เว็บบอร์ด
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

หนึ่งร้อยตัวบังคับ ตอน 2 (ความหมายของ "บาอ์")

Go down

หนึ่งร้อยตัวบังคับ ตอน 2 (ความหมายของ "บาอ์") Empty หนึ่งร้อยตัวบังคับ ตอน 2 (ความหมายของ "บาอ์")

ตั้งหัวข้อ by Profile Sun Sep 21, 2014 4:08 pm



หนึ่งร้อยตัวบังคับ ตอน 2 (ความหมายของ "บาอ์") Tx9e1
หนึ่งร้อยตัวบังคับ ตอน 2 (ความหมายของ "บาอ์") B0mt2



ตัวบังคับ ที่ถูกถ่ายทอดมาโดยการได้ยิน
(ไม่สามารถเทียบเคียงได้)

 ตัวบังคับ ที่ถูกถ่ายทอดมาโดยการได้ยิน(จากคำพูดอาหรับ)(ไม่สามารถเทียบเคียงได้)(อัล-กียาซียะฮ์) จำแนกออกเป็น 13 ประเภท :

ประเภทที่หนึ่ง  : บุพบท (อัล-ฮุรุฟ) ที่ทำให้ คำนามตัวเดียว(ที่ตกหลังจากมัน) อ่านสภาพ อัล-ญัร มีอยู่ 17 ตัว  :


บุพบท อักษร ที่หนึ่ง  : อัล-บาอฺ ( ب )
  อัล-บาอฺ เป็นส่วนหนึ่งจาก บุพบท ที่ถูกเรียกว่า “ฮุรฟ อั้ล-ญัร” ซึ่งมีหลายความหมายด้วยกัน1  ซึ่งจะนำมากล่าวดังนี้ :

(1)ความหมายที่หนึ่ง : (الإلْصَاق)  “อัล-อิลศอก”2  (การติดพันธ์) เช่น  (مَرَرْتُ بِزَيْدٍ)  “ฉันได้เดินผ่านนายเซด” หมายถึง  (أي : مُرُوْرِيْ بِمَوْضِعٍ يَقْرُبُ مِنْهُ زَيْدٌ)  “การเดินผ่านของฉันติดกับสถานที่ซึ่งนายเซดอยู่ไกล้”.

(2) ความหมายที่สอง : (الاسْتِعَانَة) “อัล-อิสติอานะฮฺ” (การขอความช่วยเหลือ)3
เช่น (كَتَبْتُ بِالْقَلَمِ) “ฉันเขียนกับปากกา”  หมายถึง (اسْتَعَنْتُ فِي الْكِتَابَة بِالْقَلَمِ) “ฉันขอความช่วยเหลือด้วยกับปากกาในการเขียน”.

(3) ความหมายที่สาม : (المُصَاحَبَة) “อัล-มุศอหะบะฮฺ” (พร้อมเพรียงกัน)4
เช่น    (خَرَجَ زَيْدٌ بِعَشِيْرَتِه) “นายเซดได้ออกไปกับวงศาคณาญาติของเขา” หมายถึง
(خَرَجَ زَيْدٌ بِصُحْبَةِ عَشِيْرَتِه) “นายเซดได้ออกไปพร้อมกับวงศาคณาญาติของเขา”.

(4) ความหมายที่สี่ : (المُقَابَلة) “อัล-มุกอบะละฮฺ” (การแลกเปลี่ยน)5  
เช่น  بِهَذّا) (بِعْتُ هَذَا “ฉันขายสิ่งนี้ กับ สิ่งนี้” หมายความว่า بِهَذّا) (قَابَلْتُ هَذَا “ฉันแลกเปลี่ยนสิ่งนี้ กับสิ่งนี้”.

(5) ความหมายที่ห้า : (التَعْدِيَةِ) “อัต-ตะอฺดิยะฮฺ” (สหกรรมกริยา)6 (คำกริยาที่ต้องการกรรม) เช่น (ذَهَبْتُ بِزَيْدٍ) มีหมายความว่า (أَذْهَبْتُهُ) “ฉันทำให้นายเซดไป”.

(6) ความหมายที่หก : (الظَرْفِيَّةِ) “อัซ-ซอรฟียะฮฺ” (สถานที่ หรือ เวลา)7   เช่นคำกล่าว (جَلَسْتُ بِالْمَسْجِدِ) ความหมายคือ  (جَلَسْتُ فِي الْمَسْجِدِ) “ฉันนั่งอยู่ในมัสยิด”.

(7) ความหมายที่เจ็ด : (الزِائِدَة) “อัซ-ซาอิดะฮฺ” (บุพบทเพิ่ม) (ไม่มีความหมาย)8 เช่น  (هَلْ زَيْدٌ بِقَائِمٍ؟) มีความหมายว่า (هَلْ زَيْدٌ قَائِمٌ؟) “นายเซด คือ ผู้ที่ยืนใช่หรือไม่” และดัง

(8 ) ความหมายที่แปด : (الَتًّفْدِيَة) “อัต-ตัฟดิยะฮฺ” (การไถ่ตัว)9 เช่นคำกล่าวที่ว่า  (بِأَبِي وأُمِّي) มีความหมายว่า (فِدَاكَ أَبِي وأُمِّي) “บิดาของฉันและมารดาฉันเป็นค่าไถ่ตัวท่าน(โอ้ท่านรอซู้ล มูหัมหมัด ซ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวาซัลลัม)”.

___________________________________________

1มีอยู่ 15 ความหมาย ดังที่ได้ระบุไว้ใน “ชัรห์ อัล-อัชมุนีย์” แต่ตำรา “อัลอาวามิล อัลมิอะฮฺ”นำมากล่าวแค่เพียง 8 ความหมาย.

2อัล-อิลศอก  (الإلْصَاق) หมายถึง (اتْصَالُ شَئٍ بِشَئٍ)  การที่สิ่งหนึ่งติดพันธ์กับอีกสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าทั้งสองจะเป็นนามธรรม  (المَعْنَي)ทั้งคู่ หรือ เป็นนามธรรม(المَعْنَي) กับ รูปธรรม  (الذَات).
    ”อัล-อิลศอก”เป็นความหมายที่ไม่สามารถแยกออกจาก บาอฺ นี้ได้ กล่าวคือ เป็นความหมายที่แท้จริงของ บาอฺ ส่วนความหมายอื่นๆนั้นเป็นสาขาที่แยกย่อยออกมาอีกที (คือทุกๆความหมายจะมีความนี้รวมอยู่ด้วย) ด้วยเหตุนี้เอง ท่าน ซีบาวัยฮ์ (سِيْبَوَيْه) จึงได้จำกัดอักษรบาอฺไว้โดยเฉพาะความหมายนี้ .
การติดพันธ์ (الإلْصَاق) นั้นมี 2 ประเภท

1) (الإلْصَاق الحَقِيْقِيّ) การติดพันธ์ โดยแท้จริง (แบบทางตรง) เช่น (أَمْسَكْتُ بِزَيْدٍ) “ฉันได้จับ(ถือ)นายเซดไว้”  (กล่าวคือ เมื่อท่านได้จับส่วนหนึ่งจากร่างกายของเขาไว้).
2)  ( الإلْصَاق المَجَازِيّ)การติดพันธ์เชิงนัยยะ (แบบทางอ้อม) ดังเช่น ที่ได้กล่าวมาในตัวอย่างข้างบน.

3ข้อสังเกตุและข้อแบ่งแยก :
-(بَاءُ الاسْتِعَانَة) คือ บาอฺที่เข้าหน้าสิ่งที่เป็นอุปกรณ์ หรือสื่อกลางของการกระทำ(เป็นสื่อกลางระหว่าง ผู้กระทำ และผู้ถูกกระทำ)เช่นตัวอย่างที่กล่าวมาด้านบน จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “บาอฺ อัล-อาละฮ์”( بَاءُ الآلة) ท่านจะเห็นได้ว่า ปากกานั้นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียน.
-(بَاءُ السَبَبِية) คือ บาอฺที่เข้าหน้าสาเหตุ และเหตุผลของการกระทำ เช่น (مَاتَ بِالْجُوْعِ) “ เขาตาย เนื่องจากความอดอยาก” (ความอดอยากเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาต้องตาย).

4“บาอฺ อัล-มุศอหะบะฮฺ”  ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า “บาอฺ อัล-มุลาบะซะฮฺ” (باء الْمُلَابَسَة)  หรือ ”บาอฺ อัล-ห้าล”    (باء الحال)  ซึ่ง จะมีข้อสังเกตอยู่ สองประการด้วยกัน คือ
1 ตำแหน่งของ บาอฺ (بِـ) สามารถใช้คำว่า مَعَ มาแทนที่ได้อย่างเหมาะสม.
2 ตำแหน่งของ บาอฺ (بِـ)  และ คำที่ตกหลังจากมัน  (الْمَجْرُوْر) สามารถใช้ “อัลห้าล” (الحَال)  (คือ คำที่ใช้บอกสภาพ) มาแทนที่ได้.
เช่น คำดำรัสของอัลลอฮ์ ว่า
- ) (اهْبِطْ بِسَلَامٍ ความว่า “(โอ้นูห์ )เจ้าจงลง(จากเรือ)เถิดโดย(พร้อมกับ)สันติสุข(จากเรา)”(ซูเราะฮฺ ฮูด :48) .
- ) (وَقَدْ دَخَلُوا بِالْكُفْرِ  ความว่า “(และเมื่อพวเขา-ยิวและมุนาฟิก-ได้มาหาพวกเจ้า พวกเขาก็กล่าวว่า : เราศรัทธา) ทั้งๆ ที่พวกเขาได้เข้า(มาคลุกคลีกับพวกเจ้า)(พร้อมด้วย)กับความเนรคุณแท้ๆ” (ซูเราะฮฺ อัลมาอิดะฮฺ :61).
ที่ว่าสามารถใช้ “อัลห้าล”มาแทนที่ได้ เช่น เราสมมุติขึ้นว่า :  )  (اهْبِطْ مُسْلما عليكและ ) (وَقَدْ دَخَلُوا كَافِرِيْنَ.

5และ เรียกอีกอย่างว่า “บาอฺ อัล-อิวัฎด์” (بَاء العِوَض)  หรือ “บาอฺ อัต-ตะอฺวี้ฎด์” (بَاء التَعْوِيْض)   .
ข้อสังเกตุ :  บาอฺนี้จะเข้าหน้า คำที่บ่งชี้ถึงราคา (الأَثْمَان) และ สิ่งที่จะมาทดแทนแลกเปลี่ยนกันได้ (الأَعْوَاض)  ไม่ว่าจะในเชิง :
รูปธรรม (الحِسِي)  เช่น بِأَلْف)    (بِعْتُكَ هَذَا الثَوْبَ “ฉันขายเสื้อตัวนี้ ให้ท่าน(โดยแลก)กับ(ราคา)หนึ่งพัน”
หรือ นามธรรม (المعنوي) เช่น (كَافَأتُ إِحْسَانَه بِالشُكْر) “ฉันได้ตอบแทนคุณความดีด้วยกับการขอบคุณ”.

ข้อแบ่งแยกที่หนึ่ง : ระหว่าง
- “บาอฺ อัล-อิวัฎด์” (بَاء العِوَض)  : คือ จะมีการแลกเปลี่ยน สิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่งจากทั้งสองฝ่าย กล่า.วคือ ต่างฝ่ายต่างนำมาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน(ดังในตัวอย่าง).
-“บาอฺ อัล-บะดั้ล” (بَاء البَدَل) : คือ ไม่มีการแลกเปลี่ยนจากทั้งสองฝ่าย แต่เป็นการเลือกสิ่งหนึ่ง(โดยละทิ้ง)ไม่เอาอีกสิ่งหนึ่ง (ดังจะกล่าวต่อไป อิงชาอัลลอฮ์).
ข้อแบ่งแยกที่สอง : ระหว่าง
- “บาอฺ อัล-อิวัฎด์” (بَاء العِوَض)  : คือ บาอฺที่เข้าข้างหน้าสิ่งที่ถูกให้โดยมีการแลกเปลี่ยน และ ถูกให้โดยเปล่า กล่าวคือ ไม่มีสาเหตุมาก่อน .
-“บาอฺ อัซซะบะบียะฮ์” (بَاء السَبَبِية) : คือบาอฺที่เข้าข้างหน้าสิ่งที่ถูกให้โดยมีสาเหตุมาก่อน .
โดยมีกฏเกณฑ์อยู่ว่า : (لِأَن الْمُعْطِي بِعِوَضٍ قَدْ يُعْطَي مَجَّانًا وَأَمَّا الْمُسَبّب فَلَا يُوْجَدُ بِدُوْنِ السَّبَبِ)   ”เนื่องจากว่า สิ่งที่ถูกให้โดยมีการแลกเปลี่ยน อาจถูกให้โดยเปล่า(ไม่มีการทดแทน) ส่วนสิ่งที่ถูกให้โดยมีสาเหตุ จะไม่ถูกให้โดยปราศจากสาเหตุ”.
    ด้วยเหตุนี้เอง ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ จึงมีความเห็นว่า บาอฺ ในอายะฮ์ :
(ادخُلُوا الْجنَّة بِمَا كُنْتُم تَعْمَلُونَ) “พวกท่านจงเข้าสวรรค์ เพราะความดีที่ท่านประพฤติไว้” (ซูเราะฮฺ อัน -นะหฺล์ :32) เป็น “บาอฺ อัล-อิวัฎด์”  เพราะเข้าหน้า สิ่งที่เป็นราคาในเชิงนามธรรม  (الثَمَن المَعْنَوِي)นั่นก็คือ อาม้าล การปฏิบัติ ซึ่งต่างกับทัศนะของ มุอฺตะซิละฮ์ ที่มีความเห็นว่า เป็น “บาอฺ อัซซะบะบียะฮ์” .
    และ ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ ยังมีความเห็นอีกว่า บาอฺ ใน ฮาดิษที่ว่า :
(لَنْ يَدْخُلَ أَحَدُكُم الْجَنَّةَ بِعَمَلِهِ)  “คนหนึ่งคนใดจากหมู่พวกท่านจะไม่ได้เข้าสวรรค์ เนื่องจากการปฏิบัติ อาม้าลของเขา” (อะหมัด : 7479) นั้นเป็น “บาอฺ อัซซะบะบียะฮ์” .

    จากอายะฮฺ อัลกุรอ่าน ข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า การเข้าสวรรค์อาจเกิดขึ้นโดยปราศจากสิ่งแลกเปลี่ยน ทั้งนี้เพราะความเมตตาการุณ และ ความโปรดปรานจากอัลลอฮ์ ส่วน ฮาดิษนั้น ชี้ให้เราได้เห็นว่า แท้จริงการปฏิบัติอาม้าลนั้นไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้คนหนึ่งๆต้องได้เข้าสวรรค์ ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีความขัดแย้งกันเลยระหว่าง อายะฮฺ อัลกุรอ่าน และอัลฮาดิษ ทั้งสองที่ได้กล่าวมา.




6การ ”ตะอฺดิยะฮ์” นั้นมี 2 แบบดังนี้
1) “อัตตะอฺดิยะฮ์ อัลคอซเซาะฮ์” (التَعْدية الخَاصة)  คือ การที่ คำกริยา เมื่อก่อนอยู่ในสภาพที่ไม่ต้องการกรรม(الفِعْلُ اللَازِم) (อกรรมกริยา) ได้กลับกลายมาอยู่ในสภาพต้องการกรรม (الفِعْلُ المُتَعَدِي) (สหกรรมกริยา) ซึ่ง ”อัตตะอฺดิยะฮ์” ตามความหมายนี้ จะมีเฉพาะใน บาอฺ เท่านั้น และ ความหมายนี้ ก็คือจุดประสงค์ของอัตตะอฺดิยะฮ์ ณ ที่นี้ .  
2) “อัตตะอฺดิยะฮ์ อัลอามมะฮ์” (التَعْدية العَامة) คือ การตะอฺดิยะฮ์ ความหมายของตัวบังคับ (العَامِل) ไปยังตัวที่ถูกบังคับให้อ่านสภาพญัร (المَجْرُوْر)  ซึ่ง “ตะอฺดิยะฮ์” ตามความหมายนี้จะมีอยู่ใน ทุก “บุพบท อัลญัร” ที่ไม่ใช่ “บุพบทเพิ่ม”(حُرُوفُ الْجَر الزَائِدَة). ดังตัวอย่างในความหมายที่เจ็ด ของ บาอฺ.
    “บาอฺ อัตตะอฺดิยะฮฺ” หรือเรียกอีกอย่างว่า “บาอฺ อัน-นักล์” (بَاءُ النَقْلِ) คือ บาอฺ ที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายคำกริยา(ฟิอฺล์) จากสภาพ “อกรรมกริยา”  ไปสู่ “สหกรรมกริยา” ซึ่งส่วนมากการเคลื่อนย้ายสภาพดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นใน “อกรรมกริยา” (الفِعْلُ القَاصِرُ - اللازِمُ)  และ “บาอฺ อัตตะอฺดิยะฮฺ” หรือ “บาอฺ อัน-นักล์” นี้คือบาอฺ ที่แทนมาจาก อักษร ฮัมซะฮ์ (أ) (ฮัมซะตุ้ล ก๊อตอิ) ฉะนั้นเมื่อมีตัวหนึ่งตัวใดจากทั้งสองตัวก็จะห้ามมีอีกตัวหนึ่งทันที ดังเช่นปกติวิสัย ของสองอย่างที่ทำหน้าที่ แทนซึ่งกันและกัน (المُتَنَاوِبَانِ)  ดังนั้น กฎเกณฑ์จึงมีอยู่ว่า (لِأن الْهَمْزَةَ والْبَاءَ مُتَعَاقَبَانِ) “เนื่องจากว่า อักษร ฮัมซะฮ์(ฮัมซะตุ้ล ก๊อตอิ)  และ บาอฺ (อัตตะอฺดิยะฮ์)เป็นตัวที่แนซึ่งกันและกัน”  ดัวยเหตุนี้เอง จึง  ไม่อนุญาต ให้เรา กล่าวว่า (أَقَمْتُ بِزَيْدٍ)  “ฉันทำให้นายเซดยืน” ทว่าที่ถูกต้องให้กล่าวว่า(أَقَمْتُ زَيْدًا)  หรือ (قَمْتُ بِزَيْدٍ) .
   และตัวอย่างจาก อัลกุรอ่าน อัลลอฮ์ ตาอาลา ตรัสว่า  {ذَهَبَ اللَّهُ بِنُورِهِمْ} “อัลลอฮ์ก็ดับแสงสว่างของพวกเขาเสีย” (ซูเราะฮฺ อัล-บากอเราะฮ์ :17) ซึ่งหลักฐานที่ว่าบาอฺในโองการข้างต้น เป็น บาอฺตะอฺดียะฮ์ ซึ่งแทนมาจาก ฮัมซะฮ์ คือ หลักการอ่านของอัลกุรอ่าน ที่ถูกรายงานมาซึ่งเป็นหนึ่งในการอ่านที่เลื่องลือ ว่า {أَذْهَبَ اللَّهُ بِنُورِهِمْ}  ฉะนั้น “การตะอฺดิยะฮ์ ด้วยกับ บาอฺ” และ “การตะอฺดียะฮ์ ด้วยกับ ฮัมซะฮ์” นั้นไม่มีข้อแบ่งแยกแต่อย่างใด และด้วยเหตุนี้ ด้วยกับอายะฮ์นี้เช่นกัน ถูกใช้เป็นหลักฐานในการตอบโต้ ท่าน อาบุ้ล อับบาส และ ท่าน อัส-สุฮัยลีย์ ซึ่งท่านทั้งสองมีทัศนะว่า”ระหว่าง การ ตะอฺดิยะฮ์ ด้วยบาอฺ และ การตะอฺดิยะฮ์ ด้วยฮัมซะฮ์นั้นมีข้อแบ่งแยกและแตกต่าง” ทว่าเจ้าของตำรา”หะเชียะฮ์ อัศศ๊อบบาน” ได้ระบุไว้ด้วยว่า “การตะอฺดิยะฮ์ด้วยกับ บาอฺ นั้นมีสื่อกลาง (الْوَاسِطَة) นั้นคือ อักษรบาอฺ ส่วนการตะอฺดิยะฮ์ด้วยกับ ฮัมซะฮ์นั้นไม่ต้องใช้สื่อกลาง”.

7คือ ยาอฺที่มีความหมายว่า “ใน” (فِي) .
ข้อสังเกต : คำว่า (فِي)   สามารถเข้าอยู่แทนที่ บาอฺ ได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน.
อัซซอรฟ์ นั้นมีสองประเภท คือ :
1) “ซอรฟ์ อัล-มะกาน”(คำบอกสถานที่) (ظَرْفُ الْمَكَان)  เช่น โองการ{وَلَقَدْ نَصَرَكُمُ اللَّهُ بِبَدْرٍ}     ความว่า“ขอยืนยันแน่แท้อัลลอฮ์ได้ช่วยเหลือพวกเจ้า(ให้ได้รับชัยชนะ) ณ ทุ่งบะดัร”(ซูเราะฮ์ อ้าลา อิมรอน :123 )
ซึ่งอายะฮ์โองการนี้ มีควาหมายว่า(وَلَقَدْ نَصَرَكُمُ اللَّهُ فِي بَدْرٍ) .
2) “ซอรฟ์ อัซ-ซะมาน” (คำบอกกาลเวลา) (ظَرْفُ الْزَمَان)    เช่นโองการ { نَجَّيْنَاهُمْ بِسَحَرٍ } “เราไดบันดาลความปลอดภัยแก่พวกเขาในยามดึก” (ซูเราะฮ์ อัล-กอมัร : 34) ความหมาย { نَجَّيْنَاهُمْ في سَحَرٍ }.

8ซึ่งนำมาเพิ่มเพื่อการเน้นย้ำ(التَأكِيْد).
“บุพบท อัลญัร” พร้อมกับ “มัจญฺรูรของมัน” (ตัวที่ตกหลังจากมัน) เมื่ออยู่ในสถานะ “บุพบทเพิ่ม”(الزائِدة) แล้วจะไม่ต้องการ สถานที่สำหรับการข้องเกี่ยว”อัลมุตะอัลลัก” (الْمُتَعَلَق) ซึ่งต่างกับในสภาพที่เป็น”บุทพทแท้”  (الأَصْلِية)(ไม่ใช่เพิ่ม)(กล่าวคือจะต้องการ สถานที่ข้องเกี่ยว).


“บาอฺ อัลญัร” ซึ่งเป็นบุทพบท เพิ่มนั้นมีสองประเภท  :
1) สามารถเอามาเทียบเคียงกันได้  (قِيَاسِية)(คือสามารถเอาไปใช้ในคำอื่นๆได้อีกนอกจากตัวอย่าง)  
คือ บาอฺ ที่เข้าหน้า คอบัร(خَبَرُ) (คือ ส่วนหลังซึ่งเป็นภาคขยาย)ของ (لَيْسَ – مَا – لَا- هَلْ ).
2) ไม่สามารถเอามาเทียบเคียงกันได้(سِمَاعِية) (ต้องอาศัยการฟังที่ถ่ายทอดกันมาจากคำพูดอาหรับ)
คือ บาอฺที่เข้าหน้าตัวอื่นจากที่กล่าวมา.
ส่วนหนึ่งจากสถานที่ซึ่ง บาอฺ เป็น บุพบทเพิ่ม ได้แก่ :
(1) หน้าคำที่ทำหน้าที่เป็นประธาน (الْفَاعِل) ซึ่งการเพิ่มนี้ มี 3 ระดับ ด้วยกันคือ

1) เพิ่มโดยจำเป็น (الْوَاجِبَة) เช่น การเพิ่ม หน้าประธานของกริยาที่บ่งชี้ถึง(ความหมาย) ความแปลกใจ (فَاعِلُ فِعْلِ التَعَجُبِ)  เช่น (أَكْرِمْ بِسَعِيْدٍ!) หมายความว่า (مَاأَكْرَمَ سَعِيْدًا!) .
2) เพิ่มโดยส่วนใหญ่(الْغَالِبَة)   เช่น การเพิ่ม หน้าประธานของกริยา “كَفَى” ที่มีความหมายว่า”اكْتَفَى” เช่น โองการ {وَكَفَى بِاللَّهِ شَهِيدًا}  ข้างต้น .
   แต่ถ้าหากว่า“كَفَى” ไม่ได้มีความหมายว่า”اكْتَفَى” ดังกล่าวมา ก็จะไม่มีการเพิ่มแต่อย่างใด เช่น “كَفَى” ที่มีความหมายว่า ”أًجْزَأَ” หรือ ”وَفَى”  หรือ ”أَغْنَى” ดั่งเช่นโองการที่ว่า {وَكَفَى اللَّهُ الْمُؤْمِنِينَ الْقِتَالَ} “และอัลลอฮ์ทรงยังความเพียงพอการรบแก่เหล่าศรัทธาชน(โดยได้รับความปลอดภัยอย่างทั่วถึงกัน)”
(ซูเราะฮฺ อัลอะหฺซาบ : 25).
3) เพิ่มโดยมีเหตุจำเป็น (الْضَرُورَة) (จะเกิดขึ้นเฉพาะในบทร้อยแก้ว) เช่น บทกวี ที่ว่า :
  أَلَمْ يَأْتِيْكَ والأَنباءُ تَنمِي ... بَمَا لاقَتْ لَبُونُ بني زِيَادِ  
“ยังไม่ถึงมายังเจ้าอีกหรือสิ่ง(ข่าวคราว)ที่อูฐนมของเผ่า”ซียาด”ได้พบเจอ ซึ่งข่าวคราวมันโจ่งแจ้งและโจษขานยิ่งนัก”. (เป็นบทกวีของ ท่าน ก็อยส์ บิน ซุฮัยร์ ซึ่งเป็นบทกลอน อัลวาฟิร(بَحْرُ الوَافِر) ที่มีมาตราเทียบ “مُفَاعِلَتُنْ”  ซ้ำกัน 6 ครั้ง)
ในบทกลอนข้างต้น คำว่า “ما” เป็นประธาน (ฟาแอล) ส่วนคำว่า “بِـ” เป็น บุพบทเพิ่ม ด้วยเหตุจำเป็น (นั่น ก็คือ เพื่อให้มาตราเทียบของบทกลอน อัลวาฟิรดังกล่าว ลงตัว).
(2) หน้าคำที่ทำหน้าที่เป็นกรรม (الْمَفْعُول) (ซึ่งเป็นการเพิ่มแบบسماعية)  เช่น การเพิ่มในคำว่า “بِأَيْدِيكُمْ” ในโองการที่ว่า {وَلَا تُلْقُوا بِأَيْدِيكُمْ إِلَى التَّهْلُكَةِ}  “และพวกเจ้าอย่ายื่นมือของพวกเจ้าไปสู่ความหายนะ” และในทำนองเดียวกันมีอีกมากมายเช่นกันการเพิ่มหน้า กรรมของกริยา (كَفَى ، عَرَفَ ، عَلِمَ ، دَرَى ، جَهِلَ ، سَمِعَ ، أَحَس ، أَلْقَى ، مَد ، أَرَادَ ، ) ในเมื่อคำกริยาเหล่านี้ต้องการแค่เพียงกรรมเดียวเท่านั้น.
(3) หน้าคำว่า  “حَسْب”  ที่มีความหมายว่า ”كَافٍ” ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า  (بِحَسْبِكَ دِرْهَمٌ) “เป็นการเพียงพอสำหรับท่าน 1 เหรียญดิรฮัม”.
(4) หน้า มุบตะดะอฺ(الْمُبْتَدَأ) (เริ่มส่วนหน้าประโยค)ที่ตกภายหลังจาก บุพบท”إِذا الْفُجَائِيَّة” (ที่มีความหมายว่า บังเอิญ) เช่น คำว่า “بِالْمَطَرِ” ใน   (خَرَجْتُ فَإِذَا بِالْمَطَرِ نَازِلٌ)” ฉันได้ออกมาบังเอิญว่าฝนมันตก”.
(5) หน้า มุบตะดะอฺ ที่ตกภายหลังจากคำว่า ”كَيْفَ”  (อย่างไร) เช่น  (كَيْفَ بِكَ إِذَا خَرَجْتُ؟) “เธอเป็นอย่างไรบ้างเมื่อฉันได้ออกมา” ถ้อยคำเดิม (الأَصْلُ)คือ (كَيْفَ أَنْتَ إِذَا خَرَجْتُ؟).
(6)  หน้า คอบัร (คือ ส่วนหลังซึ่งเป็นภาคขยาย)ของ คำว่า “ลัยซา” (خَبَرُ لَيْسَ)  เช่น คำว่า” بِكَافٍ”  ในโองการที่ว่า  { أَلَيْسَ اللَّهُ بِكَافٍ عَبْدَهُ } “ก็อัลลอฮ์มิใช่หรือ ที่ปกป้องบ่าวของพระองค์”(อัซซุมัร : 36)

(7) หน้า คอบัร ของ คำว่า “มา อัลหิยาซียะฮฺ”  (خَبَرُ مَا الحِجَازِيّة) (ที่ทำงานเหมือนกับ“ลัยซา”) เช่น คำว่า ” بِظَلَّامٍ”  ในโองการที่ว่า  {وَمَا رَبُّكَ بِظَلَّامٍ لِلْعَبِيدِ } “และองค์อภิบาลของเจ้าไม่อธรรมต่อข้าทาส(ของพระองค์)อย่างแน่นอ”(อัล-ฟุศศิลัต : 46).
(8 ) หน้า คอบัร ของ คำว่า “ลาอัน-นาฟียะฮ์” (خَبَرُلَا النَّافِيَّة)  เช่น คำว่า ” بِخَيْرٍ”  ใน คำคุตบะฮ์ของท่าน อาบูบักร อัซิดดีก (รอดิยัลลอฮุ อันฮู) ที่ว่า (لَا خَيْرَ بِخَيْرٍبَعدَهُ النَّار) “ไม่เป็นเรื่องที่ดีสำหรับ(การทำ)ความดีที่หลังจากมัน(ผลตอบแทน)คือไฟ(นรก)”.
(9) หน้า คอบัร ของ “กานา อัลมันฟีย์(ปฏิเสธ)”  (خَبَرُكَانَ المَنْفِي) เช่น (مَا كَانَ الرَّسُوْلُ بِكَاذِبٍ)  “หาใช่(เป็นไปไม่ได้)ว่ารอซู้ลนั้นจะเป็นผู้โกหก”.
(10) หน้า “อัล-ห้าล(นามบอกสภาพ)” (الْحَالُ الْمَنْفِيْ عَامِلُهَا )  ซึ่งตัวบังคับของมันเป็นประโยคปฏิเสธ  เช่น คำว่า “بِخَائِبَةٍ” ในบกวีที่ว่า
(فَمَا رَجَعَتْ بِخَائِبَةٍ رِكَابُ ... *)
“กองคาราวารไม่กลับมาในสภาพที่ปารชัยเป็นแน่”
(เป็นบทกวีของ ท่าน กุหัยฟ์ อัล-อุก็อยลีย์ ซึ่งเป็นบทกลอน อัล-วาฟิร เช่นเดียวกัน ).
(11) หน้าคำว่า “النًّفْسُ”  หรือ “الْعَيْنُ” ที่ใช้ในการเน้นย้ำ(التًّوْكِيْدُ) เช่น คำว่า ” بِنَفْسِهِ”  ในคำกล่าวของอาหรับที่ว่า  (خَطَبَ الْقَائِدُ بِنَفْسِهِ) “แม่ทัพนายกองกล่าวปฐากฐาด้วยตัวเอง”.
(12) หลังจากคำว่า “نَاهِيْك”  (เป็น อิสมุ้ล ฟิอฺลี(اسْمُ الْفِعْلِ) (คำนามกริยา)ของคำว่า ”نَهَى” ซึ่งมีความหมายว่า “حَسْبُكَ”) ซึ่งตัวอย่าง ฟาแอล(ประธาน) ของมันที่มี บาอฺ เพิ่มนั้นมีมากมาย เช่น (نَاهِيْكَ بِالزّمَنِ مُؤَدَّبًا)  “เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับท่านที่กาลเวลาเป็นเครื่องอบรมบ่มนิสัย”.
(13) หลังคำว่า “عَلَيْكَ”  ซึ่งเป็น อิสมุ้ล ฟิอฺลี(اسْمُ الْفِعْلِ) “นามกริยา”(คือ คำนามที่มีความหมายเหมือนคำกริยา แต่ไม่รับเครื่องหมายของคำกริยา) เช่น บกวีที่ว่า
( فعليك بالحجاج لا تعدل به ...* )
(เป็นบทกวีของ ท่าน อัล-อัคฏ๊อล (الْأَخْطَل) ซึ่งเป็นบทกลอน อัล-กามิล (بَحْرُ الْكَامِل) ที่มีมาตราเทียบ “مُتًفَاعِلُنْ”  ซ้ำกัน 6 ครั้ง).

9ส่วนความหมายอื่นของบาอฺนั้นมีอีกมากมาย ซึ่งจะพูดกันในโอกาสต่อไป อิงชาอัลลอฮ์.

บรรณานุกรม :
ตำราที่ใช้ประกอบ(ซึ่งสามาถรค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้จากตำราเหล่านี้) :-

-   “เอาเดาะหุ้ล มะซาลีก อิลา อัลฟียะฮ์ อิบนิ มาลิก” : โดย เชค อิบนุหิชาม อัล-อันซอรีย์ อัล- หัมบะลีย์พร้อมกับ “ตำรา “อุดดะตุซซาลิก อิลา ตะห์กีก เอาเดาะหิ้ลมะซาลิก”  : โดย เชค มุหญิดดีน อับดุ้ลหะมีด : สนพ. ดารฺ อัฏฏอลาอิอฺ  กรุง ไคโร  2009  เล่มที่ 3 หน้า 29-31.
-   “หาชียะฮ์ อัล-คุฎอรีย์ อะลา ชัรห์ อิบนิ อะกีล อะลา อัลฟียะฮ์ อิบนิ มาลิก” : โดย เชค มุหัมหมัด บิน มุสฎอฟา อัล-คุฏอรีย์ อัชชาฟีอีย์ : เชิงอรรถ โดย ตุรกีย์ ฟัรหาน อัลมุศฏอฟา : สนพ.ดารฺ อัล-กุตุบ อัล-อิลมียะฮ์  กรุง เบรุต พิมพ์ครั้งที่  4/2011 เล่มที่ 1 หน้า 526-528.
-   “หาชียะฮ์ อัด-ดุซูกีย์ อะลา มุฆนิ้ลละบีบ อัน กุตุบิ้ล อะอารีบ” : โดย เชค มุสฎอฟา มุหัมหมัด อะรอฟะฮ์ อัด-ดุซูกีย์ อัล-มาลิกีย์ : เชิงอรรถ โดย อับดุสสะลาม มุหัมหมัด อามีน  : สนพ.ดารฺ อัล-กุตุบ อัล-อิลมียะฮ์ กรุง เบรุต พิมพ์ครั้งที่ 2/2007 เล่มที่ 1 หน้า 274-302.
-   “ชัรหฺ อัล-อาญูรรูมียะฮ์ ฟี  อิลม์ อัลอารอบียะฮ์” : โดย เชค อาลี บิน อับดิลลาฮ์ อัส-สันฮูรีย์ : ศึกษาและ วิเคาะห์ โดย ดร. มุหัมหมัด คอลีล อับดุลอะซิซ (วิทยานิพนธ์ ป.โท อักษรศาตร์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) : สนพ.ดารฺสสะลาม กรุง ไคโร พิมพ์ครั้งที่ 2/2008 เล่มที่ 1 หน้า 110-114.
-   “หาชียะฮ์ อัศ-ศ๊อบบาน  อะลา ชัรห์  อัล-อัชมูนีย์” : โดย เชค มุหัมหมัด บิน อาลี อัศ-ศ๊อบบาน อัช-ชาฟีอีย์ : เชิงอรรถ โดย อิบรอฮีม ชัมซูดดีน  : สนพ.ดารฺ อัล-กุตุบ อัล-อิลมียะฮ์ กรุง เบรุต พิมพ์ครั้งที่ 1/1997 เล่มที่ 2 หน้า 328-332.
-   “อัล-อะวามิล อัล-มิอะฮ์” : โดย เชค อับดุลกอฮีร บิน อับดุรเราะหฺมาน อัลญุรญานีย์ อัช-ชาฟีอีย์ : เชิงอรรถ โดย อันวัร บิน อาบีบักร  : สนพ.ดารฺ อัล-มินฮาจญ์  พิมพ์ครั้งที่ 1/2009 หน้า 41-42.
-   “อัล-มุอฺญัม อัล-วาฟีย์ ฟี อัน-นะหฺว์ อัล-อะรอบีย์ ” : โดย ดร. อาลีย์ เตาฟีก อัล-หัมด์ และ เชค ยุสุฟ ญะมีล อัซ-ซะอฺบีย์ : สนพ.ดารฺ อัล-ญี้ล และ ดาร์ อัล-อาฟาก อัล-ญะดีดะฮ์  หน้า 107-110.


http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php/topic,11309.0.html

Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ