เว็บบอร์ด
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

หลักฐานการปลูกต้นไม้บนกุโบ้ร

Go down

หลักฐานการปลูกต้นไม้บนกุโบ้ร   Empty หลักฐานการปลูกต้นไม้บนกุโบ้ร

ตั้งหัวข้อ by Profile Sun Sep 21, 2014 3:55 pm

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛

การปลูกพืชล้มลุก เช่น ต้นใบแมงลักและใบโหรพา เป็นต้น ในกุบูรสาธารณะหรือกุบูรที่ถูกวะกัฟนั้น  เป็นที่อนุญาตให้กระทำได้หากมีเป้าหมายที่ดี เช่น ต้องการให้มีกลิ่นหอม  แต่ถ้าหากเป็นต้นไม้ยืนต้น เช่น ต้นปาล์ม  ต้นยางพารา  ต้นอินทผาลัม นั้น  ถือว่าไม่อนุญาตให้ปลูกในกุบูรสาธารณะหรือกุบูรที่ถูกวะกัฟ  เพราะเป็นการทำลายเกียรติผู้ตาย  โดยรากของต้นไม้ดังกล่าวนั้นจะไปถึงมัยยิด  ถือว่าเป็นการสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้ตายทั้งหลายที่ถูกฝังในกุบูรนั้น ซึ่งหากแม้ว่าจะมั่นใจว่ามัยยิดเหล่านั้นจะเปื่อยสลายไปแล้วก็ตาม  และยังเป็นการทำให้กุบูรคับแคบเนื่องจากสถานที่ที่ปลูกต้นไม้ดังกล่าวนั้นไม่สามารถใช้การในการฝังมัยยิดท่านอื่นๆ ในสถานที่ปลูกต้นไม้ดังกล่าวในอนาคต

ท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ได้กล่าวว่า

وَلَا يَجُوزُ زَرْعُ شَيْءٍ مِنْ الْمُسَبَّلَةِ وَإِنْ تَيَقَّنَ بِلَى مَنْ بِهَا لِأَنَّهُ لَا يَجُوزُ الِانْتِفَاعُ بِهَا بِغَيْرِ الدَّفْنِ فَيُقْلَعُ وَقَوْلُ الْمُتَوَلِّي يَجُوزُ بَعْدَ الْبِلَى مَحْمُولٌ عَلَى الْمَمْلُوكَةِ

“ไม่อนุญาตให้เพาะปลูกสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากกุบูรสาธารณะ(ที่ปกติชาวเมืองจะนำมาฝัง)และหากแม้ว่าเขามั่นใจว่าผู้ที่อยู่ในกุบูรนั้นได้เปื่อยสลายไปแล้วก็ตาม เพราะไม่อนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากกุบูรสาธารณะในสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากการฝัง ดังนั้นจึงต้องถูกถอน(สิ่งที่เพาะปลูกในกุบูรสาธารณะดังกล่าว) และคำกล่าวของท่านอัลมุตะวัลลีย์ที่ว่า อนุญาตให้เพาะปลูกได้หลังจาก(มัยยิด)เปื่อยสลายไปแล้วนั้น  ถูกตีความในกรณีของการปลูกในกุบูรที่เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล” ดู หนังสือตุห์ฟะตุลมุห์ตาจญฺ, อิบนุหะญัรอัลฮัยตะมีย์, ตีพิมพ์ ดารุอิห์ยาอฺ อัตตุร็อษ อัลอะร่อบีย์, เล่ม 3, หน้า 198, และดู อัลบุญัยริมีย์ อะลา ชัรห์ มันฮัจญฺ อัฏฏุลล้าบ, ตีพิมพ์มุศฏอฟา หะละบีย์, เล่ม 1, หน้า 496,และนิฮายะตุลมุห์ตาจญฺ อิลา ชัรห์ อัลมินฮาจญฺ พร้อม ฮาชียะฮ์ของท่านอัชชับรอมิลลิซีย์, เล่ม 3, หน้า 34-35.

ดังนั้นกรณีที่เจ้าของที่ดินได้ซื้อที่ดินตรงที่มีมัยยิดถูกฝังอยู่นั้น  อนุญาตให้เจ้าของที่ดินทำการใช้ประโยชน์ด้วยการเพาะปลูกหรือขุดห้องใต้ดินได้หรือไม่?

ท่านชัยค์ สุไลมาน บิน อุมัร อัลญะมัล ได้กล่าวว่า

هَلْ يَجُوزُ لِلْمَالِكِ الِانْتِفَاعُ بِظَاهِرِ الْأَرْضِ بِنَحْوِ زَرْعٍ وَبَاطِنِهَا بِنَحْوِ حَفْرِ نَحْوِ سِرْدَابٍ مَشَى م ر عَلَى جَوَابِ ذَلِكَ حَيْثُ لَا يَنَالُ الْمَيِّتَ ضَرَرٌ فَمَا فِي الْجَنَائِزِ عَنْ الْحَنَّاطِيِّ مِنْ امْتِنَاعِ زَرْعِ الْمَقْبَرَةِ يَحْمِلُ وِفَاقًا ل م ر عَلَى الْمَقْبَرَةِ الْمُسَبَّلَةِ أَوْ عَلَى مَا إذَا وَصَلَ لِلْمَيِّتِ ، وَلَحِقَهُ ضَرَرٌ بِهِ

“อนุญาตให้เจ้าของ(ที่ดิน)ใช้ประโยชน์บนหน้าผืนดิน เช่น การเพาะปลูก และ(ใช้ประโยชน์)ใต้ผืนดิน เช่น ห้องใต้ดินนั้นจะได้หรือไม่? ท่านอิหม่ามอัรร็อมลีย์มีได้ทำการตอบสิ่งดังกล่าว(ว่าได้)โดยต้องไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่มัยยิด  ดังนั้นสิ่งที่ถูกระบุไว้ในหนังสืออัลญะนาอิซฺ จากท่านอัลหันนาฏีย์ จากเรื่องการห้ามเพาะปลูกในกุบูรนั้น ได้ตีความตรงกันกับท่านอัรร็อมลีย์ว่า (ห้ามเพาะปลูก)บนกุบูรสาธารณะและ(ห้ามเพาะปลูก)เมื่อสิ่งนั้น(เช่นรากของต้นไม้)ไปถึงมัยยิดและความเดือดร้อนได้ประสบกับมัยยิดด้วยเหตุของสิ่งดังกล่าว” หาชียะฮ์อัลญะมัล อะลัลมันฮัจญฺ, ตีพิมพ์ ดารุอิห์ยาอฺ อัตตุร็อษ อัลอะร่อบีย์, เล่ม 3, หน้า 463.

ส่วนต้นไม้ที่งอกขึ้นเองในกุบูรสาธารณะหรือในที่ดินวะกัฟ  ก็อนุญาตให้นำมารับประทานได้แต่ทางที่ดีสมควรนำผลผลิตไปใช้เกี่ยวกับสาธารณะประโยชน์ของการวะกัฟ

ท่านชัยค์อับดุรเราะห์มาน บะอฺลาวีย์  ได้กล่าวไว้ในหนังสือหนังสือบุฆยะตุลมุรตัรชีดีนของท่านว่า

حُكْمُ الشَّجَرِ النَّابِتِ فِيْ أَرْضٍ مَوْقُوْفَةٍ لِسُكْنَى الْمُسْلِمِيْنَ أَوِ الْمَقْبَرَةِ الْمُسَبَّلَةِ أَوِ الْمَوْقُوْفَةِ اَلْإِبَاحَةُ تَبَعاً لَهَا ، لَكِنْ قَالَ الْحَنَّاطِيُّ : اَلْأَوْلَى صَرْفُ ثَمَرِهَا لِمَصَالِحِ الْوَقْفِ

“ข้อชี้ขาดเกี่ยวกับต้นไม้ที่งอกขึ้นมาในแผ่นดินที่ถูกวะกัฟสำหรับผู้อยู่อาศัยที่เป็นมุสลิมีนหรือในกุบูรสาธารณะหรือกุบูรที่ถูกวะกัฟ ก็ถือว่าอนุญาต(ให้เอาผลผลิตจากต้นไม้นั้นได้)เพราะตามฮุกุ่มของแผ่นดินวะกัฟ(ที่เป็นสาธารณะนั้น) แต่ท่านอัลหันนาฏีย์ ได้กล่าวว่า  ที่ดียิ่งแล้ว ให้นำผลผลิตไปใช้เกี่ยวกับสาธารณะประโยชน์ของการวะกัฟ” หนังสือบุฆยะตุลมุรตัรชีดีน, หน้า 355.

ส่วนกรณีของการนำกิ่งอินทผาลัมหรือปลูกพืชล้มลุกในกุบูร เช่น ต้นแมงลัก เป็นต้นนั้น มีรายละเอียดดังนี้

ท่านอิบนุอับบาส  ได้รายงานว่า  

‏مَرَّ رَسُولُ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏عَلَى قَبْرَيْنِ فَقَالَ ‏ ‏أَمَا إِنَّهُمَا لَيُعَذَّبَانِ وَمَا يُعَذَّبَانِ فِي كَبِيرٍ أَمَّا أَحَدُهُمَا فَكَانَ يَمْشِي بِالنَّمِيمَةِ وَأَمَّا الْآخَرُ فَكَانَ لَا يَسْتَتِرُ مِنْ بَوْلِهِ قَالَ فَدَعَا بِعَسِيبٍ رَطْبٍ فَشَقَّهُ بِاثْنَيْنِ ثُمَّ غَرَسَ عَلَى هَذَا وَاحِدًا وَعَلَى هَذَا وَاحِدًا ثُمَّ قَالَ لَعَلَّهُ أَنْ يُخَفَّفُ عَنْهُمَا مَا لَمْ يَيْبَسَا

“ท่าน ร่อซูลุลลอฮ์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้เดินผ่านสองกุบูร  และท่านกล่าวว่า  ทั้งสองกำลังถูกลงโทษ  และทั้งสองมิได้ถูกลงโทษอันเนื่องจากบาปใหญ่(ตามที่ทั้งสองคิดแต่ความจริง มันคือบาปใหญ่)  สำหรับคนแรกนั้น  เขาได้ชอบกล่าวให้ร้าย  และอีกคนหนึ่งปัสสาวะไม่สะเด็ด  ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า  ดังนั้นท่านร่อซูลุลลอฮ์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมจึงขอให้กิ่งอินทผลัมสดมาหนึ่งกิ่ง  แล้วฉีกออกเป็นสอง  หลังจากนั้นท่านก็ปักลงบนกุบูรนี้กิ่งหนึ่งและกุบูรนี้กิ่งหนึ่ง  และกล่าวว่าเพื่อกิ่งอินทผาลัมจะช่วยบรรเทาทั้งสอง(จากการลงโทษ)ตราบใดที่ มันยังไม่เหี่ยวแห้ง” รายงานโดยมุสลิม (439)

ท่านอิมามอันนะวาวีย์ กล่าวอธิบายว่า  “บางทัศนะของปวงปราชญ์กล่าวว่า  ที่ได้รับการบรรเทาโทษนั้นเพราะกิ่งอินทผลัมทั้งสองได้ทำการตัสบีห์ตราบใด ที่มันยังสดอยู่และกิ่งอินทผลัมที่แห้งจะไม่ทำการตัสบีห์  และนี้ก็คือทัศนะของปวงปราชญ์มากมายหรือปราชญ์ตัฟซีรส่วนมาก  เนื่องจากคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตะอาลาที่ว่า “และไม่ว่าจะเป็นสิ่งใด ๆ ก็ตาม นอกจาก มันจะ(ตัสบีห์)แซ่ซร้องสดุดี พร้อมด้วยการสรรเสริญพระองค์” [อัลอิสรออฺ: 44]  พวกเขากล่าวว่า  ความหมายก็คือ  ไม่ว่าสิ่งใดก็ตามล้วนมีชีวิต  หลังจากนั้นพวกเขายังกล่าวอธิบายอีกว่า  การมีชีวิตของทุกสิ่งก็มีชีวิตตามนัยยะของมัน  ดังนั้น  การมีชีวิตของไม้คือตราบใดที่มันยังไม่แห้ง  และการมีชีวิตของก้อนหินคือตราบใดที่มันยังไม่แตก  และนักปราชญ์ตัฟซีรผู้ทรงความรู้และอื่น ๆ จากพวกเขามีทัศนะว่า  คำตรัสของอัลเลาะฮ์ตะอาลานี้  ให้ความหมายโดยครอบคลุม(หมายถึงทุกสิ่งไม่ว่าจะสดหรือแห้งล้วนทำการตัสบีห์ ทั้งสิ้น)” อันนะวาวีย์, ชัรห์ซอฮิห์มุสลิม, เล่ม 2, หน้า 205.

ท่านอิมามอันนะวาวีย์กล่าว เช่นกันว่า  “บรรดาปวงปราชญ์ถือว่ามุสตะฮับให้อ่านอัลกุรอานที่กุบูรอันเนื่องจากฮะดิษ นี้  เพราะเมื่อหวังว่าจะมีการบรรเทาการลงโทษด้วยการตัสบีห์ของกิ่งอินทผลัม  ดังนั้นการอ่านอัลกุรอานย่อมยิ่งกว่า(กิ่งอินทผลัม)วัลลอฮุอะลัม” เรื่องเดียวกัน

ท่านอิบนุฮะญัร  อัลฮัยตะมีย์  กล่าวว่า  “สุนัตให้วางกิ่งอินทผลัมสดบนกุบูร  เพื่อเจริญรอยตามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ด้วยสายรายงานที่ซอฮิห์  และเพื่อให้บรรเทาจากการลงโทษในกุบูรด้วยบะรอกัตการตัสบีห์ของกิ่งอินทผลัม  เนื่องจากมันสมบูรณ์ยิ่งกว่าการตัสบีห์ของกิ่งอินทผลัมแห้งเพราะดังกล่าว เป็นประเภทหนึ่งของการมีชีวิตและทำการเทียบเคียงด้วยกิ่งอินทผลัมกับสิ่งที่ นิยมปลูกกัน  เช่น  ต้นแมงลักและอื่น ๆ (เช่นต้นใบโหระพา)”  ดู  หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์, ตีพิมพ์  มักตะบะฮ์อัษษะกอฟะฮ์อัดดีนียะฮ์, เล่ม 1, หน้า 600.

ท่านอิมามอัรร็อมลี  กล่าวว่า  “มัสตะฮับให้วางกิ่งอินทผลัมสดบนกุบูรเพื่อเจริญรอยตามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  เช่นเดียวกัน  คือต้นแมงลัก และอื่น ๆ จากบรรดาสิ่งที่มีความสด (เช่นต้นใบโหระพา)  และห้ามผู้ที่มิได้เป็นเจ้าของ  ทำการหยิบ(ดึง)มันออกไปจากกุบูรก่อนที่มันจะแห้งเนื่องผู้เป็นเจ้าของ(สิ่ง ที่วางบนกุบูร)ยังให้ความสนใจมันอยู่  ดังนั้นหากมันแห้งแล้ว  ก็อนุญาตหยิบเอาออกมาได้  เพราะผลประโยชน์ที่เป็นเป้าหมายในขณะที่มันสด  คือการอิสติฆฟาร(ตัสบีห์) ได้หมดไปแล้ว”  อัรร็อมลีย์, หนังสือนิฮายะตุลมั๊วะห์ตาจญ์, เล่ม 3, หน้า 35.

ท่านนูรุดดีน  อัชชับรอมิลลิซีย์  ได้กล่าวอธิบายคำกล่าวของท่านอิมามร๊อมลีว่า  “บรรดาสิ่งที่มีความสดนั้น  ย่อมเข้าไปอยู่ในสิ่งดังกล่าว  คือ  ต้นหญ้าบิรซีมและอื่น ๆ จากบรรดาพืชที่มีความเขียวสดทั้งหมด”  ฮาชียะฮ์นิฮายะตุลมั๊วะห์ตาจญ์, เล่ม 3, หน้า 35.  

และท่านชัยค์สะอีด บิน มุฮัมมัด อัลบาอิชั่น  กล่าวว่า   “สุนัตให้วางกิ่งอินทผลัมสดบนกุบูร  เพื่อเจริญรอยตามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ด้วยสายรายงานที่ซอฮิห์  และเพื่อให้บรรเทาจากการลงโทษในกุบูรด้วยบะรอกัตการตัสบีห์ของกิ่งอินทผลัม  เนื่องจากมันสมบูรณ์ยิ่งกว่าการตัสบีห์ของกิ่งอินทผาลัมแห้งเพราะดังกล่าว เป็นประเภทหนึ่งของการมีชีวิตและทำการเทียบเคียงด้วยกิ่งอินทผาลัมกับสิ่ง ที่นิยมปลูกกัน  เช่น  ต้นแมงลักและอื่น ๆ (เช่นต้นใบโหระพา) และฮะรอมดึงมันออกมา  เพราะความหมายผิวเผินของเรื่องนี้  คือสิ่งที่แห้งไม่ฮะรอมเอาออกมา(หรือดึงถอนออกมา) เพราะคำนึงถึงการจำกัดของตัวบทฮะดิษที่ระบุถึงการบรรเทาโทษ(ในกุบูร)ด้วย ความเขียวสดกับสิ่งที่ยังไม่แห้ง  และผลผลิตของต้นใม้ที่ขึ้นที่กุบูรสาธารณะนั้นเป็นสิ่งที่มุบาห์และการนำมันไปใช้เกี่ยวกับประโยชน์ส่วนรวมย่อมดีกว่าและถ้าหากผลิตผลจากสิ่งที่ถูกปลูก ขึ้นใน(พื้นที่)ของมัสยิด  ก็ให้มัสยิดมีกรรมสิทธิ์ครอบครองหากสิ่งที่ปลูกนั้นให้แก่มัสยิด  แล้วนำไปใช้เกี่ยวกับประโยชน์ส่วนรวม”  หนังสือบุรออัลกะรีม บิชัรห์  มะซาอิลิตตะลีม เล่ม 2, หน้า 38.  


وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php/topic,3517.0.html




Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ