เว็บบอร์ด
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

แปลตำรา "หนึ่งร้อยตัวบังคับในวิชานะฮู" ประพันธ์โดย เชค อับดุลกอฮิร อัลญุรญานีย์

Go down

แปลตำรา "หนึ่งร้อยตัวบังคับในวิชานะฮู" ประพันธ์โดย เชค อับดุลกอฮิร อัลญุรญานีย์ Empty แปลตำรา "หนึ่งร้อยตัวบังคับในวิชานะฮู" ประพันธ์โดย เชค อับดุลกอฮิร อัลญุรญานีย์

ตั้งหัวข้อ by Profile Sun Sep 21, 2014 3:45 pm

 العوامل المائة للجرجاني


แปลตำรา "หนึ่งร้อยตัวบังคับในวิชานะฮู" ประพันธ์โดย เชค อับดุลกอฮิร อัลญุรญานีย์ 7159597350_c7d50a3cac

แปลตำรา "หนึ่งร้อยตัวบังคับในวิชานะฮู" ประพันธ์โดย เชค อับดุลกอฮิร อัลญุรญานีย์ 1aru2

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาเมตา ปราณีเสมอ
มวลการสรรเสริญนั้นเป็นกรรมสิทธิ์แด่เอกองค์อัลลอฮ์ ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลจักรวาล การประสาทพร และความศานติ ประสบแด่ มูหัมหมัด วงศาคณาญาติ ตลอดจนเหล่าอัครสาวก ทั้งผอง

   แท้จริง บรรดาตัวบังคับ العومل 1  ในวิชาหลักไวยกรณ์(النحو)  ดั่งที่ท่าน อัชชัยค์ อัลอีหม่าม อับดุลกอฮิร บิน อับดิรเราะฮ์มาน อัลญูรญานีย์ (ขอพระองค์อัลลอฮ์ทรงเมตตาแด่ท่าน) ได้ประพันธ์เอาไว้นั้น มี  100  ตัวบังคับ 2

__________________________________

1  เป็น นามพหูจน์ของ คำว่า (العامل)  ท่าน อิบนุ อัลหาญิบ ได้ให้คำนิยาม เกี่ยวกับคำนี้ไว้ ในหนังสือ "กาฟียะฮฺ" ของท่านว่า :-
 (ما يُتقوم به المعنى المقتضي للإعراب)  คือ "สิ่งที่ความหมายที่ต้องการของการเอียะอฺรอบ เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากมัน" .
และท่าน อัลมุลลา ญามีย์ ได้อธิบายโดยยกตัวอย่างดังนี้ :-
-  (جاءني زيدٌ) ความหมาย  "นายเซดได้มาหาฉันแล้ว" อนึ่งคำว่า ( جاء )  คือตัวบังคับ เพราะ ความหมายของ "การเป็นภาคประธาน" (مَعْنَى الفاعِلية) ในคำว่า เซดได้เกิดขึ้นเพราะมัน เขาเลยทำเครื่องหมาย อัรรอฟอฺ  الرفع  (_ٌ_)  ให้กับมัน.
-  (رَأَيْتُ زَيْداً) ความหมาย "ฉันได้เห็น นายเซด" อนึ่งคำว่า ( رَأَيْ + تُ )  คือตัวบังคับ เพราะ ความหมายของ "การเป็นภาคกรรม" (مَعْنَى المفعولية) ในคำว่า เซดได้เกิดขึ้นเพราะมัน เขาเลยทำเครื่องหมาย อันนัสบ์  النصب  (_ً_)  ให้กับมัน.
-  (مَرَرْتُ بِزَيْدِ) ความหมาย "ฉันได้เดินผ่านนายเซด" อนึ่งอักษรบาอฺ (بِ) คือตัวบังคับ เพราะ ความหมายของ "การพาดพิง" (مَعْنَى الإضافِية) ในคำว่า เซด ได้เกิดขึ้นเพราะมัน เขาเลยทำเครื่องหมาย อัลญัร  الجر  (--ٍ--)  ให้กับมัน. (เชิงอรรถ ชัรอาวามิล อัลญุรญานียะฮ์ : อะหมัด บิน มูหัมหมัด อัลฟาฏอนีย์ โดย อับดุสลาม มาซิน อาบู คอลัฟ หน้า 13 สนพ. ดาร์ อันนูร)

2 ท่าน อัชชัยค์อะหมัด อัลฟาฏอนีย์  (ขอพระองค์อัลลอฮ์ทรงเมตตาท่าน)ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "ตัสฮีลุ นัยลิล อามานีย์" ของท่านว่า  "ดังกล่าวนี้ (จำนวนตัวบังคับ100ตัว)เป็นไปตามเจตนรมณ์ที่ผู้ประพันธ์ ต้องการจะกล่าวไว้ ในงานประพันธ์เล่มนี้ หรือตามที่(ผู้ประพันธ์เห็นว่า)เป็นสิ่งที่ควรค่าสำหรับผู้ที่ริเริ่มศึกษาศาตร์แขนงนี้จะต้องรู้  ดังที่ท่านได้ระบุไว้ในความตอนอื่นของท่าน มิเช่นนั้น บรรดาตัวบังคับก็จะมีมากกว่า 100 ตัวเสียอีก.(ตัสฮีลุ นัยลิล อามานีย์" หน้าที่ 4 สนพ. อัลหาลาบีย์)


แปลตำรา "หนึ่งร้อยตัวบังคับในวิชานะฮู" ประพันธ์โดย เชค อับดุลกอฮิร อัลญุรญานีย์ Earo1

และ ตัวบังคับเหล่านี้ จำแนกออกเป็น 2 เภทใหญ่ๆ อันได้แก่ :-

(1) ( العوامل اللفظية ) ตัวบังคับ เชิงถ้อยคำ หรือ "เชิงรูปธรรม" 3
(2) ( العوامل المعنوية ) ตัวบังคับ เชิงความหมาย หรือ "เชิงนามธรรม" 4

___________________________

3 การที่ผู้ประพันธ์ได้เริ่มด้วย"ตัวบังคับ เชิงรูปธรรม"  ก่อน "ตัวบังคับ เชิง นามธรรม" ก็เนื่องจากว่า"ตัวบังคับ เชิงรูปธรรม" นั้นมีความ แข็งแรงกว่า  "ตัวบังคับ เชิง นามธรรม" ทั้งนี้สาเหตุอันเนื่องมาจากว่า "ตัวบังคับ เชิงรูปธรรม"   เป็นสิ่งที่สามารถสัมผัส(มองเห็น)ได้ด้วยสายตา  และ (รู้สึกได้ด้วย) หัวใจโดยพร้อมเพรียงกัน  แต่ในขณะที่ "ตัวบังคับ เชิง นามธรรม" นั้นสามารถ รู้สึกได้เพียงแค่หัวใจเท่านั้น ฉะนั้น สิ่งที่สามารถรับรู้ได้ ด้วยสองประการ ย่อม ถูกกล่าวไว้ในอันดับก่อนสิ่งที่สามารถรับรู้ได้เพียงแค่หนึ่งประการ

4   ตัวบังคับ เชิงถ้อยคำ หรือ "เชิงรูปธรรม" คือ ตัวบังคับที่ลิ้น สามารถกล่าวมันขึ้นมาเป็นถ้อยคำได้ เช่น คำว่า  (جاء -  رأى - ب) ดั่งตัวอย่างข้างต้น.
ส่วน ตัวบังคับ เชิงความหมาย หรือ "เชิงนามธรรม" คือ ตัวบังคับที่ลิ้น ไม่สามารถกล่าวมันขึ้นมาเป็นถ้อยคำได้ กล่าวคือ ต้องมโนภาพขึ้นในใจ เช่น การเริ่มต้นประโยค  "อัลอิบตีดะอฺ"(الابتداء).

(1)  ตัวบังคับ เชิงถ้อยคำ หรือ เชิงรูปธรรมแบ่งออกเป็น  2 ชนิด:-

1) ( العوامل السماعية ) ตัวบังคับ ที่ถ่ายทอดมาโดยการได้ยิน(จากคำพูดอาหรับ)(ไม่สามารถเทียบเคียงได้) 5
2)  (العوامل القياسية) ตัวบังคับ ที่สามารถเทียบเคียงได้ (อนุมาน)
1) ตัวบังคับ ที่ถ่ายทอดมาโดยการได้ยิน(ไม่สามารถเทียบเคียงได้):-   มี 91 ตัว
2) ตัวบังคับ ที่สามารถเทียบเคียงได้ (อนุมาน) มี 7 ตัว 6

(2)ตัวบังคับ เชิงความหมาย หรือ นามธรรม มี 2 ตัว
จึงได้จำนวน ตัวบังคับ ทั้งหมด 100 ตัว

___________________________

5 คือตัวบังคับที่การทำงานของมัน จะตัองขึ้นอยู่เฉพาะกับสิ่งได้ยินมาจากคำพูดของอาหรับที่เขาใช้กัน  เช่น บุพบท "ฮุรุฟ อัลญัร"  (حروف الجر)   จะทำให้คำที่ตกหลังจากมันอยู่ในสภาพการอ่าน เป็น "อัลญัร" ซึ่งการทำงาน ของ ฮุรุฟ อัลญัรนี้ไม่สามารถเอาไปเทียบเคียงกับอักษรอื่นนอกจาก ฮุรุฟ อัลญัร" ได้.

6 คือตัวบังคับที่การทำงานของมัน มิได้ขึ้นอยู่เฉพาะกับสิ่งที่ได้ยินมาจากคำพูดของอาหรับที่เขาใช้กัน ทว่า การทำงานของมันนั้นสามารถ เทียบเคียงกันได้ ภายใต้ กฎเกณฑ์สามัญ(ที่ครอบคลุม) "กออิดะฮฺ กุลลียะฮ์" (قاعدة كلية) เช่น
- กฎที่ว่า "แท้จริงบรรดากริยาทั้งหลาย จะทำให้ประธาน อ่านในสภาพ "อัรรอฟอฺ"  ( القاعدة : أن الأفعال ترفع الفاعل )
-กฏที่ว่า "แท้จริงบรรดา กรรมกริยา จะทำให้กรรม ที่ตกหลังจาก ประธาน อ่านในสภาพ "อันนัสบ์"
 ( القاعدة : أن المتعدية من  الأفعال تنصب بعده المفعول )


http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php/topic,11262.0.html



Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ