานอ้างอิ้ง ไม่มากเท่ากับของคุณอัซฮารีย์จงอยู่ตรงนี้ให้นานๆ เพื่อปกป้องพี่น้องชาวอะห์ลีซุนนะห์ทุกคน ขอให้อัลอห์ทรงเพิ่มพูนวิชาความรู้ให้แก่ท่าน พร้อมมีวิชาตาเซาวุฟอยู่ใจ ชีวิตจะไม่ได้หลงตนเอง (เพราะจุดนี้คือสิ่งที่น่ากลัว ) และยกระดับตำแหน่งให้สู่งส่ง เหมือนกับอุลามาอ์ที่ทรงคุณธรรม  อามีนยาร๊อบ    ต่อไปนี้จะเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานแล้วมอบฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิด Angel ต่อไปนี้จะเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานแล้วมอบฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิด Angel




Re: วิภาษบทความ อ.ปราโมทย์ เรื่องอุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย By: Al Fatoni Date: ก.พ. 14, 2009, 09:16 PM
ที่จริงผมก็ไม่ได้ต้องการให้ยุติเรื่องพวกนี้ หากแต่เป็นการดีที่จะวิจารณ์มัน อีกสิ่งที่ต้องการบอกก็คือ การนำเสนอใดๆ โดยเฉพาะในเมื่อเป็นการวิจารณ์ หรือวิพากษ์นั้น ก็อยากให้ผู้นำเสนอนั้น ช่วยนำเสนอเป็นหมวดหมู่ คล้ายๆ กับเป็นสารบัญ แล้วว่ากันไป เป็นเรื่องๆ เป็นประเด็นๆ ไป ซึ่งอย่างน้อยจะทำให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะคนเอาวามจะได้เข้าใจอย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ก็แค่นี้หละครับ - วัสสลาม




Re: วิภาษบทความ อ.ปราโมทย์ เรื่องอุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย By: sufriyan Date: ก.พ. 14, 2009, 11:49 PM
 salam

อัลฮัมดูลิลลา  อ่านความเห็นคุณ Fikree แล้ว เหมือนใจผมเป๊ะเลย ทำให้ผมเห็นว่า วิชาการศาสนานั้น มากมายและลึกล้ำจริงๆ เพราะอ่านหนังสือ ท่านซีรอยุดดีน อับบาส ว่าเข้าใจแล้ว มาคราวนี้  อ.อัชฮารี เติมเต็มให้กับเราคนเอาวาม ได้เข้าใจและมั่นใจยิ่งๆขึ้นไป อัลฮัมดูลิลละ อิ่มสมองเลยครับ
 

วัสลาม




Re: วิภาษบทความ อ.ปราโมทย์ เรื่องอุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย By: al-azhary Date: ก.พ. 15, 2009, 08:20 AM
 salam

[size=17]ทุกคำติชมนั้น  คืออัลเลาะฮ์ต้องการที่จะปกปิดข้อตำหนิอันมากมายของตัวกระผมนั่นเอง [/size]




Re: วิภาษบทความ อ.ปราโมทย์ เรื่องอุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย By: Imtinan Date: ก.พ. 15, 2009, 08:26 AM

salam   ค่ะ


เล็กๆน้อยๆจาก imtinan  ค่ะ

ขอแจมด้วยคนนะค่ะบัง 
(มือใหม่)
 บังอาจจะเคยโพสต์มาแล้ว แต่  imtinan  อยากเสนอ  เป็นภาษามาลายูปนอินโดหน่อยๆ เหอๆ ต่อไปนี้จะเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานแล้วมอบฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิด Biggrin

Mereka yang mempunyai anggapan bahwa doa kepada mayit tidak sampai sepertinya hanya secara tekstual (harfiyah) memahami suatu dalil tanpa menghubungkan dengan dalil-dalil lainnya. 

Sehingga kesimpulan yang mereka ambil mengenai do’a, bacaan Al-Qur’an, shadaqoh dan tahlil tidak berguna bagi orang yang telah meninggal. Dalam ayat lain Allah SWT menyatakan bahwa orang yang telah meninggal dapat menerima manfaat doa yang dikirimkan oleh orang yang masih hidup. Allah SWT berfirman: 
وَالَّذِيْنَ جَاءُوْامِنْ بَعْدِ هِمْ يَقُوْلُوْنَ رَبَّنَااغْفِرْلَنَا وَلإخَْوَانِنَاالَّذِيْنَ سَبَقُوْنَا بِاْلإَْيْمَانِ......

“Dan orang-orang yang datang setelah mereka, berkata: Yaa Tuhan kami, ampunilah kami dan ampunilah saudara-saudara kami yang telah mendahului kami dengan beriman.” (QS Al-Hasyr 59: 10)

1. ٍAyat ini menunjunkkan bahwa doa generasi berikut bisa sampai kepada generasi pendahulunya yang telah meninggal. Begitu juga keterangan dalam kitab “At-Tawassul” karangan As-Syaikh Albani menyatakan: “Bertawassul yang diizinkan dalam syara’ adalah tawassul dengan nama-nama dan sifat-sifat Allah, tawassul dengan amalan soleh dan tawassul dengan doa orang shaleh.” 

2. Mukjizat para nabi, karomah para wali dan ma’unah para ulama tidak terputus dengan kematian mereka. Dalam kitab Syawahidu al Haq, karya Syeikh Yusuf Ibn Ismail an-Nabhani: 118 dinyatakan: 
وَيَجُوزُ التَّوَسُّلُ بِهِمْ إلَى اللهِ تَعَالَى ، وَالإِسْتِغَاثَةُ بِالأنْبِيَاءِ وَالمُرْسَلِيْنَ وَالعُلَمَاءِ وَالصَّالِحِيْنَ بَعْدَ مَوتِهِمْ لأَنَّ مُعْجِزَةَ الأَنْبِيَاءِ وَكَرَمَاتِ الأَولِيَاءِ لاَتَنْقَطِعُ بِالمَوتِ

“Boleh bertawassul dengan mereka (para nabi dan wali) untuk memohon kepada Allah SWT dan boleh meminta pertolongan dengan perantara para Nabi, Rasul, para ulama dan orang-orang yang shalih setelah mereka wafat, karena mukjizat para Nabi dan karomah para wali itu tidaklah terputus sebab kematian.”(Syeikh Yusuf Ibn Ismail an-Nabhani, Syawahidul Haq, (Jakarta: Dinamika Berkah Utama, t.th), h. 118)

3. Dasar hukum yang menerangkan bahwa pahala dari bacaan yang dilakukan oleh keluarga mayit atau orang lain itu dapat sampai kepada si mayit yang dikirimi pahala dari bacaan tersebut adalah banyak sekali. Antara lain hadits yang dikemukakan oleh Dr. Ahmad as-Syarbashi, guru besar pada Universitas al-Azhar, dalam kitabnya, Yas`aluunaka fid Diini wal Hayaah juz 1 : 442, sebagai berikut: 
وَقَدِ اسْتَدَلَّ الفُقَهَاءُ عَلَى هَذَا بِأَنَّ أَحَدَ الصَّحَابَةِ سَأَلَ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهِ عَلَيْهِ وَسَلَّم فَقَالَ لَهُ: يَا رَسُولَ اللهِ إِنَّا نَتَصَدَّقُ عَنْ مَوتَانَا وَنُحَجُّ عَنْهُمْ وَنَدعُو لَهُمْ هَلْْ يَصِلُ ذَلِكَ إِلَيْهِمْ؟ قَالَ: نَعَمْ إِنَّهُ لَيَصِلُ إِلَيْهِمْ وَإِنَّهُمْ لَيَفْرَحُوْنَ بِهِ كَمَا يَفْرَحُ اَحَدُكُم بِالطَّبَقِ إِذَا أُهْدِيَ إِلَيْهِ!

“Sungguh para ahli fiqh telah berargumentasi atas kiriman pahala ibadah itu dapat sampai kepada orang yang sudah meninggal dunia, dengan hadist bahwa sesungguhnya ada salah seorang sahabat bertanya kepada Rasulullah saw, seraya berkata: Wahai Rasulullah, sesungguhnya kami bersedekah untuk keluarga kami yang sudah mati, kami melakukan haji untuk mereka dan kami berdoa bagi mereka; apakah hal tersebut pahalanya dapat sampai kepada mereka? Rasulullah saw bersabda: Ya! Sungguh pahala dari ibadah itu benar-benar akan sampai kepada mereka dan sesungguhnya mereka itu benar-benar bergembira dengan kiriman pahala tersebut, sebagaimana salah seorang dari kamu sekalian bergembira dengan hadiah apabila hadiah tersebut dikirimkan kepadanya!"

Sedangkan Memberi jamuan yang biasa diadakan ketika ada orang meninggal, hukumnya boleh (mubah), dan menurut mayoritas ulama bahwa memberi jamuan itu termasuk ibadah yang terpuji dan dianjurkan. Sebab, jika dilihat dari segi jamuannya termasuk sedekah yang dianjurkan oleh Islam yang pahalanya dihadiahkan pada orang telah meninggal. Dan lebih dari itu, ada tujuan lain yang ada di balik jamuan tersebut, yaitu ikramud dla`if (menghormati tamu), bersabar menghadapi musibah dan tidak menampakkan rasa susah dan gelisah kepada orang lain.

Ketiga hal tersebut, semuanaya termasuk ibadah dan perbuatan taat yang diridlai oleh Allah AWT. Syaikh Nawawi dan Syaikh Isma’il menyatakan: "Bersedekah untuk orang yang telah meninggal dunia itu sunnah (matlub), tetapi hal itu tidak harus dikaitkan dengan hari-hari yang telah mentradisi di suatu komunitas masyarakat dan acara tersebut dimaksudkan untuk meratapi mayit. 
وَالتَّصَدُّقُ عَنِ المَيِّتِ بِوَجْهٍ شَرْعِيٍ مَطْلُوْبٌ وَلاَ يَتَقَيَّدُ بِكَوْنِهِ فِىْ سَبْعَةِ أَيَّامٍ أَوْ أَكْثَرَ أَوْ أَقَلَّ وَتَقْيِيْدُ بَعْضِ الأَيَّامِ مِنَ العَوَائِدِ فَقَطْ كَمَا أَفْتىَ بِذَالِكَ السَيِّدُ اَحْمَد دَحْلاَنْ وَقَدْ جَرَتْ عَادَةُ النَّاسِ بِالتَّصَدُّقِ عَنِ المَيِّتِ فِىْثاَلِثٍ مِنْ مَوْتِهِ وَفِىْسَابِعٍ وَفِىْ تَمَامِ العِشْرِيْنَ وَفِى الأَرْبَعِيْنَ وَفِى المِائَةِ وَبَعْدَ ذَالِكَ يَفْعَلُ كُلَّ سَنَةٍ حَوْلاً فِىْ يَوْمِ المَوْتِ 

"Memberi jamuan secara syara’ (yang pahalanya) diberikan kepada mayyit dianjurkan (sunnah). Acara tersebut tidak terikat dengan waktu tertentu seperti tujuh hari. Maka memberi jamuan pada hari ketiga, ketujuh, kedua puluh, ke empat puluh, dan tahunan (hawl) dari kematian mayyit merupakat kebiasaan (adat) saja. (Nihayatuz Zain: 281 , I’anatuth-thalibin, Juz II: 166)
HM Cholil Nafis MA
Wakil Ketua Lembaga Bahtsul Masa’il PBNU



wasSalamuAlaikum  kah ต่อไปนี้จะเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานแล้วมอบฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิด Biggrin




Re: วิภาษบทความ อ.ปราโมทย์ เรื่องอุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย By: al-azhary Date: ก.พ. 15, 2009, 08:28 AM
 salam

[size=17]เดิมทีผมได้ทำการวิภาษในสองกระทู้แรก  แต่วันนี้ผมได้เพิ่มเติมข้อมูลเข้าไปอีก  จนกระทั่งตัวอักษรเยอะเกินกว่า 20000 อักษร  จึงทำให้จุไม่เพียงพอในการนำเสนอ  ผมจึงลบคำเสวนาของพี่น้องสมาชิกไปหลายกระทู้เสวนาเลยล่ะครับ  เพื่อที่จะแบ่งโพสต์บทความให้ได้ 3 กระทู้อย่างต่อเนื่อง  จึงเรียนมาให้ทราบครับ

ยังข้อมูลที่จะนำเสนอเพิ่มยังมีอีกนะครับ  พี่น้องท่านใดจะปริ้น ก็รอก่อน  แล้วพี่น้องวะฮาบีคนใหนจะปริ้นไปให้ อ.ปราโมทย์ วิภาษต่อ  ก็อย่าเพิ่งน่ะครับ เพราะผมยังวิภาษไม่เสร็จเลย  ต่อไปนี้จะเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานแล้วมอบฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิด Grin

วัสลาม
[/size]




Re: วิภาษบทความ อ.ปราโมทย์ เรื่องอุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย By: al-azhary Date: ก.พ. 15, 2009, 09:52 AM
อ้างจาก: Imtinan ที่ ก.พ. 15, 2009, 08:26 AM


وَالتَّصَدُّقُ عَنِ المَيِّتِ بِوَجْهٍ شَرْعِيٍ مَطْلُوْبٌ وَلاَ يَتَقَيَّدُ بِكَوْنِهِ فِىْ سَبْعَةِ أَيَّامٍ أَوْ أَكْثَرَ أَوْ أَقَلَّ وَتَقْيِيْدُ بَعْضِ الأَيَّامِ مِنَ العَوَائِدِ فَقَطْ كَمَا أَفْتىَ بِذَالِكَ السَيِّدُ اَحْمَد دَحْلاَنْ وَقَدْ جَرَتْ عَادَةُ النَّاسِ بِالتَّصَدُّقِ عَنِ المَيِّتِ فِىْثاَلِثٍ مِنْ مَوْتِهِ وَفِىْسَابِعٍ وَفِىْ تَمَامِ العِشْرِيْنَ وَفِى الأَرْبَعِيْنَ وَفِى المِائَةِ وَبَعْدَ ذَالِكَ يَفْعَلُ كُلَّ سَنَةٍ حَوْلاً فِىْ يَوْمِ المَوْتِ 

"Memberi jamuan secara syara’ (yang pahalanya) diberikan kepada mayyit dianjurkan (sunnah). Acara tersebut tidak terikat dengan waktu tertentu seperti tujuh hari. Maka memberi jamuan pada hari ketiga, ketujuh, kedua puluh, ke empat puluh, dan tahunan (hawl) dari kematian mayyit merupakat kebiasaan (adat) saja. (Nihayatuz Zain: 281 , I’anatuth-thalibin, Juz II: 166)
HM Cholil Nafis MA
Wakil Ketua Lembaga Bahtsul Masa’il PBNU[/center]


[size=17]
ชัยค์มุฮัมมัด นาวาวี อัลญาวีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ ได้กล่าวว่า

وَالتَّصَدُّقُ عَنِ المَيِّتِ بِوَجْهٍ شَرْعِيٍ مَطْلُوْبٌ وَلاَ يَتَقَيَّدُ بِكَوْنِهِ فِىْ سَبْعَةِ أَيَّامٍ أَوْ أَكْثَرَ أَوْ أَقَلَّ وَتَقْيِيْدُ بَعْضِ الأَيَّامِ مِنَ العَوَائِدِ فَقَطْ كَمَا أَفْتىَ بِذَالِكَ السَيِّدُ اَحْمَد دَحْلاَنْ وَقَدْ جَرَتْ عَادَةُ النَّاسِ بِالتَّصَدُّقِ عَنِ المَيِّتِ فِي ثاَلِثٍ مِنْ مَوْتِهِ وَفِي سَابِعٍ وَفِىْ تَمَامِ العِشْرِيْنَ وَفِى الأَرْبَعِيْنَ وَفِى المِائَةِ وَبَعْدَ ذَالِكَ يَفْعَلُ كُلَّ سَنَةٍ حَوْلاً فِىْ يَوْمِ المَوْتِ كَمَا أَفَادَهُ شَيْخُنَا يُوْسُفُ السَّنْبَلاَوِيْنِيُّ  

"การทำศ่อดาเกาะฮ์(บริจาคทาน)แทนจากมัยยิดด้วยหนทางตามหลักศาสนานั้น  เป็นสิ่งที่ถูกใช้  และไม่ถูกจำกัดว่าการศ่อดาเกาะฮ์(บริจาคทาน)นั้นในช่วงเจ็ดวัน หรือมากกว่านั้น หรือน้อยกว่านั้น  หรือจำกัดเพียงบางบางวันนั้น  มาจากเรื่องของอาดัตเท่านั้น(ไม่ใช่อิบาดะฮ์) ดังที่ได้ฟัตวาสิ่งดังกล่าวโดยท่านอัซซัยยิด อะห์มัด อะห์ลาน (มุฟตีแห่งมักกะฮ์) และธรรมเนียมของผู้คนได้ทำการศ่อดาเกาะฮ์แทนจากมัยยิดในวันที่ 3 จากการวันที่มัยยิดเสียชีวิต และไม่ในวันที่ 7 , และเมื่อครบ 20 วัน และในวันที่ 40 , และใน 100 วัน และหลังจากวันเหล่านั้น  ซึ่งจะกระทำกันทุกรอบหนึ่งปีจากวันตาย ตามที่อาจารย์ของเรา คือชัยค์ยูซุฟ อัซบะลาวีนีย์ ได้บอกให้เราทราบ" หนังสือนิฮายะตุซซัยน์ ชัรห์กุรตุลอัยน์ 1/253 
โหลดหนังสือนิฮายะตุซซัยน์ได้ที่นี่
[/size]




Re: วิภาษบทความ อ.ปราโมทย์ เรื่องอุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย By: ILHAM Date: ก.พ. 15, 2009, 11:41 AM
นานๆมีสาวมลายูแท้ๆออกมาสักคน ดีใจ





[size=16]ต่อไปนี้จะเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานแล้วมอบฮะดียะฮ์ผลบุญแก่มัยยิด Archive.php?topic=4180 
SMF Archive Funded by SMF For Free Free Forum Hosting
[/size]


Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ