เว็บบอร์ด
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

อิจญ์ติฮาด

Go down

อิจญ์ติฮาด Empty อิจญ์ติฮาด

ตั้งหัวข้อ by Profile Fri Dec 05, 2014 7:43 pm

อิจญ์ติฮาด (อาหรับ: [size=32]اجتهاد[/size]‎, อังกฤษ: Ijtihad) ทางภาษา คือ การใช้ความพยายามและความสามารถ ทางวิชาการศาสนา คือ การใช้ความพยายามเกี่ยวกับตัวบทหลักฐานเพื่อวิเคราะห์และวินิจฉัยกำหนดบทบัญญัติ
กฎบัญญัติของศาสนาอิสลาม มาจากพระผู้เป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) ที่บัญญัติมาทางพระดำรัสหรืออัลกุรอาน และความรู้อีกส่วนหนึ่งที่ประทานให้แก่นบีมุฮัมมัด ที่เรียกว่า ซุนนะฮฺ หรือ หะดีษ ซึ่งทั้งอัลกุรอานและหะดีษ เป็นคำสอนอันบริสุทธิ์จากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับสัจธรรมที่มาที่ไปและความเป็นจริงของโลกและชีวิตมนุษย์ทุกคน มีเนื้อหาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทางธรรมชาติ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งเร้นลับ การเกิดการตาย เป้าหมายของการมาอยู่บนโลกและทางรอดของชีวิต และก็มีส่วนที่เป็นกฎหมายหรือบทบัญญัติ ที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อพระเจ้า พึงปฏิบัติต่อมนุษย์ และการปกครองสังคม
กฎหมายนี้ในภาษาอาหรับเรียกว่า "ชารีอะฮฺ" ซึ่งมีที่มาคือ

  1. อัลกุรอาน
  2. หะดีษ
  3. อิจมาอฺ (มติเอกฉันท์ของบรรดาปราชญ์)
  4. กิยาส (เทียบเคียงตัวบทและฎีกาสมัยของท่านนบีและสาวก)

บรรดาปราชญ์ของอิสลามนั้นเรียกว่า "อุละมาอฺ"(ผู้รู้) ซึ่งจะมีส่วนหนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็น "มุจญ์ตะฮิด"
มุจญ์ตะฮิด (อาหรับ: [size=32]مجتهد[/size]‎, อังกฤษ: Mujtahid) หมายถึง ผู้ที่สามารถทำการอิจญ์ติฮาดได้ คือ ผู้มีคุณธรรม มีความเชี่ยวชาญในภาษา มีความรู้ในอัลกุรอานและหะดีษอย่างลึกซึ้ง รู้ความหมายและที่มาที่ไปของบัญญัติตลอดจนเป้าหมาย มีความรู้ในประวัติของนบีและบรรดาสาวก ตลอดจนฎีกาต่างๆในแต่ละยุคสมัยเป็นอย่างดี นอกจากนั้นก็ยังมีความรู้ทางสังคม การเมือง และความรู้รอบตัวอื่นๆอีกด้วย ฉะนั้นเหตุการณ์หรือสิ่งใหม่ที่ไม่มีปรากฏในสมัยของท่านนบีและสาวก บรรดามุจญ์ตะฮิดจะทำการวินิจฉัยหรืออิจญ์ติฮาดเพื่อกำหนดบัญญัติให้ผู้คนถือปฏิบัติ เนื่องจากกฎหมายอิสลามหรือชารีอะฮฺนั้น มีคำสั่งโดยกว้างๆครอบคลุมตลอดไปทุกยุคทุกสมัย และบังคับใช้จนถึงวันสิ้นโลก
"ฟัตวา" หมายถึง การชี้คำตอบในปัญหาศาสนา หรือการให้คำตัดสินเกี่ยวกับบัญญัติ
"มุฟตี" หมายถึง ผู้ตอบปัญหาศาสนา หรือผู้ให้คำตัดสินในเรื่องบัญญัติ ซึ่งคุณสมบัติของมุฟตีนั่นแค่เพียงรู้ชารีอะฮฺอิสลาม ไม่จำเป็นต้องรอบรู้ไปทุกด้าน
กรณีหากเกิดขัดแย้ง หรือเข้าใจศาสนาไม่ตรงกัน ให้มุสลิมนั้นกลับไปที่อัลกุรอานและหะดีษ และละทิ้งเรื่องที่คลุมเครือ ส่วนกรณีปัญหาขัดแย้งระหว่างบุคคล ให้ยุติที่คำตัดสินของศาล (กอฎี หรือในเมืองไทยเรียกดาโต๊ะ)


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88:%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1




https://www.google.co.th/?gws_rd=ssl#q=%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%AE%E0%B8%B4%E0%B8%94+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

อิจญ์ติฮาด Empty Re: อิจญ์ติฮาด

ตั้งหัวข้อ by Profile Sat Dec 06, 2014 5:44 pm

مجتهد المذهب:(288)
ومرتبته دون مرتبة المجتهد المطلق .
وهو الذي يتمكن من تخريج الوجوه التي يبديها على نصوص إمامه كأن يقيس ما سكت عنه الإمام على ما نص عليه لوجود معنى ما نص عليه فيما سكت عنه، بدخوله تحت عمومه، أو اندراجه تحت قاعدة عامة من قواعده.
وقد يقوم مجتهد المذهب باستنباط الأحكام الشرعية مباشرة من نصوص الشرع، متقيداً بقواعد إمامه الأصولية، وملتزما لها، وتسمى أقواله بالوجوه.

ومن أصحاب الوجوه في مذهبنا .

الإمام الأنماطي، عثمان بن سعيد المتوفى عام 288هـ.

الإمام ابن سريج ، أحمد بن عمر المتوفى عام 306هـ.

الإمام الإصطخري ، أبو سعيد الحسن بن أحمد المتوفى عام 328هـ.

الإمام ابن القاص، أحمد بن أحمد بن أحمد، المتوفى عام 335هـ.

الإمام ابن أبى هريرة ، أبو على ، الحسن بن الحسين ، المتوفى عام 345هـ.

الإمام أبو الطيب بن سلمة المتوفى عام 308هـ.

مجتهد الفتيا:(289)
ومرتبته دون مرتبة مجتهد المذهب.
وهو المتبحر في مذهب إمامه، المتمكن من ترجيح أقوال إمامه بعضها على بعض، كما أنه متمكن من ترجيح وجوه الأصحاب بعضها على بعض.
وقد يكون له اجتهاد في استنباط الأحكام الشرعية من أدلتها التفصيلية ، شأنه شأن أصحاب الوجوه من مجتهدي المذاهب .

وذلك كالإمام أبي القاسم الرافعي المتوفى عام 624هـ.
والإمام أبي زكريا يحيى بن شرف النووي المتوفى عام 676هـ



มุจตะฮิดมัสฮับ
สถานะของมุจตะฮิดมัสฮับนั้น จะต่ำกว่า มุจตะฮิดมุตลัก

ซึ่งคนที่เป็นมุจตะฮิดมัสฮับนั้น เขามีความสามารถ ที่จะนำตัวบทต่างๆที่มีหลายรูปแบบหรือกล่าวไว้หลายครั้งของอีหม่าม(เช่นอีหม่ามชาฟิอี หรืออื่นๆในสถานนะมุจตะฮิดมุตลัก ที่เขาตามอยู่)ออกมาได้

เช่นการเปรียบเทียบประเด็นในสิ่งที่อีหม่ามไม่ได้กล่าวไว้ตรงๆ

แต่มันอยู่ในตัวบทที่อีหม่ามกล่าวไว้บนหุกุมดังกล่าว

อยู่ในความหมายเดียวกัน หรืออยู่ในคำกล่าวแบบกว้างๆ หรืออยู่ใต้กฏแบบกว้างของอีหม่ามกฎใดกฏหนึง

มุจตะฮิดมัสฮับจะทำการ วินิจฉัยกำหนดหุกุมศาสนาโดยตรงจากตัวบททางศาสนา โดยใช้กฏจากกฏต่างๆของอีหม่ามในหลักอูซูล
จึงเรียกว่า เป็นทัศนะของอีหม่ามด้วยวุยูฮ(ด้วยมุจตะฮิดมัสฮับ)
(ใครแปลได้ดีกว่าก็ยินดีครับ)


ส่วนหนึ่งจากอัศฮาบวุยูฮ(มุจตะฮิดมัสฮับ)ในมัสฮับชาฟิอี คือ

الإمام الأنماطي، عثمان بن سعيد المتوفى عام 288هـ.

الإمام ابن سريج ، أحمد بن عمر المتوفى عام 306هـ.

الإمام الإصطخري ، أبو سعيد الحسن بن أحمد المتوفى عام 328هـ.

الإمام ابن القاص، أحمد بن أحمد بن أحمد، المتوفى عام 335هـ.

الإمام ابن أبى هريرة ، أبو على ، الحسن بن الحسين ، المتوفى عام 345هـ

ชี้แจงเพื่มเติม อัซฮาบวุยูฮ(มุจตะฮิดมัสฮับ) ของอีหม่ามชาฟิอี จะอยู่ในช่วงยุคสามร้อยปี ครับ(ไม่ถึงยุคสี่ร้อย)

ส่วนมุจตะฮิดฟัตวา สถานะการอิจติฮาดนั้นก็จะต่ำลงมาอีก
เช่นอีหม่าม นะวะวี (ดังที่เรารู้จักกันดี)
อีหม่ามรอฟิอี
มุจะฮิดฟุตยา(ฟัตวา) จะต่ำกว่า มุจตะฮิดมัสฮับ

ซึ่งคนที่เป็นมุจตะฮิดฟุตยานั้น เป็นผู้ที่มีความรู้อย่างมากในมัสฮับที่เขาสังกัด เขามีความสารถในการให้น้ำหนักคำกล่าวต่างๆของอีหม่าม(เช่นอีหม่ามชาฟิอีกล่าวไว้หลายครั้ง อีหม่ามนะวะวีก็จะทำการให้นำหนักว่าคำกล่าวไหนของอีหม่ามชาฟิอีที่มีน้ำหนักที่สุด)
เช่นกัน ในการที่จะให้น้ำหนักของอัซฮาบวุยูฮ์ว่า อันไหนมีน้ำหนักกว่า
และบางครั้ง เขาก็จะทำการวินิจฉัยกำหนดหุกุมศาสนาจากหลักฐานแบบละเอียด ซึ่งก็เหมือนกับกรณีมุจตะฮิดมัสฮับ
ขออธิบายเพิ่มเติม สำหรับคนเรียนฟิก ก็จะเจอประจำอยู่แล้วในหนังสือฟิก ที่กล่าวถึง อัซฮาบวุยูฮ
จึงจำเป็นสำหรับนักเรียนฟิกที่จะต้องแยกให้ออกในเรื่องของระดับการอิจติฮาด
ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นยังมีอีก เยอะแยะครับบังซัน

ฉะนั้น ไม่ใช่ใครจะอ้างมัสฮับชาฟิอีได้ เว้นแต่ต้องมีความลึกซึ่งความเข้าใจในมัสฮับ ระดับของมุจตะฮิด

ซึ่งบาชีรได้เจอเยอะแยะที่อ้างมัสฮับชาฟิอีโดยปราศจากความรู้ความเข้าใจถึงทัศนะที่กล่าวพาดพิงมัสฮับชาฟิอี จึงทำให้ผิดพลาดได้

เจอบ่อยที่อ้างผิด ตามไปแก้ให้ก็ไม่เข้าใจสำหรับทัศนะที่มุอ์ตะมัด ถูกยึดถือในมัสฮับชาฟิอีนั้น ที่โด่งดังและโดดเด่นทีสุดคือ คำกล่าวที่มาจาก
อีหม่าม ชีฮาบ อัรร็อมลี
และ อิบนุฮะยัร อัลฮัยตะมี่

Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ